โครงการ Active play Active learning thinking for health of klongpraratpreang school.
ชื่อโครงการ | โครงการ Active play Active learning thinking for health of klongpraratpreang school. |
ภายใต้โครงการ | โครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป) |
ภายใต้องค์กร | สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ |
เลขที่ข้อตกลง | 61-กทม.0 |
รหัสโครงการ | 61-กทม.0 |
วันที่อนุมัติ | 19 สิงหาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 สิงหาคม 2562 - 16 ธันวาคม 2562 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนคลองปลัดเปรียง |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวกุลญา ฉาวเกียรติคุณ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | -,0959583762 |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
ละติจูด-ลองจิจูด | 13.656518585813,100.6634989276place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 19 ส.ค. 2562 | 30 พ.ย. 2562 | 19 ส.ค. 2562 | 30 พ.ย. 2562 | 32,000.00 | |
2 | 1 ธ.ค. 2562 | 16 ธ.ค. 2562 | 8,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 40,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทุกวันใน 1 สัปดาห์) | 50.00 | ||
2 | ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ทุกวันใน 1 สัปดาห์) | 50.00 | ||
3 | ร้อยละของเวลาเรียน ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning) | 15.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสภาพการทำงานและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนทั่วโลกมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง อยู่ในท่านั่ง ท่านอน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากขึ้น ขณะที่สถานการณ์ของเด็กและเยาวชนก็มีพฤติกรรมจมตัวเองและหมกหมุ่นกับโลกโซเซียลมีเดีย ส่งผลให้คนทุกวัยมีความเสี่ยงในปัญหาสุขภาพ ที่เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคร้าย Non-Communicable Diseases (NCDs) หรือโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ที่คร่าชีวิตคนบนโลกนี้ไปมากที่สุด
กอปรกับผลการสำรวจที่ สสส.ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า เด็กไทยมีแนวโน้มออกกำลังกายน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจเนื่องมาจากการที่สังคมเปลี่ยนแปลงจากสภาพสังคม เพราะเด็กๆ ไม่ค่อยออกมาเล่น แต่ชอบดูทีวี เล่นโซเซียลมีเดีย โดยใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมา โรงเรียนควรเพิ่มกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้มากขึ้น เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีความสุขและสนุกกับการทำกิจกรรมทางกาย อันจะส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ผู้ปกครองทราบถึงคามคิด จินตนาการ อารมณ์ และความรู้สึกที่แท้จริง นับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ให้กับร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี ร้อยละของเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทุกวันใน 1 สัปดาห์) |
50.00 | 60.00 |
2 | เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) |
50.00 | 60.00 |
3 | เพิ่มเวลาการเรียนรู้แบบกระฉับกระเฉงในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ร้อยละของเวลาเรียนในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning) |
15.00 | 20.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 170 | 170 | |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | |||
ปฐมวัย (0-5 ปี) | 43 | 43 | |
วัยเรียน (6-12 ปี) | 127 | 127 | |
วัยรุ่น (13-15 ปี) | 0 | ||
เยาวชน (15-20 ปี) | - | ||
วัยทำงาน | - | ||
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) | - | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | |||
ผู้พิการ | - | ||
ผู้หญิง | - | ||
มุสลิม | - | ||
พระภิกษุ | - | ||
ชาติพันธุ์ | - | ||
ผู้ต้องขัง | - | ||
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) | - | ||
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) | - | ||
แรงงานข้ามชาติ | - | ||
อื่น ๆ | - |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 850 | 40,000.00 | 5 | 40,000.00 | |
20 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 | กิจกรรมโรงเรียนสะอาด ด้วยมือเรา | 170 | 8,155.00 | ✔ | 8,155.00 | |
20 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 | กิจกรรมหนูหนู ฟันดี กับ สูตรคูณพาเพลิน | 170 | 3,400.00 | ✔ | 3,400.00 | |
20 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 | กิจกรรมกีฬามหาสนุก | 170 | 2,200.00 | ✔ | 2,200.00 | |
20 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 | กิจกรรมพัฒนาจิต เจริญปัญญา | 170 | 10,065.00 | ✔ | 10,065.00 | |
26 ส.ค. 62 - 6 พ.ย. 62 | กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1-2 | 170 | 16,180.00 | ✔ | 16,180.00 |
กิจกรรมการดำเนินงาน
1. ประชุมวางแผนชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ
2. กำหนดเป้าหมายและระดับความสำเร็จของโครงการ
3. กำหนดกิจกรรม ปฏิทินการปฏิบัติงาน และผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์หาวิธีการและกระบวนการในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายและระดับความสำเร็จของโครงการที่กำหนดไว้
การดำเนินงาน
1. เสนออนุมัติโครงการ
2. วัดสมรรถภาพทางกายของนักเรียน
3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสื่อที่ใช้ในการทำกิจกรรม
4. ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนี้
4.1 กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย
ปฏิบัติทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังการปฏิบัติกิจกรรม
4.2 กิจกรรมโรงเรียนสะอาด ด้วยมือเรา
ปฏิบัติกิจกรรมทุกวัน เวลา 07.30 – 07.45 น. รวม 15 นาที นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึง นักเรียนชั้นประถมศึกปีที่ 6 จำนวน 170 คน แบ่งออกเป็น 5 สี (คละชั้นเรียน) ปฏิบัติหน้าที่ จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์พัฒนาพื้นที่ภายในโรงเรียน ให้สะอาดพร้อมใช้งานโดยแต่ละสีแบ่งหน้าที่กัน ดังนี้
สีเหลือง – ล้างห้องน้ำชาย-หญิง
สีแดง - หน้าอาคารเรียน, สนาม
สีฟ้า – บริเวณหน้าโรงเรียน
สีเขียว- บริเวณโรงอาหาร,สนามเด็กเล่น
สีม่วง – สนามเด็กเล่น ห้องพยาบาล
คุณครูและนักเรียนชั้นอนุบาล 2 –3 ร่วมกันเก็บขยะหน้าห้องอนุบาล
4.3 กิจกรรมหนูหนู ฟันดี กับ สูตรคูณพาเพลิน
ปฏิบัติกิจกรรมทุกวัน เวลา 12.10 – 12.30 น. รวม 20 นาที นักเรียนชั้นประถมคึกษาปี 1- 6 แปรงฟันเพื่อการดูแลช่องปาก และท่องสูตรคูณประกอบท่าทาง ส่วนนักเรียนชั้นอนุบาล 2 –3 แปรงฟันที่ห้องเรียน
4.4 กิจกรรมกีฬามหาสนุก
ปฏิบัติกิจกรรมวันพุธ เวลา 14.30 –15.30 น. และช่วงเวลาเลิกเรียนของทุกวัน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 – 6 ฝึกซ้อมการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล, ฟุตบอล, เปตอง, และเครื่องออกกำลังกายอื่น ๆ ตามความถนัด
4.5 กิจกรรมพัฒนาจิต เจริญปัญญา
ปฏิบัติกิจกรรมทุกวันศุกร์ เวลา 08.30 – 09.30 น. นักเรียนชั้นอนุบาล 2 – นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร่วมกันสวดมนต์ทำนองสรภัญญะและนั่งสมาธิ
- เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปีมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
- โรงเรียนจัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning)
- นักเรียนมีสมรรถภาพร่างกายหลังการจัดกิจกรรม Active play Active learning thinking for health of klongpraratpreang school. สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
- โครงการ Active play Active learning thinking for health of klongpraratpreang school.
มีประสิทธิผลอยู่ในระดับดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2562 13:29 น.