PA Thailand (Physical Activity Thailand)

directions_run

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ


“ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) ”

โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

หัวหน้าโครงการ
นาย ศิวากร แก้วมี

ชื่อโครงการ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ)

ที่อยู่ โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัด พิษณุโลก

รหัสโครงการ 61-น.08 เลขที่ข้อตกลง 61-น.08

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2019 ถึง 16 ธันวาคม 2019


กิตติกรรมประกาศ

"การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) จังหวัดพิษณุโลก" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ)



บทคัดย่อ

โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 – ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนได้มีการตรวจทุพโภชนาการของนักเรียน พบว่านักเรียนมีทั้งน้ำหนักเกินเกณฑ์และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้ทางโรงเรียนตระหนักถึงสุขภาพของนักเรียน หลังจากที่โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ในโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) ซึ่งโรงเรียนได้จัดกิจกรรมทางกายไว้สำหรับนักเรียน ได้แก่ สวนเกษตรปลอดภัยไร้พุง และเล่นฮูล่าฮูปลดพุง จากการร่วมกิจกรรมทางกายของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความสนุกสนาน ผ่อนคลาย และมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ สวนเกษตรปลอดภัยไร้พุง นักเรียนได้ทำแปลงเกษตรตั้งแต่เริ่มขึ้นแปลง เพาะเมล็ดผัก ดูแลรดน้ำ พรวนดิน เก็บเกี่ยว และนำไปประกอบเป็นอาหารกลางวัน ในส่วนของการเล่นฮูล่าฮูปลดพุง นักเรียนได้ออกกำลังกายในช่วงเช้าหลังกิจกรรมเคารพธงชาติของทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จากการดำเนินงานโครงการทำให้นักเรียนมีสุขภาพทั้งกายและจิตใจที่ดีขึ้น นักเรียนสนใจที่จะรักสุขภาพโดยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้จากการปลูกผักไปปฏิบัติต่อยอดที่บ้านของนักเรียนได้ อีกทั้งการตรวจทุพโภชนาการของนักเรียนพบว่านักเรียนมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่สมส่วนมากขึ้น

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันยังพบปัญหานักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์สำหรับในพื้นที่เขตเมือง และนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์สำหรับในพื้นชนบทหรือถิ่นทุรกันดาร ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย อีกทั้งจะเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยธรรมชาติของเด็กในวัยเรียนระดับประถมศึกษา มีความต้องการที่จะเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 3-4 ชั่วโมง จึงทำให้เกิดการใช้พลังงานที่ไม่สมดุลกับการรับประทานอาหารในแต่ละวัน เมื่อพิจารณาทุนของโรงเรียน พบว่าโรงเรียนมีพื้นที่ที่ใช้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ การเสนอโครงการเพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มนักเรียน จึงมีแนวคิดที่ควรจะทำประกอบด้วย 1) พัฒนาศักยภาพคณะครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายและสามารถออกแบบกิจกรรมทางกายของนักเรียนได้ 2) พัฒนาศักยภาพของแกนนำนักเรียนให่มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย และสามารถถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ 3) มีการเพิ่มกิจกรรมทางกายในการทำแปลงเกษตรปลอดภัย เพื่อให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้แบบ Active learning ในการทำเกษตรปลอดภัย วันละ 1-2 ชั่วโมง 3 วันต่อสัปดาห์ โดยผลผลิตที่ได้ใช้เป็นอาหารกลางวันของนักเรียน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มเวลาการเรียนรู้แบบกระฉับกระเฉงในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1
  2. ประชุมชี้แจงโครงการ
  3. อบรมให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย ฝึกทักษะกิจกรรมทางกายให้เหมาะสมกับนักเรียน
  4. สวนเกษตรปลอดภัย ไร้พุง
  5. เล่นฮูล่าฮูปลดพุง
  6. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 2
  7. ประชุมถอดบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี)
วัยเรียน (6-12 ปี) 60
วัยรุ่น (13-15 ปี)
เยาวชน (15-20 ปี)
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1

วันที่ 27 สิงหาคม 2019

กิจกรรมที่ทำ

  1. อธิบายรายละเอียดและขั้นตอนวิธีทดสอบสมรรถภาพแก่นักเรียน
  2. ดำเนินการทดสอบ (งอตัว,ดันพื้น,ลุกนั่ง,วิ่งระยะไกล)
  3. บันทึกข้อมูลจากการทดสอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกายร้อยละ 100 และได้ผลสรุปการทดสอบสมรรถภาพทางกายในครั้งที่ 1

 

60 0

2. ประชุมชี้แจงโครงการ

วันที่ 11 ตุลาคม 2019

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมเกี่ยวกับรายละเอียดของกิจกรรมโครงการ 2.ชี้แจงกิจกรรรมต่างๆ พร้อมผู้รับผิดชอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะครูมีความเข้าใจในกิจกรรมทางกายมากยิ่งขึ้น

 

9 0

3. อบรมให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย ฝึกทักษะกิจกรรมทางกายให้เหมาะสมกับนักเรียน

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2019

กิจกรรมที่ทำ

  1. นักเรียนลงทะเบียนเข้าอบรม และรับเอกสาร
  2. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย
  2. นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

 

60 0

4. สวนเกษตรปลอดภัย ไร้พุง

วันที่ 12 ธันวาคม 2019

กิจกรรมที่ทำ

  1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ช่วยกันทำแปลงเพาะปลูก ได้แก่ การถางหญ้า ขึ้นแปลง สับดิน และปรับดินให้พร้อมกับการเพาะปลูก
  2. นักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ป.1-6 ช่วยกันดูแลแปลงผัก 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยการดูแลวัชพืช การรดน้ำต้นไม้ การใส่ปุ่ย พรวนดิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนได้ผักที่ปลอดสารพิษ และมีพฤติกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดได้ที่บ้าน โดยที่นักเรียนสามารถไปแนะนำผู้ปกครองให้สามารถปลูกผักไว้รับประทานได้เองที่บ้าน
  2. นักเรียนมีพฤติกรรมทั้งกายและใจที่ดีขึ้น มีความรับผิดชอบสิ่งที่ตนเองได้รับมอบหมาย
  3. นักเรียนได้มีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย

 

60 0

5. เล่นฮูล่าฮูปลดพุง

วันที่ 12 ธันวาคม 2019

กิจกรรมที่ทำ

  1. นักเรียนแกนนำ เล่นฮูล่าฮูปเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับนักเรียนทุกคน
  2. นักเรียนทุกคนเล่นฮูล่าฮูป ประกอบเพลง ทุกวัน วันละ 15 นาที

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนสามารถเล่นฮูล่าฮูปได้ดี และสามารถฝึกฝนเพื่อไปแข่งขันในระดับต่อไปได้
  2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่ดี
  3. นักเรียนสามารถนำมาประยุกต์ทำกิจกรรมในชั้นเรียนได้ เช่น ช่วงเช้าก่อนเริ่มการเรียนการสอน มีการท่องสูตรคูณพร้อมกับเหวี่ยงฮูล่าฮูปไปพร้อมๆกันได้

 

60 0

6. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 2

วันที่ 12 ธันวาคม 2019

กิจกรรมที่ทำ

นักเรียนได้ทดสอบสมรรถภาพครั้งที่ 2
1. นั่งงอตัว 2. ดันพื้น 30 วินาที 3. ลุก-นั่ง 1 นาที 4. วิ่งระยะไกล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการทดสอบสมรรถภาพทางกายครั้งที่ 2 นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้นกว่าการทดสอบครั้งที่ 1

 

60 0

7. ประชุมถอดบทเรียน

วันที่ 16 ธันวาคม 2019

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดนักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนจากกิจกรรมทางกายที่ได้จัดตามโครงการ
  2. ให้นักเรียนระดมความคิด พร้อมเขียนเป็นแผนผังความคิด
  3. นักเรียนออกมานำเสนอผลงาน และร่วมกันอภิปราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนสามารถบอกได้ถึงประโยชน์ของกิจกรรมทางกายต่างๆ ที่ได้จัดขึ้น
  2. นักเรียนมีสามารถนำสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ได้ที่บ้าน
  3. นักเรียนมีสุขภาพทั้งทางกายและใจที่ดีขึ้น

 

60 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)
60.00 75.00 0.00

 

2 เพิ่มเวลาการเรียนรู้แบบกระฉับกระเฉงในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเวลาเรียนในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning)
60.00 75.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) 60 60
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 – ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนได้มีการตรวจทุพโภชนาการของนักเรียน พบว่านักเรียนมีทั้งน้ำหนักเกินเกณฑ์และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้ทางโรงเรียนตระหนักถึงสุขภาพของนักเรียน หลังจากที่โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ในโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) ซึ่งโรงเรียนได้จัดกิจกรรมทางกายไว้สำหรับนักเรียน ได้แก่ สวนเกษตรปลอดภัยไร้พุง และเล่นฮูล่าฮูปลดพุง จากการร่วมกิจกรรมทางกายของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความสนุกสนาน ผ่อนคลาย และมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ สวนเกษตรปลอดภัยไร้พุง นักเรียนได้ทำแปลงเกษตรตั้งแต่เริ่มขึ้นแปลง เพาะเมล็ดผัก ดูแลรดน้ำ พรวนดิน เก็บเกี่ยว และนำไปประกอบเป็นอาหารกลางวัน ในส่วนของการเล่นฮูล่าฮูปลดพุง นักเรียนได้ออกกำลังกายในช่วงเช้าหลังกิจกรรมเคารพธงชาติของทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จากการดำเนินงานโครงการทำให้นักเรียนมีสุขภาพทั้งกายและจิตใจที่ดีขึ้น นักเรียนสนใจที่จะรักสุขภาพโดยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้จากการปลูกผักไปปฏิบัติต่อยอดที่บ้านของนักเรียนได้ อีกทั้งการตรวจทุพโภชนาการของนักเรียนพบว่านักเรียนมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่สมส่วนมากขึ้น

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนิคมบางระกำ 6 (ท่ามะเกลือ) จังหวัด พิษณุโลก

รหัสโครงการ 61-น.08

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นาย ศิวากร แก้วมี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด