PA Thailand (Physical Activity Thailand)

directions_run

ลดการใช้โทรศัพท์เพิ่มการขยับและออกกำลังกาย โรงเรียนวัดวิหารเบิก (กาญจนานุกูล) จังหวัดพัทลุง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ


“ ลดการใช้โทรศัพท์เพิ่มการขยับและออกกำลังกาย โรงเรียนวัดวิหารเบิก (กาญจนานุกูล) จังหวัดพัทลุง ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นาย ชัยยา ชูจันทร์

ชื่อโครงการ ลดการใช้โทรศัพท์เพิ่มการขยับและออกกำลังกาย โรงเรียนวัดวิหารเบิก (กาญจนานุกูล) จังหวัดพัทลุง

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-ต.06 เลขที่ข้อตกลง ุ61-ต.06

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม 2562 ถึง 23 ธันวาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"ลดการใช้โทรศัพท์เพิ่มการขยับและออกกำลังกาย โรงเรียนวัดวิหารเบิก (กาญจนานุกูล) จังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ลดการใช้โทรศัพท์เพิ่มการขยับและออกกำลังกาย โรงเรียนวัดวิหารเบิก (กาญจนานุกูล) จังหวัดพัทลุง



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น (2) เพื่อลดการใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพก่อนเริ่มโครงการ (2) ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (3) กิจกรรมวิหารเบิกลีกซ์ (4) อบรมให้ความรู้ (5) กิจกรรมขยับและออกกำลังกาย โดยการเล่นที่มีกิจกรรมทางกาย (Active Play) (6) กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน (7) กิจกรรมแรลลี่ ปั่น เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ (8) กิจกรรมการทดสอบสมารถภาพทางกาย สิ้นสุดโครงการ (9)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ระยะเวลาดำเนินงานโครงการควรใช้ช่วงเวลาที่นานกว่านี้ (2) ควรจัดกิจกรรมในรูปแบบกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน เพื่อให้มีการดำเนินการในวงกว้างมากขึ้น

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นส่งผลให้เด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตวันละหลายๆชั่วโมงติดต่อกัน จนส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน พัฒนาการของเด็กจนทำให้เด็กไม่เห็นความสำคัญของการเรียนปฏิเสธที่จะทำการบ้านเล่นเกมส์ดูคลิปยูทูป หรือแท็ปเล็ตมากจนเกินไปสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก เมื่อเด็กจำนวนมากติดโทรศัพท์มือถือจนมีกระทบต่อการเรียน และ พัฒนาการของเด็กทางด้านร่างกาย และจิตใจการสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสุขกายและสุขภาพจิตที่ดีให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลจากโทรศัพท์มือถือสามารถช่วยเด็กได้กลับมาใช้ชีวิตที่ดีขึ้น จากสภาพปัญหาการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนโรงเรียนวัดวิหารเบิก (กาญจนานุกูล)

จากการสำรวจข้อมูลพบว่านักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีโทรศัพท์มือถือร้อยละ80พกพาโทรศัพท์มือถือมาโรงเรียนและใช้เวลากับการเล่นโทรศัพท์มือถือในกิจกรรมยามว่างช่วงพักกลางวันหลังเลิกเรียนและในชั่วโมงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนโดยนักเรียนไม่สามารถแยกแยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้โทรศัพท์ส่งผลต่อการเรียนการพักผ่อนในช่วงเวลากลางคืนใช้เวลากับการใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไปส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตและการเรียนส่วนนักเรียนในระดับประถมศึกษาจะใช้เวลาในการเล่นโทรศัพท์มือถือในช่วงตอนเย็นและกลางคืนซึ่งส่งผลกระทบต่อความรับผิดชอบในการเรียนผลกระทบที่สำคัญด้านสุขภาพกาย คือมีนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 29.41

โรงเรียนวัดวิหารเบิกจึงวางแผนจัดทำโครงการเพื่อเพิ่มการขยับและออกกำลังกาย ในเวลาว่างทดแทนการเล่นสมาร์ทโฟน โดยเลือกเป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกิจกรรมทางกาย (Active Play) นอกจากนั้นยังวางแผนส่งเสริมสุขภาพของชุมชนโดยให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการออกกำลังกายในเวลาเย็นอีกด้วย จากปัญหาการใช้โทรศัพท์มือถือมากจนเกินไปทำให้เกิดผลเสียต่อการเรียนและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนอีกทั้งสุขภาพที่ไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอการใช้สายตามากเกินไปกับการเล่นโทรศัพท์มือถือนอกจากนี้ยังเป็นการสุ่มเสี่ยงในการใช้มือถือในการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเล่นเกมมากจนเกินไปใช้เวลาหมกมุ่นอยู่กับโทรศัพท์มือถือจนลืมใส่ใจต่อสุขภาพกายสุขภาพจิตการเรียนของตนเองและความรับผิดชอบในงานหน้าที่ต่างๆ เพื่อเป็นการลดการใช้โทรศัพท์มือถือนักเรียนเกิดภาวะอ้วน โรงเรียนจึงสร้างกิจกรรมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตอีกทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ลดการใช้โทรศัพท์มือถือ หันมาเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีต่อสุขภาพด้วยการออกกำลังกายผ่านการเล่นที่มีกิจกรรมทางกาย (Active Play) ให้มากขึ้นทั้งช่วงเวลาเช้าพักกลางวันและตอนเย็นหลังเลิกเรียนโดยเพิ่มการขยับและออกกำลังกายให้มากขึ้นอีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของนักเรียนภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพื่อลดการใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพก่อนเริ่มโครงการ
  2. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. กิจกรรมวิหารเบิกลีกซ์
  4. อบรมให้ความรู้
  5. กิจกรรมขยับและออกกำลังกาย โดยการเล่นที่มีกิจกรรมทางกาย (Active Play)
  6. กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน
  7. กิจกรรมแรลลี่ ปั่น เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ
  8. กิจกรรมการทดสอบสมารถภาพทางกาย สิ้นสุดโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี)
วัยเรียน (6-12 ปี) 100
วัยรุ่น (13-15 ปี) 40
เยาวชน (15-20 ปี) 20
วัยทำงาน 17
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมขยับและออกกำลังกาย โดยการเล่นที่มีกิจกรรมทางกาย (Active Play)

วันที่ 1 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมวางแผน  ออกแบบกิจกรรมขยับและออกกำลังกาย โดยการเล่นที่มีกิจกรรมทางกาย (Active Play)
  2. จัดกิจกรรมการขยับและออกกำลังกายยามเช้า - เย็น ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยการวิ่งออกกำลังกายรอบสนามก่อนกิจกรรมเข้าแถวตอนเช้าและหลังเลิกเรียน โดยกำหนดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 3 คนละ 4 รอบสนาม  และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  คนละ 5 สนามโดยมีรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นคอยดูแลช่วยเหลือน้องๆ
  3. จัดกิจกรรมยามว่างและพักกลางวัน ให้นักเรียนเลือกเล่นกิจกรรมตามความสนใจซึ่งหมุนเวียนกิจกรรมและเครื่องเล่นต่างๆ เช่น โยนห่วงยาง  กระโดดเชือก  กระโดดยาง  หมากเก็บ  เครื่องบินฉุด ตารางเก้าช่อง  อีมอ ตี่จับ  เป็นต้น นอกจากนี้มีกิจกรรมกลางแจ้ง  เช่น  ฟุตบอล  แชร์บอล
  4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านรายวิชาเพิ่มเติม  เช่น  การทำเครื่องดื่มสมุนไพร  อาหารคาวพื้นถิ่น  พืชผักสวนครัว  เป็นต้น
  5. จัดกิจกรรมชุมนุม  เช่น ชุมนุมกีฬา  ชุมนุมลีลาศ  และชุมนุม To Be Number One เป็นต้น
  6. จัดกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ  เช่น     - กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ  เช่น  เกมทางภาษา  ลมเพลมพัดคำ  แข่งเก็บบัตรคำ  เป่ากบคำ Matching game เป็นต้น
        - กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เพิ่มการขยับและออกกำลังกายโดยผ่านกิจกรรม  การซักผ้า  รีดผ้า  ปรุงอาหาร ปลูกผักสวนครัว ทำความสะอาดอาคารเรียน หุ่นยนต์  เป็นต้น     - กลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรีนาฏศิลป์  บูรณาการให้เด็ก ๆได้ขยับและออกกำลังกาย โดยกิจกรรมเข้าจังหวะ รำมโนราห์  ตีเครื่องดนตรีมโนราห์  เป็นต้น     - กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการเดินจงกลมก่อนเข้าเรียนในภาคบ่าย
        - กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพละศึกษา นักเรียนออกกำลังกาย ตามสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี     นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่นักเรียนได้เพิ่มการขยับและออกกำลังกาย  เช่น  การเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในชุมชน  กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน  เก็บขยะบริเวณสองข้างทางถนนในชุมชน  กิจกรรมการแข่งขันฟุตบอล  การฝึกซ้อมฟุตบอล ทุกวันหลังเลิกเรียน ณ สนามโรงเรียนวัดวิหารเบิก  และชุมชนเข้ามามีบทบาทในการฝึกซ้อมและแข่งขัน ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ขยับและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
  2. ชุมชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการร่วมกันออกกำลังเพื่อสุขภาพ
  3. สร้างเครือข่ายโรงเรียนเป็นศูนย์รวมในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

