PA Thailand (Physical Activity Thailand)

directions_run

โครงการต่อยอดสุขภาพนิสิตและอาจารย์ในชุมชนวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ด้วยนวัตกรรมกิจกรรมทางกาย (ครั้งที่ 2)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการต่อยอดสุขภาพนิสิตและอาจารย์ในชุมชนวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ด้วยนวัตกรรมกิจกรรมทางกาย (ครั้งที่ 2)
ภายใต้โครงการ โครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป)
ภายใต้องค์กร สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ
เลขที่ข้อตกลง ุ61-ตอ.01
รหัสโครงการ 61-ตอ.01
วันที่อนุมัติ 19 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 สิงหาคม 2562 - 16 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์ ดร. พัชรวดี พูลสำราญ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0819310204,0819310204
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
ละติจูด-ลองจิจูด 13.74817311722,102.32087841604place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ส.ค. 2562 30 พ.ย. 2562 30 ส.ค. 2562 30 พ.ย. 2562 32,000.00
2 1 ธ.ค. 2562 16 ธ.ค. 2562 8,000.00
รวมงบประมาณ 40,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่บริโภคอาหารครบ 5 หมู่
50.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
80.00
3 ร้อยละของเวลาเรียน ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยอาศัยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อันจะนำไปสู่การก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย
อย่างไรก็ตามปัจจุบันจากการสำรวจเรื่องความต้องการในการออกกำลังกายหลังของนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ไม่ให้ความสำคัญของการออกกำลังกาย เนื่องจากขาดแรงกระตุ้นและแรงจูงใจ ยังไม่ตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญ ในการออกกำลังกาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ ภาวะน้ำหนักเกิน งบค่ารักษาพยาบาล ตลอดทั้งสภาพร่างกายและจิตใจขาดการพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่เหมาะสมกับวัยได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้พยายามเสริมสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเดิมให้เอื้อต่อการออกกำลังกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งภายในสถาบันและชุมชนใกล้เคียง เมื่อนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยมีสุขภาพดี และจากการเริ่มต้นโครงการเพื่อสุขภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีสุขภาพกาย ใจและการบริโภคอาหารที่ดียังได้มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายให้นิสิตและอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของปีที่แล้ว มีผู้ที่สนใจที่มากกว่าแค่เพียงนิสิตและอาจารย์ของคณะฯนี้เท่านั้นโครงการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพจึงวางแผนที่จะขยายผู้เข้าร่วมโครงการให้เกิดขึ้นทั้งวิทยาเขตและวางแผนที่จะขยายแผนต่อไปนอกมหาวิทยาลัยในอนาคตด้วย


จากผลสำเร็จของการดำเนินการโครงการส่งเสริมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในปีที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบโครงการฯ จึงมองเห็นประโยชน์ของโครงการที่จะช่วยให้สังคมของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วมีสุขภาพทีดี จึงจะขยายผลจากในคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นทั้งวิทยาเขต และเนื่องจากที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้เอื้อต่อการให้นิสิตและบุคลากรมีสุขภาพกายและใจที่ดีอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ความหลากหลายของทางเลือกวิธีการออกกำลังกายที่ตรงกับความสนใจและทักษะตนเองและความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการในทางปฏิบัติยังมีจำกัดจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นิสิตและบุคลากรยังไม่ได้รับการเสริมสร้างสุขภาพตนเองให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง อย่างแท้จริง
การมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่หลากหลายตรงกับความสนใจและทักษะตนเอง และการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการออกกำลังกายของสถาบันและการบริโภคอาหาร จึงเป็นสิ่งกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นิสิตและบุคลากรให้ความสนใจดูแลรักษาและปรับปรุงสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอได้ เพราะเป็นกระบวนการที่เอื้ออำนวยให้นิสิตและบุคลากร สามารถเพิ่มศักยภาพในการควบคุมและปรับปรุงสุขภาพของตนเอง สามารถเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้ รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมหรือสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพ จึงไม่เป็นเพียงความรับผิดชอบของสถาบันเท่านั้น แต่ยังมุ่งไปที่รูปแบบการดำเนินชีวิตของนิสิตและบุคคลกรที่ต้องส่งผลดีต่อสุขภาพและนำไปสู่การมีสุขภาวะในที่สุด

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี
ความสอดคล้องกับทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี (2555-2564)
4. เพิ่มอัตราการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอตามข้อแนะนำ (400 กรัมต่อวัน) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ใน พ.ศ. 2557
5. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายประจำของคนไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ใน พ.ศ. 2557
8. เพิ่มสัดส่วนของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีความสุขในการดำรงชีวิต
11. อื่น ๆ (นอกจาก 10 ข้อข้างต้น) ระบุ ลดอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนของกลุ่มวัยรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

80.00 70.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคอ้วน

น้ำหนักกายของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่วัดก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ และการเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ

30.00 20.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสเลือกวิธีการออกกำลังกายที่ตรงกับความสนใจและทักษะตนเอง

แบบประเมินความพึงพอใจ

80.00 70.00
4 เพื่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม

การตอบคำถามเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร และค่า% ของ Protein, BMI, Body fat, Muscle, Water และ Bone Mass

80.00 70.00
5 ่เพื่อการปลูกฝังทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายและการบริโภคอาหาร

มีทัศนคติในเชิงบวกมากกว่าร้อยละ 70 จากการตอบแบบสอบถาม

80.00 60.00
6 เพื่อการทดสอบสมรรถภาพทางกาย

ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายดีขึ้นร้อยละ 50

80.00 70.00
7 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้จักการรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

รับอาหารเสริมเป็นน้ำเต้าหู้หลังการออกกำลังกาย ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ

50.00 40.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) 250 250
วัยทำงาน 50 50
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 610 40,000.00 5 40,000.00
15 - 30 ส.ค. 62 สำรวจความต้องการในการออกกำลังกายและการเลือกประเภทกออกกำลังกายตามความสนใจ 90 0.00 0.00
30 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 การปลูกฝังทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายและการบริโภคอาหาร 200 7,800.00 7,800.00
30 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 ลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคอ้วน 60 13,600.00 13,600.00
30 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 ทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 200 11,400.00 11,400.00
30 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 ลดพุง ลดเสี่ยง ด้วยน้ำเต้าหู้สมุนไพรหาง่ายในท้องถิ่น 60 7,200.00 7,200.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2562 09:31 น.