PA Thailand (Physical Activity Thailand)

stars
1. สถานการณ์/ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แนวทาง/วิธีการสำคัญในการเพิ่มกิจกรรมทางกาย

1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจจัดเก็บความรู้ วิธีการใหม่ และสื่อสารความรู้

การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดเก็บความรู้ หาวิธีการใหม่ และการสื่อสารความรู้นำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องว่ากิจกรรมทางกายเป็นเรื่องที่ครอบคลุมมากกว่าการออกกำลังกาย ตามที่คนทั่วไปเข้าใจ การสร้างความรู้ความเข้าใจ ทำได้โดยสื่อสาร รณรงค์ ประกวด อบรมจัดนิทรรศการ เรื่องการเพิ่มกิจกรรมทางกายให้เพียงพอที่สามารถทำได้โดยการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเดินทางไปโรงเรียน ไปทำงาน การเพิ่มการเคลื่อนไหวในระหว่างการเรียน การทำงาน และการออกกำลังกายหรือเดินเล่น ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกันของครอบครัว กลุ่มเพื่อนเพื่อพักผ่อนหลังเลิกงาน

การสร้างการรับรู้ ความเข้าใจของสังคมยังทำได้โดยการจัดกิจกรรมเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายด้วยวิธีการใหม่ ๆ โดยใช้ศิลปะ วัฒนธรรม การละเล่นไทย กีฬาไทยที่มีอยู่ในชุมชนหรือจัดกิจกรรมเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัย และพื้นที่ต่าง ๆ เช่น เด็กปฐมวัย นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ ในพื้นที่สถานศึกษา สถานที่ทำงาน ศาสนสถานพร้อม ๆ ไปกับการสอดแทรกความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องกิจกรรมทางกาย

แนวทางสำคัญ : การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดเก็บความรู้ วิธีการใหม่ และสื่อสารความรู้

วิธีการ

  1. จัดการมีกิจกรรมทางกายให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การเซิ้ง ร็องแง็งรำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง
  2. ประกวดการออกแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เหมาะกับวัย เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในศูนย์เด็กเล็ก ในโรงเรียน
  3. จัดการละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร วิ่งเปี้ยว ม้าก้านกล้วย เดินกะลา; และกีฬาไทย เช่นตะกร้อลอดห่วง รำมวยไทย ในศูนย์เด็กเล็ก ในโรงเรียน เพื่อเพิ่ม (Active play–Active learning)
  4. รณรงค์การมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
  5. จัดนิทรรศการกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะกับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรมที่ทำนา ทำสวนทำไร่ พนักงานโรงงาน
  6. เสียงตามสายในโรงเรียน ในชุมชน ในโบสถ์ มัสยิดเพื่อรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพิ่มกิจกรรมทางกาย
  7. ประชุมร่วมกัน เพื่อออกแบบพื้นที่สาธารณะให้มีการใช้กิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
  8. จัดกิจกรรมบูรณาการการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการจัดการเศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการจัดการขยะ การลงแขกทำเกษตรแปลงรวม การปั่นจักรยานสำรวจพืชสมุนไพรในชุมชน
  9. จัดทำสื่อเอกสาร หนังสั้น คลิปสั้น เพื่อเชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกายลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

2. การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่าย

การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ความรอบรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพทำได้โดยการอบรมสร้างแกนนำ ทั้งระดับบุคคลกลุ่มคน องค์กรและเครือข่าย เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ การส่งเสริมและพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายที่ครอบคลุมเรื่องสุขภาวะทั้งกาย จิต สังคม และปัญญารวมทั้งคุณค่าที่เกิดขึ้นกับตนเอง สังคม และชุมชน

แนวทางสำคัญ : การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายให้มีความเข้าใจมีความสามารถเรื่องการมีกิจกรรมทางกายว่าเป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกาย ทั้งในการทำงานการเดินทางการมีกิจกรรมนันทนาการและการออกกำลังกาย กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา

วิธีการ

  1. ครูร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ โดยปรับวิธีการสอนวิชาพละและสุขศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ปรับเนื้อหาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม
  2. อบรมครูสุขศึกษา/พละ/อนามัย เรื่องกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้เน้นการออกกำลังกาย
  3. เปิดคลินิกให้คำปรึกษาเรื่องการเพิ่มกิจกรรมทางกายในโรงเรียนเพื่อควบคุมน้ำหนัก
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำนักเรียน แกนนำในสถานประกอบการ แกนนำใน ศาสนสถานเพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
  5. อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้สูงอายุเป็นวิทยากร สอนเด็กในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน ให้รู้จักการละเล่นไทย/ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำว่าว เล่านิทาน
  6. อบรมให้ความรู้แก่ชมรมผู้สูงอายุเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย
  7. ฝึกทักษะกิจกรรมทางกายกลุ่มเฉพาะอาชีพที่อยู่กับที่ เช่น ทอผ้า พนักงานสำนักงาน

3. การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงานศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน

การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะโดยการทำให้สภาพแวดล้อมทั้งในสถานที่ที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานที่ทำงาน สถานประกอบการทั้งรัฐและเอกชน สถานบริการสุขภาพ ศาสนสถาน และพื้นที่สาธารณะเอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายซึ่งจะช่วยให้ทุกคน ทุกภาคส่วน ทุกระดับ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องกิจกรรมทางกาย

การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทำได้โดยส่งเสริมการทางด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน จัดการเรียนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ในวิชาสุขศึกษาและพละศึกษาให้เน้นการมีกิจกรรมทางกายเป็นหลักแทนการบรรยาย ให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวยืดเหยียด รวมทั้งลดเวลาในการนั่งนิ่ง ๆ ติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมงในชั่วโมงเรียน ระหว่างทำงานหรือประชุม จัดการละเล่นไทย กีฬาไทยในช่วงเวลาว่าง การสร้างแรงจูงใจในการใช้บันได


แนวทางสำคัญ : การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน

วิธีการ

  1. ประกวด/ ถอดบทเรียนบ้านกระฉับกระเฉง ที่มีการส่งเสริมให้ครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน รวมทั้งการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
  2. ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้มีการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ได้แก่ การเดินหรือปั่นจักรยานมาเรียน การจัดการละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย ในช่วงว่าง การรณรงค์การใช้บันได
  3. ครูร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ โดยปรับวิธีการสอนวิชาพละและสุขศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ปรับเนื้อหาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม
  4. โครงการเกษตรในโรงเรียน การปลูกพืชผักส่วนครัว หรือการทำแปลงรวม ช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนลงมือทำเกษตรด้วยตนเอง
  5. โครงการร่วมกันพัฒนาสถานที่ทำงานให้บุคลากรเพิ่มการเคลื่อนไหวระหว่างทำงานจัดอาหารสำหรับประชุมที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น เพิ่ม ผัก–ผลไม้เปลี่ยนอาหารว่างเป็นผลไม้/ น้ำสมุนไพรไม่หวานหรือหวานน้อย
  6. ชุมชนร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัยกับการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำความสะอาดเส้นทางสัญจรในชุมชนให้สะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับการเดินปั่นจักรยาน;การลงแรงร่วมกันทำความสะอาด เก็บกิ่งไม้ สิ่งกีดขวางในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการพักผ่อน วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายอื่น ๆ
  7. โครงการดนตรีในสวน เพื่อให้คนมาร่วมทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน

4. การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรม ทางกาย

การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เป็นการการผลักดันให้ชุมชนมีนโยบาย ข้อตกลงร่วมกันของชุมชน ที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย อาจเป็นข้อตกลงในเรื่องการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อ เช่น ข้อตกลงไม่วางของบนทางเท้าเพื่อให้สะดวก ปลอดภัยของคนในชุมชนในการเดินสัญจร; ข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะที่มีอยู่ในชุมชน

แนวทางสำคัญ : การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย

วิธีการ

  1. โครงการร่วมสร้างข้อตกลงชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางสัญจร(เดิน/จักรยาน) ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
  2. โครงการร่วมสร้างนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการ ในการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของพนักงาน

5. การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายทั้งภาครัฐเอกชน รัฐวิสาหกิจเครือข่ายศาสนาและภาคประชาชน

