PA Thailand (Physical Activity Thailand)

directions_run

โครงการส่งเสริมพัฒนาการทางกายสำหรับเด็กประถมศึกษาโรงเรียนบ้านวังม่วง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ


“ โครงการส่งเสริมพัฒนาการทางกายสำหรับเด็กประถมศึกษาโรงเรียนบ้านวังม่วง ”

ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

หัวหน้าโครงการ
นาง จุรีลักษณ์ สุวรรณวงษ์

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการทางกายสำหรับเด็กประถมศึกษาโรงเรียนบ้านวังม่วง

ที่อยู่ ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก จังหวัด ตาก

รหัสโครงการ 61-น.12 เลขที่ข้อตกลง 61-น.12

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2562 ถึง 16 ธันวาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมพัฒนาการทางกายสำหรับเด็กประถมศึกษาโรงเรียนบ้านวังม่วง จังหวัดตาก" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมพัฒนาการทางกายสำหรับเด็กประถมศึกษาโรงเรียนบ้านวังม่วง



บทคัดย่อ

กิจกรรมทางกายเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพให้กับเด็กนักเรียน ที่จะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีสามารถป้องกันโรคที่สำคัญได้ การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้นักเรียนขาดการเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวันและขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การป้องกันที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งคือการสร้างสุขภาพดี ด้วยการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ซึ่งต้องเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมวัยด้วย การทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำเป็นส่งผลต่อการมีสุขภาพ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบัน ปัญหาของการจัดการศึกษาของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเห็นได้ว่าประเทศเทศไทยจัดอยู่ในอันดับรั้งท้าย นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วยังพบปัญหาเกี่ยวกับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์สำหรับนักเรียนที่เรียนในเขตเมือง และน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์สำหรับ นักเรียนที่เรียนในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งปัญหาดังกล่าวกำลังเป็นภัยคุกคามที่จะส่งผลต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกายส่วนรวม อีกทั้งจะเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งโดยธรรมชาติของเด็กในวัยเรียนระดับประถมศึกษา มีความต้องการที่จะเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 3-4 ชั่วโมง จึงทำให้เกิดการใช้พลังงานไม่สมดุลกับการรับประทาน อาหารในแต่ละวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหาร จานด่วนทั้งหลาย และปัญหาการขาดแคลนด้านทุพโภชนาการ กล่าวคือน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่า หรือเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลให้การเรียนการสอนทำได้ไม่เต็มที่ และขาดหลักโภชนาการขาดความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์และเครื่องเล่น ต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ที่เอื้อต่อการออกกำลังกายอย่างอิสระ ปัญหาการขาดการออกกำลังกาย นักเรียนจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกายจึงใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การนั่งดูโทรทัศน์ตลอดเวลา ทำให้ร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหวออกกำลังกาย ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพ ในระยะแรกอาจทำให้เป็นโรคอ้วน ขาดความคล่องตัว เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ไม่แจ่มใส ในระยะยาว การไม่ออกกำลังกาย ร่วมกับการบริโภคที่ไม่ดีจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพโดยใช้กิจกรรมทางกาย รวมไปถึงใช้สนามเด็กเล่นตามแนวคิดฐานปัญญา Brain Base Learning (BBL) จึงเห็นสมควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้นำกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) มาพัฒนาเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแก่นักเรียน รวมทั้งการส่งเสริมโดยการจัดพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ โดยดำเนินการสร้างความเป็นต้นแบบด้านการใช้กิจกรรมทางกายออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแก่นักเรียน สร้างรูปแบบสนามเด็กเล่นตามแนวคิดฐานปัญญา เพื่อเป็นแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาการกำหนดนโยบาย รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน ต่าง ๆ ให้มีระบบกลไกในการดำเนินงานการส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมการออกกำลังกาย และกีฬาเพื่อสุขภาพสำหรับนักเรียนทุกเพศ ทุกวัย อีกทั้งระดมทรัพยากรในพื้นที่เพื่อ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพสำหรับนักเรียน รวมถึงพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในพื้นที่เป้าหมายต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ/สุขภาพดี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมชี้แจงคณะทำงาน
  2. สนามเด็กเล่นโดยใช้แนวคิดฐานปัญญา Brain Base Learning (BBL)
  3. โชป้าชายด์ป้า
  4. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1
  5. กระโดดเชือก ลดอ้วน
  6. ทดสอบสมรถภาพทางกายครั้งที่ 2
  7. ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยฟุตบอล

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) 5
วัยเรียน (6-12 ปี) 18
วัยรุ่น (13-15 ปี)
เยาวชน (15-20 ปี)
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กและวัยรุ่นอายุ 5 - 17 ปี ในโรงเรียนมีการออกกำลังกายทุกคน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมชี้แจงคณะทำงาน

วันที่ 1 ตุลาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและคณะครูเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.ชุมชนและโรงเรียนเกิดความร่วมมือร่วมประชุม จำนวน 12 คน 2.จัดทำป้ายไวนิล จำนวน 2 ผืน ผลลัพธ์ 1.ได้แนวทางการดำเนินงานที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชนและโรงเรียน

 

10 0

2. สนามเด็กเล่นโดยใช้แนวคิดฐานปัญญา Brain Base Learning (BBL)

วันที่ 18 ตุลาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมวางแผน เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 2.จัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างสนามเด็กเล่น BBL 3.ดำเนินการก่อสร้าง 4.ตรวจรับงาน 5.จัดทำตารางการใช้สนามเด็กเล่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. นักเรียน จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ 1  เด็กมีอุปกรณ์เครื่องเล่นเหมาะสมตามวัย เสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม  และสติปัญญา 2  บริเวณสนามเด็กเล่นมีความปลอดภัย มีอาณาเขตชัดเจน 3  เด็กมีความสุข ได้รับการเพิ่มพลังสมองจากการเคลื่อนไหว มีพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมตามวัย

 

30 0

3. โชป้าชายด์ป้า

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 2.จัดซื้อตู้ลำโพงเคลื่อนที่ ขนาด 15 นิ้ว 3.จัดซื้อไมค์ลอย 4.ดำเนินตามโครงการ เต้นโชป้า แอนด์ ชายด์ป้า ทุกเช้าและคาบลดเวลาเรียน 5.ติดตามประเมินผลโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.นักเรียน จำนวน 30 คน ผลลัพธ์ 1.นักเรียนเกิดความสนุกในการออกกำลังกาย 2.จำนวนนักเรียนอ้วน ลดลง 3.นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์

 

60 0

4. กระโดดเชือก ลดอ้วน

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมวางแผน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ 2.จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 3.จัดเตรียมตารางจัดกิจกรรม     3.๑ ศึกษาและจัดทำหลักสูตร     3.๒ จัดทำแผนการสอน 4.ดำเนินงานตามกำหนดการโครงการ 5.กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต   1.นักเรียน จำนวน 30 คน ผลลัพธ์ 1.นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
2.นักเรียนมีความสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรม
3.นักเรียนมีร่างกายที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 4.นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และห่างไกลจากยาเสพติด
5.นักเรียนตระหนักถึงการรักษาสุขภาพร่างกายที่ดี และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

30 0

5. ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยฟุตบอล

วันที่ 7 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดทำโครงการเพื่อพิจารณาเห็นชอบอนุมัติ 2.ประชุมบุคลากรในโรงเรียน เพื่อวางแผนงานการดำเนินโครงการและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างๆ 3.ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้   3.1 ให้ความรู้เรื่องกฎ กติกาในการเล่นฟุตบอล   3.2 กิจกรรมการฝึกทักษะการออกกำลังกาย โดยการเล่นฟุตบอล การคอนโทรล การหยุด  การรับ
การส่งลูกฟุตบอล เป็นต้น   3.3 ให้ความรู้เกี่ยวกับการฝึกการเล่นฟุตบอลโดยการเล่นเป็นทีม 4.ติดตามและประเมินผล 5.สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.นักเรียน จำนวน 30 คน ผลลัพธ์ 1.นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจสมวัย 2.นักเรียนมีความรู้การดูแลสุขภาพ ร่างกายและจิตใจ 3.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตบอล 4.นักเรียนได้ฝึกทักษะการออกกำลังกาย การใช้ท่าทาง ทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ถูกต้องในการออกกำลังกาย

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ สุขภาพดี ทั้งหมด 4 กิจกรรม คือ (1) สนามเด็กเล่นโดยใช้แนวคิดฐานปัญญา Brain Base Learning (BBL) (2) โชป้าชายด์ป้า (3) กระโดดเชือก ลดอ้วน (4) ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยฟุตบอล

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ/สุขภาพดี
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5 - 17 ปี ในโรงเรียนมีการออกกำลังกาย
0.00 100.00 100.00

นักเรียนทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 23 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) 5
วัยเรียน (6-12 ปี) 18 25
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

กิจกรรมทางกายเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพให้กับเด็กนักเรียน ที่จะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีสามารถป้องกันโรคที่สำคัญได้ การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้นักเรียนขาดการเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวันและขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การป้องกันที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งคือการสร้างสุขภาพดี ด้วยการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ซึ่งต้องเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมวัยด้วย การทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำเป็นส่งผลต่อการมีสุขภาพ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมพัฒนาการทางกายสำหรับเด็กประถมศึกษาโรงเรียนบ้านวังม่วง จังหวัด ตาก

รหัสโครงการ 61-น.12

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นาง จุรีลักษณ์ สุวรรณวงษ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด