PA Thailand (Physical Activity Thailand)

stars
1. สถานการณ์/ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แนวทาง/วิธีการสำคัญในการเพิ่มกิจกรรมทางกาย

1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจจัดเก็บความรู้ วิธีการใหม่ และสื่อสารความรู้

การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดเก็บความรู้ หาวิธีการใหม่ และการสื่อสารความรู้นำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องว่ากิจกรรมทางกายเป็นเรื่องที่ครอบคลุมมากกว่าการออกกำลังกาย ตามที่คนทั่วไปเข้าใจ การสร้างความรู้ความเข้าใจ ทำได้โดยสื่อสาร รณรงค์ ประกวด อบรมจัดนิทรรศการ เรื่องการเพิ่มกิจกรรมทางกายให้เพียงพอที่สามารถทำได้โดยการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเดินทางไปโรงเรียน ไปทำงาน การเพิ่มการเคลื่อนไหวในระหว่างการเรียน การทำงาน และการออกกำลังกายหรือเดินเล่น ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกันของครอบครัว กลุ่มเพื่อนเพื่อพักผ่อนหลังเลิกงาน

การสร้างการรับรู้ ความเข้าใจของสังคมยังทำได้โดยการจัดกิจกรรมเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายด้วยวิธีการใหม่ ๆ โดยใช้ศิลปะ วัฒนธรรม การละเล่นไทย กีฬาไทยที่มีอยู่ในชุมชนหรือจัดกิจกรรมเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัย และพื้นที่ต่าง ๆ เช่น เด็กปฐมวัย นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ ในพื้นที่สถานศึกษา สถานที่ทำงาน ศาสนสถานพร้อม ๆ ไปกับการสอดแทรกความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องกิจกรรมทางกาย

แนวทางสำคัญ : การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดเก็บความรู้ วิธีการใหม่ และสื่อสารความรู้

วิธีการ

  1. จัดการมีกิจกรรมทางกายให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การเซิ้ง ร็องแง็งรำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง
  2. ประกวดการออกแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เหมาะกับวัย เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในศูนย์เด็กเล็ก ในโรงเรียน
  3. จัดการละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร วิ่งเปี้ยว ม้าก้านกล้วย เดินกะลา; และกีฬาไทย เช่นตะกร้อลอดห่วง รำมวยไทย ในศูนย์เด็กเล็ก ในโรงเรียน เพื่อเพิ่ม (Active play–Active learning)
  4. รณรงค์การมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
  5. จัดนิทรรศการกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะกับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรมที่ทำนา ทำสวนทำไร่ พนักงานโรงงาน
  6. เสียงตามสายในโรงเรียน ในชุมชน ในโบสถ์ มัสยิดเพื่อรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพิ่มกิจกรรมทางกาย
  7. ประชุมร่วมกัน เพื่อออกแบบพื้นที่สาธารณะให้มีการใช้กิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
  8. จัดกิจกรรมบูรณาการการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการจัดการเศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการจัดการขยะ การลงแขกทำเกษตรแปลงรวม การปั่นจักรยานสำรวจพืชสมุนไพรในชุมชน
  9. จัดทำสื่อเอกสาร หนังสั้น คลิปสั้น เพื่อเชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกายลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

2. การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่าย

การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ความรอบรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพทำได้โดยการอบรมสร้างแกนนำ ทั้งระดับบุคคลกลุ่มคน องค์กรและเครือข่าย เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ การส่งเสริมและพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายที่ครอบคลุมเรื่องสุขภาวะทั้งกาย จิต สังคม และปัญญารวมทั้งคุณค่าที่เกิดขึ้นกับตนเอง สังคม และชุมชน

แนวทางสำคัญ : การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายให้มีความเข้าใจมีความสามารถเรื่องการมีกิจกรรมทางกายว่าเป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกาย ทั้งในการทำงานการเดินทางการมีกิจกรรมนันทนาการและการออกกำลังกาย กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา

วิธีการ

  1. ครูร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ โดยปรับวิธีการสอนวิชาพละและสุขศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ปรับเนื้อหาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม
  2. อบรมครูสุขศึกษา/พละ/อนามัย เรื่องกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้เน้นการออกกำลังกาย
  3. เปิดคลินิกให้คำปรึกษาเรื่องการเพิ่มกิจกรรมทางกายในโรงเรียนเพื่อควบคุมน้ำหนัก
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำนักเรียน แกนนำในสถานประกอบการ แกนนำใน ศาสนสถานเพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
  5. อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้สูงอายุเป็นวิทยากร สอนเด็กในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน ให้รู้จักการละเล่นไทย/ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำว่าว เล่านิทาน
  6. อบรมให้ความรู้แก่ชมรมผู้สูงอายุเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย
  7. ฝึกทักษะกิจกรรมทางกายกลุ่มเฉพาะอาชีพที่อยู่กับที่ เช่น ทอผ้า พนักงานสำนักงาน

3. การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงานศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน

การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะโดยการทำให้สภาพแวดล้อมทั้งในสถานที่ที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานที่ทำงาน สถานประกอบการทั้งรัฐและเอกชน สถานบริการสุขภาพ ศาสนสถาน และพื้นที่สาธารณะเอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายซึ่งจะช่วยให้ทุกคน ทุกภาคส่วน ทุกระดับ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องกิจกรรมทางกาย

การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทำได้โดยส่งเสริมการทางด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน จัดการเรียนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ในวิชาสุขศึกษาและพละศึกษาให้เน้นการมีกิจกรรมทางกายเป็นหลักแทนการบรรยาย ให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวยืดเหยียด รวมทั้งลดเวลาในการนั่งนิ่ง ๆ ติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมงในชั่วโมงเรียน ระหว่างทำงานหรือประชุม จัดการละเล่นไทย กีฬาไทยในช่วงเวลาว่าง การสร้างแรงจูงใจในการใช้บันได


แนวทางสำคัญ : การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน

วิธีการ

  1. ประกวด/ ถอดบทเรียนบ้านกระฉับกระเฉง ที่มีการส่งเสริมให้ครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน รวมทั้งการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
  2. ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้มีการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ได้แก่ การเดินหรือปั่นจักรยานมาเรียน การจัดการละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย ในช่วงว่าง การรณรงค์การใช้บันได
  3. ครูร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ โดยปรับวิธีการสอนวิชาพละและสุขศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ปรับเนื้อหาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม
  4. โครงการเกษตรในโรงเรียน การปลูกพืชผักส่วนครัว หรือการทำแปลงรวม ช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนลงมือทำเกษตรด้วยตนเอง
  5. โครงการร่วมกันพัฒนาสถานที่ทำงานให้บุคลากรเพิ่มการเคลื่อนไหวระหว่างทำงานจัดอาหารสำหรับประชุมที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น เพิ่ม ผัก–ผลไม้เปลี่ยนอาหารว่างเป็นผลไม้/ น้ำสมุนไพรไม่หวานหรือหวานน้อย
  6. ชุมชนร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัยกับการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำความสะอาดเส้นทางสัญจรในชุมชนให้สะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับการเดินปั่นจักรยาน;การลงแรงร่วมกันทำความสะอาด เก็บกิ่งไม้ สิ่งกีดขวางในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการพักผ่อน วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายอื่น ๆ
  7. โครงการดนตรีในสวน เพื่อให้คนมาร่วมทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน

4. การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรม ทางกาย

การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เป็นการการผลักดันให้ชุมชนมีนโยบาย ข้อตกลงร่วมกันของชุมชน ที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย อาจเป็นข้อตกลงในเรื่องการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อ เช่น ข้อตกลงไม่วางของบนทางเท้าเพื่อให้สะดวก ปลอดภัยของคนในชุมชนในการเดินสัญจร; ข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะที่มีอยู่ในชุมชน

แนวทางสำคัญ : การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย

วิธีการ

  1. โครงการร่วมสร้างข้อตกลงชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางสัญจร(เดิน/จักรยาน) ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
  2. โครงการร่วมสร้างนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการ ในการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของพนักงาน

5. การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายทั้งภาครัฐเอกชน รัฐวิสาหกิจเครือข่ายศาสนาและภาคประชาชน

แนวทางสำคัญ : การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

วิธีการ

  1. สร้างแกนนำครูนักเรียน ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และการบริโภคผักผลไม้ รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  2. สร้างแกนนำพนักงาน คนในอาชีพต่าง ๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และการบริโภคผักผลไม้ รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ทำงาน
  3. สร้างแกนนำผู้นำศาสนา ทั้งในวัด มัสยิด ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน วัตร 10 ของสงฆ์ และการบริโภคผักผลไม้เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย การลดปัจจัยเสี่ยง และการบริโภคที่เหมาะสมในศาสนสถาน
  4. โครงการความร่วมมือในการใช้สนามในสถานที่ราชการ หรือเอกชนหลังเลิกงานเพื่อนันทนาการและออกกำลังกายสำหรับประชาชน
  5. โครงการพัฒนาอาสาสมัครในชุมชนระบบเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้พื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกาย
stars
2. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
3. แนวทาง/วิธีการสำคัญ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร
label_important
วิธีการสำคัญ
1. สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่าง ๆเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน ชุมชน โบสถ์ มัสยิด
2. ผลิตสื่อ สื่อเอกสาร หนังสั้น คลิปสั้น เพื่อการเรียนรู้ เชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งด้านกิจกรรมทางกาย เพื่อให้สถานศึกษา หน่วยงาน องค์กร นำไปใช้ในระดับครัวเรือน ชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่ทำงาน
3. สร้างรูปแบบ นวัตกรรม คู่มือ และสื่อการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play) ในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน
4. พัฒนาหลักสูตรในพื้นที่ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอนที่เน้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมปลูกป่า เดินสำรวจสมุนไพร กีฬาและการละเล่นไทย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาขีดความสามารถเครือข่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาแกนนำนักเรียน แกนนำในสถานประกอบการ แกนนำใน ศาสนสถาน เพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
2. พัฒนาครูสุขศึกษา/พละ/อนามัย เรื่องกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้เน้นการออกกำลังกาย
3. พัฒนาความรู้ ความเข้าใจเครือข่ายผู้สูงอายุในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย ให้ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน รู้จักการละเล่นไทย/ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำว่าว เล่านิทาน
4. สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานกิจกรรมทางกาย
5. พัฒนาศักยภาพชมรม เครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมกีฬาในชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย เพื่อถ่ายทอดต่อ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างพื้นที่สุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดกิจกรรมที่เอื้อให้พ่อ-แม่ ลูก และผู้สูงวัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เดินปั่นสำรวจแหล่งวัฒนาธรรม แหล่งสมุนไพร
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย; และกีฬาไทย เช่น การเซิ้ง ร็องแง็ง  รำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง
3. ร่วมกันพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน ให้มีสิ่งจูงใจในการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การจัดแต่งขั้นบันไดด้วยภาพและเสียง
4. ส่งเสริมการปรับวิธีการสอนในสถานศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม และเนื้อหาวิชาสุขศึกษา พละศึกษาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน การเกษตรในโรงเรียน
5. จัดกิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตร การจัดการเศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกพืชผักส่วนครัว กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการจัดการขยะ การลงแขกทำเกษตรแปลงรวม การปั่นจักรยานสำรวจแหล่งวัฒนธรรม ท่องเที่ยวในชุมชน กิจกรรมจิตอาสาอื่น ๆ
6. มีกิจกรรมทางกายสำหรับกลุ่มเฉพาะอาชีพเฉพาะ เช่น ทอผ้า พนักงานในสำนักงาน
7. ชุมชนร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัยกับการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำความสะอาดเส้นทางสัญจรในชุมชนให้สะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับการเดินปั่นจักรยาน;การลงแรงร่วมกันทำความสะอาด เก็บกิ่งไม้ สิ่งกีดขวางในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการพักผ่อน วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายอื่น ๆ
8. มีกิจกรรมต่าง ๆ ในสวนสาธารณะ เช่น ดนตรีในสวน
9. พัฒนาต้นแบบสถานที่ทำงานที่จัดให้มีการเคลื่อนไหวระหว่างทำงาน จัดอาหารสำหรับประชุมที่เอื้อต่อสุขภาพ
10. สร้างพื้นที่ต้นแบบความร่วมมือของรัฐ ท้องถิ่น องค์กรธุรกิจ ในการสนับสนุนการใช้พื้นที่เพื่อการมีกิจกรรมทางกายของประชาชน
11. การสร้างพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ มรดกวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อการมีกิจกรรมทางกาย
12. ประกวดบ้านกระฉับกระเฉง ครอบครัว สถานที่ทำงาน ชุมชน ที่มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง รวมทั้งการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ผลักดันนโยบายศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายควบคู่กับกิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการ
2. ผลักดันนโยบายการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา สถานประกอบการที่เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ ความปลอดภัยในการมีกิจกรรมทางกาย
3. ร่วมสร้างนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการ ในการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของพนักงาน
4. ร่วมสร้างข้อตกลงชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางสัญจร (เดิน/จักรยาน) ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
5. ผลักดันนโยบายสนับสนุนผู้สูงอายุเป็นจิตอาสาเป็นวิทยากรในสถานศึกษาต่าง ๆ
6. สนับสนุนข้อตกลงของชุมชนในการกำหนดให้มีการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการส่งเสริมกีฬาของเยาวชนในพื้นที่
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาความร่วมมือในการใช้สนามในสถานที่ราชการ หรือเอกชนหลังเลิกงานเพื่อนันทนาการและออกกำลังกายสำหรับประชาชน
2. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย
3. สร้างความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แสงสว่างในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนยามค่ำคืน
4. ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข พม. ศธ.ในการสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
paid
4. งบประมาณที่ตั้งไว้ตามแผนงาน
0.00 บาท
stars
5. โครงการที่ควรดำเนินการ
ชื่อโครงการย่อยผู้รับผิดชอบงบประมาณที่ตั้งไว้ (บาท)
stars
6. รายชื่อข้อเสนอโครงการ
ไม่มี
stars
7. รายชื่อติดตามโครงการ
ปีงบประมาณชื่อติดตามโครงการองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
1 2543 โครงการขับเคลื่อนมาตรฐานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการวิ่ง (ตามแผน) 0.00
2 2561 โครงการกีฬาภูมิปัญญาไทย(รอเปลี่ยนชื่อ) 0.00
3 2561 โครงการขับเคลื่อนมาตรฐานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการวิ่ง 0.00
รวม 0.00
stars
8. เอกสารประกอบ
สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สินแผนงานเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 น.