แนวทางสำคัญ : การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

วิธีการ

  1. สร้างแกนนำครูนักเรียน ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และการบริโภคผักผลไม้ รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  2. สร้างแกนนำพนักงาน คนในอาชีพต่าง ๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และการบริโภคผักผลไม้ รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ทำงาน
  3. สร้างแกนนำผู้นำศาสนา ทั้งในวัด มัสยิด ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน วัตร 10 ของสงฆ์ และการบริโภคผักผลไม้เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย การลดปัจจัยเสี่ยง และการบริโภคที่เหมาะสมในศาสนสถาน
  4. โครงการความร่วมมือในการใช้สนามในสถานที่ราชการ หรือเอกชนหลังเลิกงานเพื่อนันทนาการและออกกำลังกายสำหรับประชาชน
  5. โครงการพัฒนาอาสาสมัครในชุมชนระบบเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้พื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกาย
stars
2. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
3. แนวทาง/วิธีการสำคัญ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาชุดความรู้ งานวิชาการ และนวัตกรรม ที่พร้อมเผยแพร่ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายฟื้นฟูสภาพจิตใจ แบบชีวิตวิถีใหม่ (Next Normal)
2. พัฒนาเครืองมือสำรวจ และวัดผล ระบบติดตามประเมินผล ฐานข้อมูลทางวิชาการ ฐานข้อมูลสุขภาพระดับบุคคลด้านกิจกรรมทางกายและสุขภาพของประชาชนไทย
3. รณรงค์แนวทางการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในยุค Next Normal พัฒนาแนวทาง หรือรูปแบบการมีกิจกรรมทางกายในยุคชีวิตวิถีใหม่จุดประกายให้เกิดวัฒนธรรมของการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง
4. พัฒนาระบบสนับสนุน และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง ระบบเฝ้าระวังสถานการณ์ ฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ ด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมทางสุขภาพในมิติที่เกี่ยวข้อง กลไกผลักดันให้เกิดนโยบาย มาตรการหรือกลไกขยายผลนโยบาย
5. หลักสูตรพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน
6. องค์ความรู้/คู่มือการทำพื้นที่สุขภาวะในบริบทต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถประยุกต์ใช้ได้
7. การสื่อสารข้อมูลพื้นที่สุขภาวะ ทั้งในเชิงสื่อ Mass media สื่อ Area-based และสื่อเชิงวิชาการ
8. วางหลักเกณฑหรือปรับปรุงระเบียบในการออกแบบการใชพื้นที่ เสนทางการ สัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะ ที่เอื้อตอการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุมวัย
9. การใช้เทคโนโลยีดิจิตอล/แอพพลิเคชั่น/สารสนเทศ มาใช้ส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องพื้นที่สุขภาวะและกิจกรรมทางกายให้กับประชาชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาขีดความสามารถเครือข่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาเครือข่ายนักวิชาการพื้นที่สุขภาวะร่วมกับสถาบันวิชาการ สมาคมวิชาชีพด้านผังเมือง สถาปัตยกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งการจัดการองค์ความรู้ และกลไกการจัดการองค์ความรู้ด้านพื้นที่สุขภาวะจากบทเรียนประเทศไทยเพื่อวางแผนไปสู่การยกระดับความร่วมมือกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง
2. การสร้างบรรทัดฐานสังคมกระฉับกระเฉง (Active society)
3. สร้างเสริมองค์ความด้านสุขภาพ พื้นที่สุขภาวะ ให้กับบุคลากรสุขภาพในชุมชน เช่น เจ้าหน้าที่อนามัย หรือครูสอนโยคะ ครูแอโรบิค ให้เข้าไปกระจายความรู้หรือส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
4. พัฒนาศักยภาพบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ทั้งในระดับผู้กำหนดนโยบาย (Policy Maker) ระดับหน่วยงาน และระดับชุมชน
5. ขยายแนวคิด “พื้นที่สุขภาวะ” อันเป็นเสมือนพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน ที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้สอยและทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีเป้าหมายหลักคือการ “ปรับพฤติกรรมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างพื้นที่สุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
2. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะตามบริบทของพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เมือง พื้นที่ชานเมือง พื้นที่ชุมชนแออัด พื้นที่ชนบท
3. การออกแบบที่สอดรับความต้องการเชิงพื้นที่และสอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้ง ลักษณะของพื้นที่สาธารณะ และสภาพโดยรอบ โดยแบ่งความต้องการ 8 ด้าน ได้แก่ 1) พื้นที่สีเขียว 2) ความปลอดภัย 3) กิจกรรมหลากหลาย 4) พื้นที่พักผ่อน 5) พื้นที่เรียนรู้ 6) พื้นที่มีร่มเงา 7) พื้นที่ยืดหยุ่น 8) พื้นที่จอดรถ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ขับเคลื่อนกระแสสังคม และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการพื้นที่หรือโครงสร้างทางกายที่เอื้อต่อการเดิน และใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
2. การสร้างโอกาสการมีีกิิจกรรมทางกาย (Active people)
3. ผลักดันหน่วยงานระดับท้องถิ่น ให้มีการจัดการพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน สำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส หรือกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงการบริการ เพื่อลดช่องว่างของความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ
4. มาตรการสร้างแรงจูงใจ เช่น ลดภาษีและเพิ่มโอกาสการพัฒนาแปลงที่ดินให้เป็นพื้นที่สำหรับสาธารณะ โดยมีรัฐช่วยอุดหนุนค่าพัฒนาพื้นที่
5. มาตรการควบคุม เช่น การเพิ่มข้อกำหนดเรื่องที่ว่างและพื้นที่สีเขียน เพิ่มข้อกำหนดเรื่องที่ว่างและพื้นที่สีเขียว เพิ่มข้อกำหนดขั้นต่ำครอบคลุมถึงพื้นที่ขนาดเล็ก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนตั้งแต่รัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน คนในพื้นที่ ออกแบบพื้นที่สุขภาวะ โดยมี 7 ขั้นตอน 1) การวางนโยบาย 2) การสร้างเครือข่าย 3) เครื่องมือพัฒนา 4) กลไกการเงิน 5) การมีส่วนร่วม 6) การประชาสัมพันธ์ 7) สร้างเสริมองค์ความรู้
2. สนับสนุนกลุ่ม หน่วยงาน องค์กร ชุมชนและท้องถิ่น ให้เป็นภาคีร่วมขับเคลื่อนการออกแบบและดำเนินงานกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ (Settings)
3. มหกรรมสุขภาพออนไลน์ให้เกิดขึ้นและต่อยอดในอนาคตส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพที่ดี เพื่อสอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่
4. การสร้างกลไกที่เอื้อให้เกิดชุมชนเมืองจัดการตนเองได้
5. การสร้างเครือข่ายสุขภาพ นำนโยบายไปสุ่การปฏิบัติจริง ได้แก่ หน่วยงานด้านสุขภาพช่วยรณรงค์และแนะนำ สถาบันการศึกษาคอยให้ความรู้ความเข้าใจ เข้าของพื้นที่ให้สนับสนุนด้านสถานที่ ผู้คนในชุมชนช่วยกันเสนอความต้องการ และหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ โดยทุกองค์กรในเครือข่ายจะต้องทำงานสอดคล้องกัน
6. การมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชนในพื้นที่ สำรวจพื้นที่และมีการประชุมร่วมกันระหว่างคนในชุมชน รวมถึงเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกแบบและทำพื้นที่จำลองร่วมกันก่อนสร้างจริง
7. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน รวมถึงคนในชุมชนกับคนภายนอกให้มีการเพิ่มกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
paid
4. งบประมาณที่ตั้งไว้ตามแผนงาน
0.00 บาท
stars
5. โครงการที่ควรดำเนินการ
ชื่อโครงการย่อยผู้รับผิดชอบงบประมาณที่ตั้งไว้ (บาท)
stars
6. รายชื่อข้อเสนอโครงการ
ไม่มี
stars
7. รายชื่อติดตามโครงการ
ปีงบประมาณชื่อติดตามโครงการองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
รวม 0.00
stars
8. เอกสารประกอบ
สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สินแผนงานเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 น.