 

127 0

2. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

วันที่ 16 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดทำป้ายไวนิล  ประชาสัมันธ์โครงการ
  2. ประชุมชี้แจงให้ผู้ปกครอง ชุมชน ทราบและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้ปกครอง  นักเรียน  และบุคลากรทางการศึกษา รับทราบที่มาและการสนับสนุนโครงการ

 

70 0

3. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพก่อนเริ่มโครงการ

วันที่ 18 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 68  คน     -นั่งงอตัว     - ดันพื้น     -ลุก-นั่ง   - วิ่งระยะไกล
  2. บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูล
  3. สรุปรายงานผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทดสอบสมรรถภาพของนักเรียน
  2. นักเรียนได้ทราบสมรรถภาพของตนเอง

 

68 0

4. กิจกรรมวิหารเบิกลีกซ์

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมวิหารเบิกลีก ประกอบด้วยกิจกรรม 1. กิจกรรมการแข่งขันแชร์บอลผู้ปกครองนักเรียน ทีมสีฟ้า สีแดง  และสีเหลือง ดำเนินการแข่งขัน   ระหว่างวันที่ 22- 25  กรกฎาคม 2562 เวลา 15.30 - 16.30 น 2. กิจกรรมพาเหรด ทีมสีฟ้า สีแดง  และสีเหลือง ระหว่างวันที่ 26  กรกฎาคม 2562 เวลา 07.00 - 08.30 น เริ่มขบวนบริเวณหาดแสนสุขลำปำ - สนามโรงเรียนวัดวิหารเบิก 3. กิจกรรมการแข่งขันการวิ่ง ทีมสีฟ้า สีแดง  และสีเหลือง ดำเนินการแข่งขัน   ระหว่างวันที่ 26  กรกฎาคม 2562 เวลา 09.00 - 16.30 น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทุกคนได้ฝึกและเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขัน
  2. ผู้ปกครองนักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันแชร์บอล ตามกลุ่มสีของลูก

 

95 0

5. อบรมให้ความรู้

วันที่ 2 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.  อบรมให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ  ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ 2. วิทยากรให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการขยับและการออดกำลังกาย  การเผาผลาญของร่างกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่ การเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 2 นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ  ภาวะโรคอ้วน  เบาหวาน  ความดันและไขมัน  เช่น  น้ำอัดลม  ของขบเคี้ยว  อาหารที่มีผงชรส  เป็นต้น
  2. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

85 0

6. กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน

วันที่ 30 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน จัดให้มีการแข่งขัน  เช่น ชักเย่อ  ตี่จับ  วิ่งกระสอบวิ่งสามขา  ฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนได้ออกกำลังกายผ่านการละเล่นพื้นบ้านแต่ละประเภท
  2. นักเรียนได้เรียนรู้การละเล่นพื้นบ้าน
  3. นักเรียนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  นำไปใช้ในชีวิตประจำวันลดการใช้โทรศัพท์แก้ปัญหาการติดเกม

 

90 0

7. กิจกรรมแรลลี่ ปั่น เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กิจกรรมแรลลี่ ปั่น เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ แบ่งนักเรียน เป็น 2 กลุ่ม คือ ปั่นจักรยาน  และเดินวิ่ง โดยเริ่มต้นจากโรงเรียน ไปตามเส้นทางในชุมชน วัด หาดแสนสุขลำปำ ค่ายลูกเสือลำปำ
  2. จัดกิจกรรมประจำฐาน ประกอบด้วย ฐานเครื่องดื่มสมุนไพร  ประกอบด้วยน้ำ เสาวรส  อั่ญชัญ และกระเจี๊ยบ  ฐานอาหารคาวพื้นถิ่นเรียนรู้การทำปลาพอก  ซึ่งเป็นอาหารที่ทำจากปลาในทะเลลำปำ  และฐานขนมครกพื้นบ้าน
  3. กิจกรรมขยับและออกกำลังกายด้วยการเล่นตามฐานต่างๆ เล่นเกมและการเล่นต่างๆ เช่น ฮูล่าฮูป วิ่งกระสอบ  อีมอ  กาฟักไข่ กระโดดยาง  ตี่จับ แข่งวิ่งทีม  เป็นต้น
  4. กิจกรรม ปั่น เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพกลับตามเส้นทางเดิม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนได้เรียนรู้เส้นทางการเดินรอบชุมชน สถานที่สำคัญในชุมชน
  2. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทำและชิมอาหารพื้นถิ่น ทั้งอาหารคาว หวานและเครื่องดื่มสมุนไพร
  3. นักเรียนได้ออกกำลังกายโดยการปั่น  เดิน วิ่ง และการเล่นเพื่อสุขภาพที่ดี
  4. นักเรียนมีคววามสุขและพึงพอใจกับการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง

 

92 0

8. กิจกรรมการทดสอบสมารถภาพทางกาย สิ้นสุดโครงการ

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 68  คน     -นั่งงอตัว     - ดันพื้น     -ลุก-นั่ง   - วิ่งระยะไกล
  2. บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูล
  3. สรุปรายงานผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทดสอบสมรรถภาพของนักเรียน
  2. นักเรียนได้ทราบสมรรถภาพของตนเอง

 

70 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)
50.00 80.00

 

2 เพื่อลดการใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน
ตัวชี้วัด :
50.00 10.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 177 227
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) 0
วัยเรียน (6-12 ปี) 100 98
วัยรุ่น (13-15 ปี) 40 40
เยาวชน (15-20 ปี) 20 24
วัยทำงาน 17 50
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 0 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น (2) เพื่อลดการใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพก่อนเริ่มโครงการ (2) ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (3) กิจกรรมวิหารเบิกลีกซ์ (4) อบรมให้ความรู้ (5) กิจกรรมขยับและออกกำลังกาย โดยการเล่นที่มีกิจกรรมทางกาย (Active Play) (6) กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน (7) กิจกรรมแรลลี่ ปั่น เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ (8) กิจกรรมการทดสอบสมารถภาพทางกาย สิ้นสุดโครงการ (9)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ระยะเวลาดำเนินงานโครงการควรใช้ช่วงเวลาที่นานกว่านี้ (2) ควรจัดกิจกรรมในรูปแบบกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน เพื่อให้มีการดำเนินการในวงกว้างมากขึ้น

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ลดการใช้โทรศัพท์เพิ่มการขยับและออกกำลังกาย โรงเรียนวัดวิหารเบิก (กาญจนานุกูล) จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-ต.06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นาย ชัยยา ชูจันทร์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด