PA Thailand (Physical Activity Thailand)

directions_run

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ


“ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ”



หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-01710

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 ถึง 31 พฤษภาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2561 - 31 พฤษภาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในระดับชาติ และระดับสากลในระดับชาติได้พัฒนายุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559 – 2563) ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาปนิกผังเมือง และชุมชนต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกผลักดันพื้นที่สุขภาวะในระดับนโยบายสาธารณะ นำสู่การปฏิบัติ และขยายผล โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” จนมีมติรับรองในสมัชชาชาติครั้งที่ 10 วันที่ 20 ธันวาคม 2560

ในระดับสากล สสส.ร่วมลงนามในกฎบัตรโตรอนโตปี พ.ศ.2553 และได้รับเลือกจาก International Society for Physical Activity and Public Health (ISPAH) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติด้านการมีกิจกรรมทางกาย “ISPAH 2016” ผลจากการประชุมทำให้ได้ข้อตกลงร่วมกันของนานาชาติประกาศเป็น Bangkok Declaration on Physical Activity ในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยข้อเสนอกิจกรรมทางกายจะถูกผลักดันเข้าสู่เวทีสมัชชาสุขภาพระดับโลก (World Health Assembly) ครั้งที่ 70 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 เพื่อยกระดับของกิจกรรมทางกายให้เป็นวาระหลักในระดับองค์การอนามัยโลกต่อไป

ผลสำรวจการมีกิจกรรมทางกายระดับประเทศของประเทศไทย ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข พบว่า โดยภาพรวมคนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2555 2556 2557 และ 2558 คิดเป็นร้อยละ 66.3 ร้อยละ 68.1 ร้อยละ 68.3 และร้อยละ 71.7 ตามลำดับ และลดลงในปี 2559 เหลือ ร้อยละ 70.9 ซึ่งตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาอัตราการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 โดยกลุ่มเด็กมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอไม่แตกต่างกับประชากรเขตเมืองมากนัก (ร้อยละ 72.6 และ 71.0 ตามลำดับ)

สำหรับอุปสรรคของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยนั้น สาเหตุสำคัญมาจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour) ที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจากการสำรวจในปี 2555 พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งต่อวันถึง 13.25 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 13.42 และ 13.54 ในปี 2557 และ 2558 ตามลำดับ โดยพฤติกรรมเนือยนิ่ง 4 อันดับแรกของคนไทยที่ทำติดต่อกันนานกว่า 1ชั่วโมงต่อครั้ง คือ นั่ง/นอนดูโทรทัศน์ (ร้อยละ 50.0) นั่งคุย/นั่งประชุม (ร้อยละ28.4) นั่งทำงาน/นั่งเรียน (ร้อยละ 27.0) และนั่งเล่นเกม โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ (ร้อยละ 20.1) เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่า กลุ่มเด็กและกลุ่มวัยรุ่นมีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ (Screen time) ในการนั่งดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เข้าร้านเกม รวมถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาประเภทต่างๆ มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอยู่หน้าจอนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสัดส่วนผู้ที่มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงจากร้อยละ 28.7 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 34.7 ในปี 2557 นอกจากนี้ฐานข้อมูลกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2558 พบเด็กไทยอายุ 5-14 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนที่ร้อยละ 12.5

องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายว่า นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันแล้วยังจะต้องดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพื้นที่เพื่อกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้ผู้คนได้มีกิจกรรมทางกายเป็นวิถีชีวิต ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายจึงนับว่าสำคัญยิ่ง จนทำให้เกิดเป็นแนวทางจากองค์การอนามัยโลกภายใต้ชื่อว่า เมืองน่าอยู่คือเมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy city is an active city) ซึ่งเป็นการสร้างสุขภาพที่ดีด้วยนโยบายเพื่อการยกระดับการมีกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่กายภาพ รวมไปถึงระบบการขนส่งที่เกื้อหนุนการเคลื่อนไหวร่างกาย (Active transport) อาทิ การเดิน การขี่จักรยาน และการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณด้านบริการสุขภาพของเมืองแล้ว ยังส่งผลให้เกิด พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่น่าดึงดูดมากขึ้น สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ลดความแปลกแยกทางสังคม เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง และการขยายตัวของเครือข่ายชุมชน

ปี 2560 ที่ผ่านมาแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพมีการดำเนินโครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย ใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย 2) การพัฒนาศักยภาพโครงการ โดยร่วมพัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายและกลุ่มเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และผลักดันให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนและสนับสนุนให้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกาย อาหาร และปัจจัยเสี่ยง และ 3) การวางระบบการพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการสำหรับโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลการดำเนินการ ปีที่ 1 ในทั้ง 3 เรื่อง มีรายละเอียดดังนี้ ผลการดำเนินงานในเรื่องที่ 1 การพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย ในการยกระดับสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้มีการดำเนินการนำประเด็นกิจกรรมทางกายเข้าสู่สมัชชาชาติ สามารถนำวาระ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”เข้าสู่การพิจารณาในสมัชชาชาติครั้งที่ 10 และได้รับการรับรองมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2560 ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ดังนี้

1.1 เกิดความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในระดับประเทศผ่านกระบวนการสมัชชา ซึ่งในกระบวนการสมัชชามีกระบวนการดำเนินงานบรรจุประเด็นกิจกรรมทางกายเป็นวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 ทำให้เกิดการรับรู้ในคณะกรรมการจัดสมัชชา และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 1.2 เกิดเครือข่ายความร่วมมือของคณะทำงานวิชาการ ประกอบด้วยสสส. สช. สปสช. กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC) มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทยสมาพันธ์ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาองค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภาควิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคณะทำงานวิชาการที่ร่วมกันจัดทำวาระเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณา 1.3 เกิดเครือข่ายในแต่ละ stakeholders ระหว่างการดำเนินการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายทำให้เกิดการขยายเครือข่ายคนทำงาน ประเด็นการเพิ่มกิจกรรมทางกายและมีการทำความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1.4 มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของเครือข่ายสมัชชาจังหวัด 77 จังหวัด และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพฯ ทั้งระดับพื้นที่ (MA) ภาคประชาสังคมและประชาชน (MS) ภาควิชาการและวิชาชีพ (MK) ภาคราชการและการเมือง (MP) ทำให้มีเครือข่ายสุขภาพจำนวนมากกว่า 5,000 คนทั่วประเทศมีความเข้าใจและร่วมกันขับเคลื่อนการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1.5 คณะกรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนมติการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเพื่อให้ข้อเสนอต่างๆ ในมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติถูกนำไปปฏิบัติ ดังนี้

มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” องค์กรที่ขับเคลื่อนมติสมัชชา มติข้อ 1. ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการดังนี้ 1. รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้ เข้าใจ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ กิจกรรมและการจัดพื้นที่เพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น 1.2 ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ ยุทธศาสตร์ แผนและโครงการขององค์กรทุกระดับ ในการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1.3 เสนอนโยบายการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ต่อคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) เพื่อสนับสนุนให้มีการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง - สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด - ภาคีเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา - ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มติข้อ 2. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิชาการ กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรด้านสื่อดำเนินการ 2.1 สนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและการสื่อสาร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม 2.2 พัฒนาฐานข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย 2.3 สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่าย ชุมชน เพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงาน เพิ่มกิจกรรมทางกายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล - กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กรมอื่น ๆ - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - กระทรวงศึกษาธิการ - สำนักงานสถิติแห่งชาติ - สถาบันวิชาการ - กรุงเทพมหานคร - องค์กรด้านสื่อ

มติข้อ 3. ขอให้กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคม ดังต่อไปนี้ 3.1 วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบในการออกแบบและการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะ ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย และให้มีมาตรการหรือข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัย 3.2 จัดให้มีและจัดการพื้นที่ในการครอบครองของแต่ละองค์กรให้มีพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อและกระตุ้นต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน - กระทรวงมหาดไทยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ - กระทรวงคมนาคม - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - กระทรวงกลาโหม

มติข้อ 4. ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มีนโยบาย แผนงานและโครงการ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีกิจกรรมทางกายร่วมกันเพิ่มมากขึ้น - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

มติข้อ 5. ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่มีการจัดการศึกษา มีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้สถานศึกษาทุกระดับ ทั้งที่เป็นสถานศึกษาของรัฐและเอกชน จัดให้มีหลักสูตร กิจกรรมและสร้างเสริมสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของบุคลากร นักเรียน นักศึกษาและชุมชน - กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย - กรุงเทพมหานคร - สถานศึกษาทุกระดับ

มติข้อ 6. ขอให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเอกชน กำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการ จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริมบุคลากรในองค์กร ให้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ - กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน - กระทรวงอุตสาหกรรม - ภาคธุรกิจเอกชน

มติข้อ 7. ขอให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สนับสนุนงบประมาณ และให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชนโดยสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายเรื่องแผนเดียว (One Plan) ของกระทรวงมหาดไทย - กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ - กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

มติข้อ 8. ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นๆศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด -สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - หน่วยงานวิชาการอื่นๆ

มติข้อ 9. ขอให้สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) องค์กรสื่อสารมวลชน และเครือข่ายสื่อชุมชนเป็นแกนหลักร่วมกับเครือข่ายสื่ออื่นๆ ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย - สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) - องค์กรสื่อสารมวลชน และเครือข่ายสื่อชุมชน

ผลการดำเนินงานในเรื่องที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของโครงการ มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 พัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ของแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายและกลุ่มเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2.1.1 ร่วมพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี และ 1 ปี ของแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทย ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ 1) ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ นวัตกรรม และการสื่อสาร2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย 3) ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ 4) ยุทธศาสตร์การผลักดันขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 5) ยุทธศาสตร์องค์กรกีฬาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายและที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่รวมทั้งยุทธศาสตร์การสนับสนุนการบริหารจัดการ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการสนับสนุนและระบบบริหารจัดการ ใน 3 ช่วงวัย ทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ ใน 4 setting คือบ้าน โรงเรียน องค์กร และชุมชน 2.1.2 ร่วมพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1 ปี ของกลุ่มเครือข่ายเดิน วิ่ง เครือข่ายจักรยาน เครือข่ายองค์กรกีฬา เครือข่ายกีฬาไทยทำให้เกิดแนวทางเพื่อนำไปสู่การทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี และ 1 ปี ครอบคลุม 3 ช่วงวัย ทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ และใน 4 setting คือบ้าน โรงเรียน องค์กร และชุมชน 2.1.3 วางระบบพัฒนาโครงการ/ ระบบติดตามประเมินผลโครงการให้กับโครงการขับเคลื่อนมาตรฐานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดิน วิ่ง และโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป)

2.2 ผลักดันให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนและสนับสนุนให้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกาย อาหาร และปัจจัยเสี่ยง 2.2.1 เกิดหลักสูตรการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2.2.2 เกิดการพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุนส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจด้านกิจกรรมทางกาย สามารถพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายในพื้นที่ได้ 2.2.3 ทำงานบูรณาการประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) เข้าไปสู่การทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 2.2.4 เกิดเครือข่ายนักวิชาการในการทำหลักสูตร ซึ่งมีเครือข่ายนักวิชาการมาจากสถาบันการศึกษา 4 ภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หน่วยงานรัฐ ภาคสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ ภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และนักวิชาการอิสระภาคประชาสังคม

2.3 ได้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ใน 4 ภาค จำนวน 509 แผนงานและ 558 โครงการ ใน 509 กองทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2561)

ผลการดำเนินงานในเรื่องที่ 3 การวางระบบการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลสำหรับ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โครงการการขับเคลื่อนมาตรฐานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดิน วิ่ง และโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป) มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 เกิดคู่มือ/เครื่องมือการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล online 2.2 เกิดระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2.3 เกิดทีมคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) ทั้ง 4 ภาค ช่วยในการขับเคลื่อนโครงการกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบลมาจาก สถาบันการศึกษาในพื้นที่ คณะทำงานในหน่วยงานสาธารณสุข และภาคประชาสังคม

2.4 ทีมวิชาการช่วยสนับสนุนการพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประกอบด้วย 1.สถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะวิทยาศาสตร์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณะมนุษยศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2. ภาคสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 2 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 3 นครสวรรค์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 โรงพยาบาลคีรีมาศ จ.สุโขทัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.สต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก สาธารณสุขอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี สงคราม 3. ภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และนักวิชาการอิสระภาคประชาสังคม

2.5 เกิดการพัฒนาศักยภาพ กรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุนส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจด้านกิจกรรมทางกาย สามารถพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายในพื้นที่ได้

การขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของสสส.ในระดับชาติและระดับสากลที่ผ่านมาจนมีข้อตกลงระดับนานาชาติ นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับชาติทั้งการผลักดันเรื่องกิจกรรมทางกายเข้าสู่ WHA ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2018; นโยบายสาธารณะตามมติสมัชชาชาติครั้งที่ 10 ปี 2560“การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”; ยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559 – 2563) และแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการในหน่วยงาน และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องได้อย่างกว้างขวาง

ในปี 2561-2562 นี้ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกับ สจรส.ม.อ. จึงเสนอโครงการเพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายลงสู่การดำเนินงานในหน่วยงานและพื้นที่ต่าง ๆ ให้เพิ่มมากขึ้นโดยเน้นเป้าหมาย 2 ประเด็นหลัก คือ 1. พัฒนาคุณภาพของโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการพัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการของเครือข่าย 2. ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ โดยมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมติ

ดังรายละเอียด

เรื่อง แนวทาง ผลผลิต/ผลลัพธ์ 1. พัฒนาคุณภาพโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.

1) การพัฒนาคุณภาพโครงการเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. คลินิกการพัฒนาโครงการ - การประชุมทีมคณะทำงานวิชาการแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.เพื่อวางแผนพัฒนาศักยภาพและออกแบบแนวทางการสนับสนุนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย - พัฒนาศักยภาพผู้เสนอโครงการ ที่จะได้รับการสนับสนุนจากแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ให้สามารถเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ มีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผลและโครงการมีความสอดคล้องกับแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 3ช่วงวัย(วัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ)4 setting (บ้าน โรงเรียน องค์กร ชุมชน) และสามารถนำไปสู่ผลผลิต ผลลัพธ์ ในประเด็น 1. เกิดการจัดการความรู้ นวัตกรรม และสื่อรณรงค์ 2. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเกิดความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาพประเด็นกิจกรรมทางกาย (Health Literacy - PA) 3.เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบที่สามารถนำไปขยายผลในเชิงพื้นที่ และเชิงนโยบาย 4.เกิดนโยบายสาธารณะทั้งระดับชาติ ระดับพื้นที่ ระดับองค์กร 5. องค์กรกีฬาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย และเป็นองค์กรที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่ - ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ - ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายร้อยละ 100 ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผล และนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่สอดคล้องแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและเป็นโครงการที่มีคุณภาพ ร้อยละ 90

2) การระบบพัฒนาโครงการและระบบติดตามและประเมินผลโครงการของเครือข่าย - การพัฒนาคู่มือการพัฒนาโครงการ และคู่มือการติดตาม ประเมินผลโครงการ - การพัฒนาระบบการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการ Online ผ่านทาง Website เป็นการปรับปรุงระบบ และการจัดทำคู่มือ Website ฝึกอบรม - ได้คู่มือการพัฒนาโครงการ และคู่มือการติดตาม ประเมินผลโครงการจำนวน 1 ชุด - ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

3) การขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ - ขยายพื้นที่ดำเนินงานในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 270 กองทุน - พัฒนาข้อเสนอโครงการและมีกิจกรรมในโครงการครอบคลุมเรื่องกิจกรรมทางกาย และอาหาร - กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ครอบคลุมเรื่องกิจกรรมทางกายและอาหาร จำนวน 270 กองทุน - ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและอาหารที่มีคุณภาพ จำนวน 100 โครงการ

การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของมติสมัชชาประเด็น “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” - การประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในแนวทางกิจกรรมทางกาย รวมทั้งการทำแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย ในกลุ่ม ระดับเขต (คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.)) / ระดับจังหวัด (เครือข่ายสมัชชาจังหวัด)ระดับอำเภอ (คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น - คณะทำงาน กขป. เครือข่ายสมัชชาจังหวัด พชอ. อปท.และ สปสช. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - เกิดนโยบาย แผน และโครงการกิจกรรมทางกาย ในกลุ่มคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เครือข่ายสมัชชาจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

2) การประชุมเชิงปฏิบัติการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นพื้นที่ต้นกิจกรรมทางกายและอาหาร - การประชุมเชิงปฏิบัติการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อทำความเข้าใจ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายในองค์กร รวมทั้งการผลักดันให้องค์กรมีนโยบาย โครงการ และกิจกรรม PA และอาหาร - การประกวดให้รางวัล สำหรับการออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและอาหารในองค์กร - สนับสนุนการสื่อสารเผยแพร่การส่งเสริมกิจกรรมทางกายและอาหารขององค์กร - หน่วยงานการไฟ้ฟ้าส่วนภูมิภาคมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และมีนโยบายในการส่งเสริมองค์กรให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น - เกิดต้นแบบ PA ในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

3) การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการศึกประโยชน์ทางตรงและประโยชน์ทางอ้อมต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของโครงการที่รับการสนับสนุนจากแผนกิจกรรมทางกายโดยการคิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้ข้อมูลการศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

เพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นบรรลุเป้าหมาย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงได้ร่วมมือกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันทำโครงการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 วาระ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. พัฒนาคุณภาพของโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการพัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการของเครือข่าย
  2. ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ โดยมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมติ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1
  2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2
  3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3
  4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4
  5. ประชุม คู่มือพัฒนาโครงการฯ (สจรส.มอ.)
  6. ประชุมคู่มือพัฒนาโครงการฯ / วางแผนเวทีมหกรรมสุขภาพ (สจรส.มอ.)
  7. ประชุมคู่มือพัฒนาโครงการฯ และเว็บไซต์ PA (สจรส.มอ.)
  8. ประชุมวางแผนเศรษฐศาสตร์ PA และวางแผนเว็บไซต์ (สจรส.มอ.)
  9. ประชุมเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) กับคณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ. (สจรส.มอ.)
  10. สรุปประชุมแกนประสานพี่เลี้ยง (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) (กรุงเทพ)
  11. ประชุม เศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) (สจรส.มอ.)
  12. ประชุมวางแผน PA เตรียมงานมหกรรสุขภาพ (สจรส.มอ.)
  13. ประชุมความก้าวหน้าเศรษฐศาสตร์ PA (สจรส.มอ.)
  14. การประชุมวางแผนและติดตาม มติสมัชชาข้อ 3 สถาปนิค (สช.กรุงเทพฯ)
  15. ประชุมติดตามความก้าวหน้าหน้าพี่เลี้ยง 4 ภาค (กรุงเทพฯ)
  16. มหกรรมสานพลังสร้างสุข"โฮมสุขอีสาน" (จ.ขอนแก่น)
  17. วางแผนและคุยเว็บ PA สสส.
  18. ประชุมคณะทำงาน สจรส.มอ. (สจรส.มอ.)
  19. การประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล การวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ (สนง.สสส.กรุงเทพฯ)
  20. ประชุมถอดบทเรียน PA (จ.เชียงใหม่)
  21. ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA (สจรส.มอ.)
  22. ประชุมวางแผนเว็บ PAthailand
  23. พัฒนาโครงการ PA ประเภทนวัตกรรมฯ PA สสส. (ม.จุฬาฯ กรุงเทพฯ)
  24. รายงานความก้าวหน้า proposal โครงการกองทุนตำบลฯ พชอ.77จังหวัด (สนง.สสส.กรุงเทพฯ)
  25. ประชุมเตรียมประเด็นโครงร่างเศรษฐศาสตร์ PA
  26. ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA ที่ สสส. กรุงเทพ
  27. ประชุมทีม สธ. สปสช. สสส. คุย proposal โครงการบูรณาการกลไก 77 พชอ.
  28. ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA ที่ สสส. กรุงเทพ
  29. ประชุมติดตามความก้าวหน้ามติสมัชชา PA
  30. ประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  31. ประชุมพี่เลี้ยงกองทุน 12 เขต ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี
  32. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ณ มหาลัยกีฬาแห่งชาติ จ.อ่างทอง
  33. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ณ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  34. ประชุมแกนนำพี่เลี้ยงกองทุนฯ 12 เขต
  35. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก
  36. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ จ.นครศรีธรรมราช
  37. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ สมุทรสาคร
  38. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ กทม.กับภาคตะวันออก ณ ศูนย์กีฬาจุฬาฯ
  39. การประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการ
  40. การประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการภาคใต้ ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  41. ประชุมเตรียมประเด็นการนำเสนอ PA ในงานความก้าวหน้ามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12
  42. ประชุมพี่เลี้ยง วางแผนกับพื้นที่ทำงาน
  43. ประชุมเชิงปฏิบัติการคลินิคพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย
  44. ประชุมสรุปรายงานความก้าวหน้ามติ PA ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
  45. ประชุมพัฒนาโครงการ จัดทำแผนกองทุนตำบล จ.สระแก้ว
  46. ประชุมทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ จ.มุกดาหาร
  47. ประชุมหารือเตรียมworkshopงานพื้นที่สุขภาวะ และหารือเรื่องตัวชี้วัดแผน PA
  48. ประชุมทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ จ.ระยอง
  49. การประชุมความก้าวหน้าประเมินความคุ้มทุนเศรษฐศาสตร์ PA
  50. การอบรมเสริมทักษะการบริหารจัดการ แผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุ ปี 2563
  51. ประชุมวางแผนตัวชี้วัด PA สสส.
  52. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมสรุปผลงานการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ
  53. เข้าร่วมประชุมสรุปถอดบทเรียน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมฯ ณ จ.สมุทรสงคราม
  54. ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 12
  55. ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 7,8,9,10
  56. ประชุมจัดทำสื่อวีดีทัศน์เผยแพร่ แนะนำเรื่องการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามโครงการ ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล
  57. ประชุมออนไลน์ด้วยระบบ ZOOM กับพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล 4 ภาค เพื่อวางแผนและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
  58. ประชุมทีมติดตามเว็บกองทุนสุขภาพตำบล
  59. ประชุมคณะทำงานวิชาการ สจรส.ม.อ.
  60. ประชุมทีมกองทุนตำบลฯ เขต 5
  61. ประชุม ZOOM กับพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ 4 ภาค
  62. ประชุมทีมกองทุนตำบลฯ เขต 7,8,9 ที่ จ.ขอนแก่น
  63. ประชุมออนไลน์ ZOOM วางแผนงานกองทุนสุขภาพตำบล 12 เขต
  64. ประชุมการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บ PA
  65. ประชุมรายงานความก้าวหน้าการประเมินความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย
  66. ประชุมเตรียมนำเสนอการสังเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางกาย เว็บ PA
  67. การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปบทเรียนในการพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ https://www.pathailand.com
  68. นำเสนอผลการศึกษา เศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย
  69. ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี)
วัยเรียน (6-12 ปี)
วัยรุ่น (13-15 ปี)
เยาวชน (15-20 ปี)
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมวางแผนการทำงาน PA และถอดบทเรียนที่ผ่านมา

วันที่ 8 มกราคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนการทำงาน PA และถอดบทเรียนที่ผ่านมา ในวันที่ 8 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุม โรงแรมดวงตะวัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คำถามแลกเปลี่ยน
1. สถานการณ์และการกรอกข้อมูลในโปรแกรม
2. การประสานพี่เลี้ยงทำอย่างไรในพื้นที่ 3. ข้อเสนอเพิ่มเติม

  1. สถานการณ์และการกรอกข้อมูลในโปรแกรม

จุดแข็ง
1. โปรแกรมดีต่อสถานการณ์ /ปัจจัยแวดล้อม / แผนแต่ละแผนเอาสถานการณ์ทั้งหมดไปใช้ 2. โปรแกรมใช้รายละเอียดเยอะพอสมควร / ตรงวิธีการ / สามารถเรียบเรียงข้อมูลได้ 3. การใช้โปรแกรมเป็นการกระตุ้นการกรอกข้อมูล 4. โปรแกรมสามารถนำไปใช้หลายๆ หน่วยงาน 5. ปีที่ผ่านมาเน้นเรื่องโปรแกรม / อบรมแกนหลัก 6. โครงการ สามารถออนไลน์ได้หลายส่วน ทั้ง PA กิจกรรมทางกาย อาหาร ปัจจัยเสี่ยง 7. การปฏิบัติ ทำงานประสานพี่เลี้ยง ใช้ตัวโปรแกรมเป็นตัวติดตาม พี่เลี้ยงเขต + พี่เลี้ยงพื้นที่ ติวเข้มโปรแกรม

ข้อจำกัด
1. ข้อมูลพื้นที่ไม่มีสถานการณ์ 2. ข้อมูลสถานการณ์ไม่ละเอียด 3. งาน รพสต.เยอะมาก แต่เอามาช่วยคิด ช่วยเขียนข้อมูลได้ 4. ระบบเว็บไซต์ ยังไม่ถึงพื้นที่ ทำไม่เป็น 5. โปรแกรมมีความซับซ้อน
6. โปรแกรมยังไม่นิ่ง 7. รหัสพี่เลี้ยงแก้ไขไม่ได้ 8. เป้าหมาย โปรแกรมพอเสถียรเรียนรู้ง่าย / แต่ยากคือการดึงข้อมูลไปใช้ 9. บางส่วนใช้โมดูลไม่ครบ แผน > พัฒนา > ติดตาม > ออกบัญชี 10. เรื่องโปรแกรม สปสช.กับที่เราสร้างซ้ำซ้อนอยู่

แนวทาง
1. เพิ่มเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล คนคีย์ข้อมูล คือ คนทำงานในกองทุนตำบล 2. เสนอเมนูสำเร็จรูป (คล้ายๆเมนู สน.6, บันไดผลลัพธ์) 3. เว็บให้สามารถใส่งบประมาณแหล่งอื่นๆ ด้วย 4. การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ ควรเทรนทีมงานให้เข้าใจมากกว่านี้ 5. ปัญหาการเก็บข้อมูลสถานการณ์ / พี่เลี้ยงเป็นภาระงานอยู่ ควรเทรนกลุ่มที่เก็บข้อมูล 6. สถานการณ์มี แต่ไม่ละเอียด เอามาจาก การสำรวจ และ จปฐ. 7. การใช้ประโยชน์ คนใช้โปรแกรม ถ้ามีประโยชน์ โปรแกรมจะถูกพัฒนาต่อยอด 8. คู่มือง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจใส่ข้อมูลทำบล็อกเดียวกัน
2. การประสานพี่เลี้ยงทำอย่างไรในพื้นที่

จุดแข็ง
1. กระบวนการพัฒนาโครงการเข้าถึงกองทุนจริงๆ ที่ปฏิบัติ
2. พี่เลี้ยงกลไกกลางสามารถนำองค์ความรู้ไปสู่ความชัดเจนของโครงการมากขึ้น 3. พชอ.เป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายมีประสบการณ์ 4. ยึดอำเภอเป็นตัวตั้ง /ทีม work ในอำเภอเป็นตัวตั้ง ให้ทีมพี่เลี้ยงบริหารจัดการ 5. พี่เลี้ยงมีบารมีเป็นที่เชื่อถือของพื้นที่ ทำให้สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ด้วยความสมัครใจ

แนวทาง 1. กลไกกลางควรมีประสิทธิภาพ 2. ดึงสาธารณสุขอำเภอมาทำงานเป็นหัวใจสำคัญ / สาธารสุขอำเภอ เรื่องต้องผ่านจังหวัด 3. ควรมีพี่เลี้ยงเป็น พชอ. 4. เงื่อนไขเวลาให้กระชับ 5. ประสานอำเภอ นายอำเภอ ทำข้อมูลแผ่นท้องถิ่น 6. การนัดพี่เลี้ยงมาคุยกัน การพบปะพี่เลี้ยง /นัดเจอกันเดือนละครั้งจะดี 7. พื้นที่เก่า ให้เขามานำเสนอเป็นพื้นที่ต้นแบบ 8. การเลือกพื้นที่ โฟกัสไปที่ผู้ประสานเขต > เลือกผู้แทนของ สปสช.ก่อน > การประสานคนที่รู้จักคุ้นเคยทำงาน > เลือกแกนพี่เลี้ยงเขต > เลือกบุคคลเป็นแกน อำเภอไหนมีความพร้อมอิสระในการเลือกพื้นที่ แต่ละจังหวัด พชอ.ทำเต็มพื้นที่อยู่แล้ว นโยบายเต็มพื้นที่

 

0 0

2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 21 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประเด็นประชุม 1. วางแผนเรื่อง คลินิกพัฒนาโครงการ 2. วางแผนเรื่อง การพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 3. วางแผนเรื่อง การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.วางแผนเรื่องคลินิกพัฒนาโครงการ - การประชุมทีมคณะทำงานวิชาการแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. : ปฏิบัติตามแผน - พัฒนาคู่มือการพัฒนาโครงการ และการติดตาม และประเมินผลโครงการ: นัดประชุมวางแผนการทำคู่มือ - ปรับปรุงระบบ (เว็บไซต์ https://www.pathailand.com/) : นัดประชุมกับโปรแกรมเมอร์ เรื่องการปรับปรุงเว็บไซต์ - ดำเนินการคลินิกพัฒนาโครงการL นัดคุยกับ สสส. เรื่องลักษณะโครงการที่จะดำเนินคลินิกพัฒนาโครงการ
2.วางแผนเรื่อง การพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ - การพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) ยกระดับพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ให้เข้าใจเรื่อง PA เพื่อกรรมการกองทุนได้ขยาย- โครงการกิจกรรมทางกายในพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป - ปรับปรุงระบบ http://localfund.happynetwork.org/ นัดพี่หมีกับพี่เอ๋ ปรับปรุงเว็บไซต์ - ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ปฏิบัติตามแผน - ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ ปฏิบัติตามแผน - การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานของผู้รับทุนในพื้นที่ พี่เลี้ยง/ผู้ติดตามสนับสนุน ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนผู้รับทุนโครงการ ปฏิบัติตามแผน - การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการสรุปภาพรวมชุดความรู้และนวัตกรรม และสกัดบทเรียน model ปฏิบัติตามแผน - การติดตามสนับสนุนลงพื้นที่ติดตามโครงการของทีม สจรส.ม.อ.และทีมสังเคราะห์ ลงพื้นที่ 25 โครงการ ปฏิบัติตามแผน - การสรุปภาพรวมชุดความรู้และนวัตกรรม สังเคราะห์และสกัด บทเรียน model การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ ทบทวนเอกสาร สรุป สังเคราะห์และสกัดบทเรียน model การดำเนินงานทั้งหมดของโครงการ ปฏิบัติตามแผน - จัดทำเอกสาร ชุดการสังเคราะห์ความรู้และประสบการณ์ ปฏิบัติตามแผน เพิ่มเติม นัด อ.ซอ อ.เพ็ญ อ.กุลทัต วาง timeline ทำงานกับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

3.วางแผนเรื่อง การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ - การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของมติสมัชชา PA ดำเนินการตามแผนและมติสมัชชา - การประชุมเชิงปฏิบัติการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สร้างพื้นที่ตัวอย่างที่ เทศบาลนครยะลา - การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ดำเนินการร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

4.การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ - นัดประชุมกับเครือข่ายสมัชชาจังหวัดภาคเหนือ กับภาคใต้ - ดูงานสร้างสุข สสส.ภาคเหนือ กับภาคอีสาน - นัดคุยกับอาจารย์ภารนีเรื่องจะขับเคลื่อนมติกับเครือข่ายสถาปนิค - ดำเนินการร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

 

0 0

3. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 3 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประเด็นประชุมสำคัญ : ทบทวนแผน และคู่มือพัฒนาโครงการ 1. ปรับคู่มือพัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ 2. ดู Timeline โครงการปัจจัยเสี่ยง เพื่อวางแผนลงพื้นที่ / และทำ Time line PA 3. คุยกับพี่จอย ว่าจะนำวาระ PA เข้าไปในวาระอย่างไร 4. คุยกับ อ.จูน คณะเภสัช ให้พัฒนา proposal การศึกษาความคุ้มทุนของโครงการ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานวางแผนโครงการแผน PA ปี 2 วันที่ 3 กันยายน 2561 ณ ห้องอาจารย์ ชั้น 10 สจรส.มอ. เวลา 13.30 – 15.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุม - ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ - นายญัตติพงศ์ แก้วทอง

1.ปรับ “คู่มือพัฒนาโครงการ” ให้สอดคล้องกับ “เว็บไซต์” เว็บไซต์ PA / เว็บไซต์กองทุน - เอาเว็บไซต์เป็นตัวตั้ง - เอาคู่มือของ อ.กุลทัต มาปรับ การทำโครงการ - สถานการณ์ - ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง - วางจุดหมาย - วิธีการสำคัญ - กิจกรรมต่างๆ เขียนอย่างไร ให้ละเอียด - การแจกแจงงบประมาณอย่างไร - ประเมินผลอย่างไร

2.การพัฒนาคลินิกพัฒนาโครงการ พัฒนา : - กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น - สสส. อาจจะเป็นชุดโครงการ หรือ โครงการเปิดรับทั่วไป

3.คุยกับผู้ประสาน สสส. ว่าลักษณะโครงการเป็นอย่างไร - ถ้ามีกองทุนจะพัฒนาโครงการจะต้องทำอย่างไร จะใช้ระบบพี่เลี้ยง หรือ ใช้ระบบศูนย์

4.กองทุนตำบล - ดูโครงการ Timeline อย่างไร / ทำอะไรในแต่ละเดือน ได้ลงพื้นที่พร้อมกัน และบูรณาการร่วมกัน

5.การขับเคลื่อนมติสมัชชา เรื่อง PA และบรรจุไปในงานสร้างสุข - ภาคเหนือ ขับเคลื่อนระดับเขต กขป. - ภาคใต้ - มีงานสร้างสุข เอาไปเป็นวาระงานสร้างสุข / สมัชชาสุขภาพ - เอาประเด็น PA เข้าไปเป็นวาระในมหกรรมสุขภาพของ สช. จะมีวิธีการทำอย่างไรได้บ้าง และเลือกพื้นที่บางพื้นที่เท่านั้น

6.งานเศรษฐศาสตร์ วิจัยกับ สวรส. ทำ Proposal ส่งให้กับ สวรส. - เอาคณะเภสัชมาทำเรื่องนี้ อ.จูน (คณะเภสัช)

7.เรื่องพื้นที่สุขภาวะ - กรรมการขับเคลื่อนสมัชชา - สมาคมสถาปนิกมาคุยด้วย / ประสานพี่จั่น (อ.ภารนี)

 

0 0

4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 5 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานวางแผนโครงการแผน PA ปี 2 ประเด็นประชุม
1. ปรับคู่มือพัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ PA 2. พัฒนา proposal ด้านเศรษฐศาสตร์ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานวางแผนโครงการแผน PA ปี 2 ประเด็นประชุม 1. ปรับคู่มือพัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ PA 2. พัฒนา proposal ด้านเศรษฐศาสตร์ PA

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ปรับ “คู่มือพัฒนาโครงการ” ให้สอดคล้องกับ “เว็บไซต์” เว็บไซต์ PA / เว็บไซต์กองทุน - เอาเว็บไซต์เป็นตัวตั้ง - ใช้คู่มือของ อ.กุลทัต มาปรับต่อยอด

เพิ่มเติมการเขียนโครงการในคู่มือ 1. ต้องระบุสถานการณ์ 2. วิเคราะห์ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อสถานการณ์นั้น 3. วางจุดหมาย เป้าหมาย 4. วิธีการสำคัญ 5. กิจกรรมต่างๆ ควรเขียนอย่างไร งบประมาณ แจกแจงงบประมาณอย่างไร 6. การประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ประเมิน อย่างไร

แลกเปลี่ยนประเด็น - กรอบนี้ยังไม่พอ / เว็บ PA สสส. / โครงการของ PA / แนะนำการกรอกข้อมูล - ในเว็บตัวชี้วัดของแผน PA เพิ่มตัวชี้วัดของแผน PA ด้วย - ???? ตัวชี้วัด ของกองทุนที่ออกแบบตอนนี้ สามารถตอบตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ สสส.ไหม - การระบุสถานการณ์ตามหัวข้อควรมีอะไรบ้าง / มี 2 เรื่อง คือสถิติและผลกระทบ - ถ้าชุมชนใช้ Format ของกองทุนได้

พัฒนา proposal ด้านเศรษฐศาสตร์ PA มติข้อ 8. ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นๆศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด TOR การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการศึกประโยชน์ทางตรงและประโยชน์ทางอ้อมต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของโครงการที่รับการสนับสนุนจากแผนกิจกรรมทางกายโดยการคิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แลกเปลี่ยนประเด็น - Tor เรื่องความคุ้มทุนให้ทางอาจารย์เสนอ - ปัญหาคือยังไม่เคยมีการประเมินมาเลย - การประเมินตั้งแต่เริ่มต้นมี PA หรือไม่ / หรือประเมิน PA ตั้งแต่ต้น / - นัดประชุมอีกครั้ง 20 กันยายน 2561 - ประสาน สวรส. การขับเคลื่อน PA เขาจะสโคปงานไหม หรือให้เราส่งไป มติ 8 ในตอนนั้นจะมีมาตาการทางภาษีและมาตรการทางการเงินด้วย

 

10 0

5. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

วันที่ 9 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน วางแผนงานประเด็น คู่มือพัฒนาโครงการ เว็บไซต์โครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คู่มือ กำลังทำ นัดคุยกันแล้ว 17 กันยายน 2561 ปรับให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ วิธีการ ดูเว็บไซต์ไปดูกองทุนที่กรอกอย่างไรบ้าง

2.เว็บโครงการ / ควรระบุชื่อชุมชน / เป็นเรื่องการออกกำลังกาย ปัญหาใหญ่ คือ ทำโครงการ PA แต่ชื่อโครงการเป็นออกกำลังกาย / เราไปเทรนพี่เลี้ยง ยังไม่เข้าใจ PA - ทำไงให้คนเข้าใจ PA ลองนึกถึงแผนงานเรา ตามการขับเคลื่อนมติสมัชชาด้วย ทำให้เขาเข้าใจเรื่อง PA ตาม มติสมัชชา เราทำงานเครือข่าย สมัชชาเครือข่าย สช. เครือข่าย

3.วิธีการที่จะทำให้เขาเข้าใจ PA : - ทำงานร่วมกับเครือข่าย สมัชชาจังหวัด เครือข่าย พชอ. เครือข่าย กขป. - โจทย์ คือ ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจเรื่องนี้

4.กลับมาดูที่คู่มือ ต้องแสดงให้เห็นว่า ต้องอธิบาย PA ให้ชัด

5.กลับมาดูชื่อโครงการ เป็นการออกกำลังกายกับกีฬาทั้งนั้น / ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแต่มวยกีฬา / ข้อมูลไม่เวิกซ์ ตอนนี้ที่บอกว่าให้ดูเว็บไซต์ มีปัญหาอะไร - บางโครงการยังเปิดรับทั่วไป - กลับมาดูที่โครงการ ก่อนขยายกองทุน ปรับปรุงให้ดีก่อน

6.คู่มือ มีจุดอ่อนอะไร / วิธีการเทรนนิ่งให้ดีควรทำอะไร - ปรับให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ ยึดคู่มือกองทุนตำบล เพิ่มการเขียนโครงการในคู่มือ - ระบุสถานการณ์ ที่สำคัญ ต้องมีตัวอย่างดีๆ - วัยเด็ก ควรมีอะไรบ้าง BBL play และ การเรียนการสอนทำกิจกรรมตลอด ลองดูว่าควรมีกิจกรรมอะไรบ้าง / เวลาเรียนเหมือนเรียนให้เดิน จิกซอร์แต่ละเส้น รูปแบบในโรงเรียน active play Active Leaning / ดูตัวอย่างในต่างประเทศ

7.ในคู่มือ ขาดตัวอย่าง ในแต่ละอย่าง เช่น การสำรวจ /กิจกรรมทางกายในโรงเรียน / จัดประกวดกิจกรรมทางกาย รักษ์สุขภาพ พอไปดูแนวทางวิธีการสำคัญ

8.แนวทางวิธีการสำคัญ มันไม่ค่อยเป็นรูปธรรม มองไม่เห็นเวลาเขียน ยกตัวอย่าง พัฒนาครูพลที่ไม่เน้นการออกกำลังกาย / จัดกิจกรรมพ่อแม่ลูกเดินปั่น / พัฒนาศูนย์เด็ก / เขียนให้มันแล้วมีภาพประกอบ -พอเขียนคู่มือเป็นเล่มส่วนใหญ่จะไม่อ่าน

9.เว็บไซต์ต้องมีส่วนสำคัญ ในการสื่อสารเรื่อง PA / เมนูอีกเมนู เปนตัวอย่างกิจกรรมทางกาย ในกลุ่มเด็กมีอะไรบ้าง / กลุ่มวัยทำงานมีอะไร

10.คู่มือนี้เอาไปใช้ กับ กขป. สมัชชา พชอ. เพื่อให้เขารู้ว่า PA คืออะไร เขียนแบบให้คนอ่าน อยากอ่านต่อ ตอนนี้เขียนแบบวิชาการ / ตอนนี้มองเป็นพี่เลี้ยงตอนนั้น สรุป 1. ทำแบบคู่มือแบบนี้   2. ทำแบบคู่มืออย่างง่าย

11.PA คือ อะไร / สรุป PA คำง่ายๆ คือ ออกแรง เคลื่อนไหวยังไม่พอ แต่ต้องออกแรงด้วย พอจับคีย์เวิดออกมา / ถ้าเดินไปมาแต่ไม่เหนื่อย / วันนี้ 30 นาที ปานกลางถึงมาก (รวมสัปดาห์ 150 นาที) / เด็ก วันละ 60 นาที / พอจับแบบนี้คิดว่า กิจกรรมหรือรูปแบบอะไรทำให้เกิดแบบนี้ / review มาแล้ว ลงสู่ปฏิบัติ นำมาปรับคำ ใช้คำง่ายๆ และใส่ตัวอย่าง / - เราต้องสื่ออีกแบบ สือคำง่ายๆ ใส่ภาพตัวอย่าง กิจกรรมที่สื่อสาร - นิยาม เป็นการเคลื่อนไหวหรือออกแรง มีความหมายมากกว่าการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา - ทำอย่างไรให้ คีย์เวิด ไปฝังในความเข้าใจของคน / ตอนนี้ทุกอย่างกลายเป็นการออกกำลังกาย - หน้าที่ของเราคือ ทำอย่างไร ให้เขาเข้าใจ / ตอนนี้คนไม่ออกกำลังกาย เพราะไม่มีเวลา แต่เขาสามารถมีกิจกรรมทางกายได้ตลอดทั้งวัน - เช่น ยกขวดน้ำ 1 วันละ 100 ครั้ง ข้างละ 100 ครั้ง / ลิงค์ที่เกี่ยวช้องหน้าเว็บ

12.เรื่องเว็บไซต์ / ปัญหาใหญ่ ขณะนี้เว็บมี พี่เลี้ยง กรรมการกองทุน และเครือข่าย พี่เลี้ยงยังไม่เข้าใจ ทำไงให้กรรมการกองทุน // ต้องมีสื่อที่บอก ตัวอย่างคืออะไร ให้ชัดว่าท้องถิ่นทำอะไรได้มั้ง - เอาวิดีโอ สสส. มาใส่ ที่เกี่ยวข้องกับ PA ทั้งหมด /ทั้ง 2 เว็บ ทั้งหมดต้องใส่ในเว็บ - ประเด็นเว็บไซต์ นัดพี่หมี วิเคราะห์ทำให้เสร็จเรียบร้อย ก่อน 20 นี้ ว่าจะคุยอะไร

 

0 0

6. ประชุม คู่มือพัฒนาโครงการฯ (สจรส.มอ.)

วันที่ 17 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม คู่มือพัฒนาโครงการ และเว็บไซต์ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คู่มือพัฒนาโครงการ

- ดูวัยทำงาน หรือ วัยผู้ใหญ่ - แขวนท่ายกขวดน้ำในเว็บ สสส. - โครงการ ดูโครงการดีๆ แล้วแต่งเพิ่ม / ดูโครงการในพื้นที่ และทำตัวอย่าง

  1. เว็บ PA

- ข้อ 10 ระบุกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใครบ้าง จำนวนเท่าไร  มีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายอย่างไร หากมีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มควรระบุกลุ่มเป้าหมายหลักและเป้าหมายรองด้วย พื้นที่ควรระบุ 1) บ้าน 2) โรงเรียน 3) ชุมชน 4) สถานที่ทำงาน/องค์กร

  • ข้อ 11 “กิจกรรมการดำเนิน” ออก /ดูว่ากรอบวิธีการจาก สสส.ไหม
  • ข้อ 13 วิธีการดำเนินงาน และงบประมาณ

 

0 0

7. ประชุมคู่มือพัฒนาโครงการฯ และเว็บไซต์ PA (สจรส.มอ.)

วันที่ 19 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม คู่มือพัฒนาโครงการฯ และเว็บไซต์ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คู่มือพัฒนาโครงการ - ควรประกอบด้วยหลักการ 1. อยุ่ไหน :ที่มา/หลัก เหตุผล 2. จะไปไหน :วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด / เป้าหมาย 3. ไปอย่างไร :วิธีการ 4. ไปถึงหรือยัง : ผลการดำเนินการ / ผลที่คาดไว้

เว็บกองทุน - ใส่ข้อมูลพื้นฐานด้วย เช่น กองทุนมีจำนวนคนทั้งหมดกี่คน / ชายกี่คน / หญิงกี่คน / ช่วงอายุ วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ - นำข้อมูลมาคำนวณเว็บ ค่าร้อยละ PA

 

0 0

8. ประชุมวางแผนเศรษฐศาสตร์ PA และวางแผนเว็บไซต์ (สจรส.มอ.)

วันที่ 20 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนการประเมินเศรษฐศาสตร์ PA และออกแบบระบบเว็บไซต์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประเมินเศรษฐศาสตร์ PA 1. ต้นทุนทางตรง - ตรง / ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ - ตรง / ค่าใช้จ่ายไม่ใช่ทางแพทย์ 2. ต้นทุนทางอ้อม / ผลิตภาพที่สูญเสีย

จุดหมาย : เพิ่ม PA / ลดอ้วน > สถานการณ์ > จุดหมาย สถานการณ์ PA ในประเทศไทย เป้าหมายตั้งไว้ 80 % 1. PA ในเด็ก 64.8 % 2. PA ในวัยทำงาน 75.8 % 3. PA ในผู้สูงอายุ 68.5 %

ยุทธศาสตร์ PA 1. เพิ่ม PA 3 ส่วน - เด็ก - วัยทำงาน - ผู้สูงอายุ

เกิด PA / 4 setting - บ้าน - โรงเรียน - ที่ทำงาน - ชุมชน

ลักษณะ PA 1. กิจวัตรประจำวัน : ลักษณะงาน 2. การเดินทาง : เดิน/จักรยาน 3. กิจกรรมนันทนาการ / กีฬา / ออกกำลังกาย : Active play , Excers , sport

บางโครงการจัดแบบอีเว้น เช่น เต้น 2 วัน แล้วกลับไป โอกาสที่จะทำต่อมีน้อย เศรษฐศาสตร์ มี PA เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีมิติอื่นๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหาร / เศรษฐกิจ Paper เด็ก > เพิ่ม outcome  เพิ่มความฉลาด  โรคอ้วน ในเด็ก อาจเสี่ยงเป็น NCD ในอนาคต

BMI COST การรักษาเด็กอ้วน

เข้ามาจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม / กายภาพบำบัด หลังจากโครงการเสร็จสิ้นมีความต่อเนื่องไหม การพิจารณาโครงการ 1. มีประชากรกี่คน 2. มีความต่อเนื่อง

Cost ที่ลด NCDs มีประมาณเท่าไร เมื่อเทียบกิจกรรมก่อนทำโครงการ

.................................................................................................................................

การออกแบบระบบเว็บไซต์ 1. ชื่อโครงการ 2. ประเภทโครงการ 3. ผู้เสนอโครงการ 4. ผู้รับผิดชอบโครงการ 5. ประเภทองค์กร 6. - กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ - ภาพรวมเนื้อหามาตรา 5 - ประเด็น 7. ความเป็นมา (สถานการณ์) 8. วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด / สถานการณ์ / เป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย - 3 ช่วงวัย - 4 setting - ลักษณะทาง PA

แนวทางและวิธีการสำคัญ วิธีการดำเนินการ ระยะเวลา งบประมาณ แหล่งทุนอื่น ออกแบบเว็บ กราฟฟิก ดีไซน์

 

0 0

9. ประชุมเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) กับคณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ. (สจรส.มอ.)

วันที่ 3 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประเด็นเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย 1. แนะนำโครงการ PA ปี 1 ได้ผลักดันมติสมัชชา “กิจกรรมทางกาย” มีข้อ 1 ได้ผลักดันเรื่องมาตราการทางภาษีและการเงิน 2. อธิบายความหมายคำว่า กิจกรรมทางกาย  หมายถึงมากกว่าการออกกำลังกาย เช่น - การออกแรงในชีวิตประจำวัน - การเดินทาง - การออกกำลังกาย 3. PA เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยป้องกันโรค NCDs / มีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ 4. มีแนวทางศึกษาความเป็นไปได้เรื่องมาตรการทางภาษี และมาตรการทางเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประเด็น 1. PA มีผลทางเศรษฐกิจ เป็นต้นทุน การทำโครงการ PA เพื่อเทียบมากน้อยแค่ไหน กับการลงทุนไปคุ้มหรือไม่

มาตรทางภาษี ในหลายประเทศมีอยู่ อาจจะต้อง review เพิ่มเติม แนวทางในประเทศไทย 1. โครงการส่งเสริม PA / รัฐบาลลงทุนค่าใช้จ่ายในการเพิ่มโครงสร้าง / อัตราภาษี ภาษีที่เก็บโดยตรงกับ PA / เก็บภาษีอุปกรณ์กีฬา ให้ภาษีน้อยกว่า 2. เครื่องมืออะไรทีเคยเก็บ โครงสร้างภาษี 3. ภาษีนิติบุคคล BOI / สิทธิประโยชน์การลงทุนเศรษฐกิจ / การผลิต / ใช้อุปสรรคเครื่องมือ /โดยใช้โครงสร้างภาษี 4. ดูงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. CSR บริษัทเอกชนทำในเรื่องนี้ เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริม PA เหมือนที่ผ่านมา CSR กับสิงแวดล้อม 6. ทางอ้อม กฎระเบียบต่างๆ ตั้งชมรมเงื่อนไข - องค์กร > ขอทุน 7. ดอกเบี้ย การกู้เงินในระบบ เช่น สถาบันการเงิน ออมสิน / ธกส. / ธอส.

 

0 0

10. สรุปประชุมแกนประสานพี่เลี้ยง (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) (กรุงเทพ)

วันที่ 6 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

สรุปเตรียมงาน มหกรรมสุขภาพ และวางแผนการทำงานกับกองทุนสุขภาพตำบลฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปเตรียมงาน มหกรรมสุขภาพ จัดบูท PA และเสวนา - ภาคเหนือ จัด วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2561 - ภาคอีสาน จัด วันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2561

จากมติสมัชชา ข้อที่ 1 นำมาสู่ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนมติดังกล่าวในงานมหกรรมสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ กิจกรรมและการจัดพื้นที่เพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ 1. การจัดเสวนาถอดบทเรียนต้นแบบกิจกรรมทางกายในเขตภาคอีสาน 2. การจัดบูทนิทรรศการเพื่อสื่อสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (ขนาดบูทประมาณ 2 x 3 เมตร) 3. การจัดเสวนาสรุปบทเรียนการดำเนินการโครงการกับกองทุนสุขภาพตำบล 4. แลกเปลี่ยนข้อเสนอในพื้นที่ เชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และโครงการ ในการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อจะนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป

 

0 0

11. ประชุม เศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) (สจรส.มอ.)

วันที่ 16 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมในประเด็น ดังนี้ 1. กระบวนการวิจัย
2. เป้าหมายของการวิจัย 3. จำนวนโครงการวิจัย 2 โครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประชุม ดังนี้ 1. ในมติสมัชชาพูดถึงการใช้มาตรการทางภาษี สิ่งที่พูดมาจะเป็นตุ๊กตา ถ้า PA ลด cost ได้จริง ก็จะนำไปเป็นข้อมูลหลักการและเหตุผล จะประหยัดค่าใช้จ่าย
1.1 สิ่งแรก PA ลดโรคเท่านี้ๆ 1.2 ค่าใช้ในการรักษาโรคเท่านี้ๆ

  1. ความคุ้มค่าของโครงการ ไม่ต้องไปรู้หรอกว่า PA ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงเท่าไร แต่ว่าให้ไปดูการที่เรามี นวัตกรรมลงไป ทำให้คนเพิ่ม PA เท่าไร สมมติว่าโรงการนี้ทำให้คน มี PA เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ เช่น โครงการ 200,000 บาท ลงทุนไปในโครงการดูว่าคุ้มไหม

  2. สิ่งที่ต้องดู outcome ดู อินไดเรกด้วย เช่น การทำให้เกิดเครือข่ายการออกกำลังกาย กิจกรรมเสริมหลักสุตรแอคทีฟเพล ถ้าเปรียบเทียบตรงๆ จัด 5 หมื่น / คนละ 1000 บาท อันนี้จะง่ายเกินไป  บางครั้งไม่ได้บอก ต้องตีแอคตีวิตี ทางอ้อม ออกมาด้วย

  3. สิ่งที่ต้องตอบโจทย์ คือ ความคุ้มค่าของโครงการเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนไทย สรุปการเขียน 2 โปรเจ๊ก

  4. ความคุ้มค่าของโครงการ

  5. มาตรการทางภาษี

 

0 0

12. ประชุมความก้าวหน้าเศรษฐศาสตร์ PA (สจรส.มอ.)

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมความก้าวหน้าเศรษฐศาสตร์ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ติดตามความก้าวหน้าโครงร่างวิจัย เรื่อง ค ว า ม คุ้ม ค่า ข อ ง โ ค ร ง ก า ร ส่ง เ ส ริม ก า ร เ พิ่ม กิจ ก ร ร ม ท า ง ก า ย ข อ ง ค น ไ ท ย เ พื่อล ด ค ว า ม เ สี่ย ง ข อ ง ก า ร เ กิด โ ร ค ใ น ก ลุ่ม โ ร ค ไ ม่ติด ต่อ เ รื้อ รัง

 

0 0

13. การประชุมวางแผนและติดตาม มติสมัชชาข้อ 3 สถาปนิค (สช.กรุงเทพฯ)

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมวางแผนและติดตาม มติสมัชชาข้อ 3 สถาปนิคฯ 3.1 การวางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงฯ 3.2 ให้พื้นที่กลางเปิดโอกาสให้คนในชุมชนใช้ประโยชน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ปรึกษาหารือขับเคลื่อน 1. การขับเคลื่อนกับองค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมืองเป็นหลัก 2. องค์กรวิชาชีพ มีคู่มือแนะนำหลักเกณฑ์ จะเสร็จประมาณปลายเดือน มกราคม ถึง กพ.นี้ ในคู่มือจะมีทั้ง Process และ settings

 

0 0

14. ประชุมติดตามความก้าวหน้าหน้าพี่เลี้ยง 4 ภาค (กรุงเทพฯ)

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตามความก้าวหน้าหน้าพี่เลี้ยง 4 ภาค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประชุม พี่เลี้ยง ผลงานพี่เลี้ยง
1. กองทุนนำร่องต้องมีแผน 5 แผน - บุหรี่ - เหล้า - ยาเสพติด - PA - อาหาร 2. แต่ละแผนมีโครงการพัฒนา 1 โครงการ (รวมทั้งโครงการพัฒนาใหม่, โครงการพัฒนาที่มีอยู่เดิม) 3. โครงการที่มีการติดตามประเมินผล - รวมอย่างน้อย 5 โครงการ - ทั้งหมด 270 กองทุน x 5 โครงการ เท่ากับ 1,350 โครงการ

แนวทางพี่เลี้ยงดำเนินการต่อ - แผน (ในส่วนนี้ให้พี่เลี้ยงลงข้อมูลเองก่อน)
1. ตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์ 2. ปรับปรุง ป้าหมาย 1 ปี 3.  เพิ่มโครงการที่ควรดำเนินการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย 1 ปี ที่วางไว้

โครงการ (พัฒนาโครงการ) ตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์ ปรับปรุง วัตถุประสงค์/เป้าหมาย ความสอดคล้องของโครงการกับแผน ปรับวิธีการ กิจกรรม – แยกกิจกรรม (จัดคนละวัน ให้แยกกิจกรรมออก)

 

0 0

15. มหกรรมสานพลังสร้างสุข"โฮมสุขอีสาน" (จ.ขอนแก่น)

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  • ชมนิทรรศการ : ลานกิจกรรม
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของพี่เลี้ยงจังหวัด
  • สรุปบทเรียนการดำเนินงานของพี่เลี้ยงกองทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนหลังรับงานโครงการกิจกรรมทางกาย เช่น เดินเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาทางาน เช่น เดินไปทางาน เดินไปเข้าห้องน้าทุก 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางกาย การเปลี่ยนแปลงที่พบคือ น้าหนักลดลง 5 กิโลกรัม วิทยากรตั้งคาถามให้กับผู้เข้าประชุม - กิจกรรมทางกายที่พอเพียงคืออะไร - ผู้เข้าร่วมคนใดที่มีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดัน กิจกรรมทางกายที่พอเพียง คือ กิจกรรมที่มีความพอเพียงด้านออกแรงและระยะเวลาในการออก เช่น เด็กควรมีกิจกรรมทางกายมากกว่า 60 นาทีต่อวัน ผู้สูงอายุควรมีกิจกรรมทางกายมากกว่า 150 ครั้งต่อสัปดาห์ กิจกรรมทางกายมีประโยชน์ในการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด

การแลกเปลี่ยนบทเรียนPA ในท้องถิ่น ผู้ดาเนินรายการคือ อาจารย์ ธวัชชัย เคหบาล ชี้แจงวัตถุประสงค์การเสวนา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดาเนินการโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยน ภาคีที่มาเข้าร่วมประกอบด้วย ตัวแทนเขตซึ่งมีประสบการณ์การทากิจกรรมทางกายในพื้นที่ คณะกรรมการกองทุน ตัวแทนจากท้องถิ่น ท้องที่ รพ.สต. ตัวแทนภาคชุมชน ทุกคนเป็นผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ โดยมีผู้แทน 4 เขตสุขภาพร่วมดาเนินการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย - ตัวแทนเขต 7 คุณเอมอร ชนะบุตร ตัวแทนภาคประชาชน ประธานอสม.ทุ่งคลองตัวแทนประกันสุขภาพเทศบาลคาม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ - ตัวแทนเขต 8 คุณจุไรรัตน์ เผ่าพันธุ์ รพ.สต. คาด้วง จังหวัดอุดรธานี - ตัวแทนเขต 9 คุณสุพรรณ ชูชื่น ผอ.รพ.สต บ้านโคกมั่งงอย ชัยภูมิ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ที่ปรึกษาศูนย์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ และ นส.พรสุดา ต่อชีพ ผอ.กองสธ. - ตัวแทนเขต 10 รัตนา สาธุภาพ นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.กุดตระกร้า ตาบลสร้างก่อ จังหวัดอุบลราชธานี

 

80 0

16. วางแผนและคุยเว็บ PA สสส.

วันที่ 3 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผน และการใช้เว็บ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้สรุปการออกแบบเว็บไซต์ PA https://www.pathailand.com เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีต่อไป

 

0 0

17. ประชุมคณะทำงาน สจรส.มอ. (สจรส.มอ.)

วันที่ 4 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน สจรส.มอ.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คลินิกพัฒนาโครงการ PA 1) คู่มือพัฒนาโครงการ 2) คู่มือติดตามประเมินผล 3) ปรับเว็บไซต์ 4) ปฏิบัติติดตามโครงการ (เปิดรับทั่วไป, เดินวิ่ง, atc.) • workshop • พัฒนาโครงการ • ติดตามโครงการ 5) บูรณาการทีมพี่เลี้ยง จากทีมวิชาการภาค สสส.และทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ ในการพัฒนาและติดตามโครงการ

  2. แผนกองทุน ขยายเพิ่ม 270 กองทุน 1) พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง (เก่า+ใหม่) 2) ปรับปรุงเว็บไซต์กองทุน 3) พัฒนาโครงการ+แผน  ติดตามโครงการ 4) ระบบติดตาม โดยพี่เลี้ยงในพื้นที่ 5) ปฏิบัติการ พี่เลี้ยงในพื้นที่ ในการพัฒนา-ติดตาม 6) ถอดบทเรียนพื้นที่ดีๆ 7) บูรณาการทีมพี่เลี้ยง จากทีมวิชาการภาค สสส.และทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ ในการพัฒนาและติดตามโครงการ

  3. ขับเคลื่อนมติสมัชชา 1) สร้างเครือข่ายสมัชชา กขป. (อีสาน เหนือ ใต้ กลาง) 2) กรมอนามัย สสส. (เราไม่ทำ) 3) สถาปนิก 4) พม. -ครอบครัว 5) กระทรวงศึกษา –หลักสูตร 6) สถานประกอบการ 7) กองทุน 8) มาตรการทางภาษี 9) สื่อสารมวลชน หมายเหตุ: มติ 4, 5, 6, 9 จัดให้เขาคุยกัน

 

0 0

18. การประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล การวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ (สนง.สสส.กรุงเทพฯ)

วันที่ 7 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล การวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00-16.30 น. ณ เวลา 13.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุม 321 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนทั้งหมด.....15.....คน  ประกอบด้วย องค์กร สสส. , สปสช., สำนักงานระบบปฐมภูมิและครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข, สจรส.มอ.

เรื่องโปรแกรมพัฒนาและติดตามโครงการ 1. โปรแกรมฯ ปัจจุบันมี 4 โปรแกรม ชื่อโปรแกรม ชื่อเว็บไซต์ ผู้พัฒนาโปรแกรม รูปแบบการใช้งาน 1) โปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ http://obt.nhso.go.th/obt/home สปสช. ส่วนกลาง กองทุนฯ ใช้คีย์ข้อมูลชื่อโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมทำอะไรและการเงินโครงการ 2) โปรแกรมระบบรายงานการโอนเงิน (NHSO Budget ) http://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/ สปสช. ส่วนกลาง การเงินโครงการ 3) โปรแกรม LongTermCare http://ltc.nhso.go.th/ltc/#/login สปสช. ส่วนกลาง LongTermCare 4) โปรแกรม พัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ http://localfund.happynetwork.org/ สปสช.เขต 12 พัฒนาร่วมกับ สจรส.มอ. - กองทุนนำร่อง 270 กองทุน/12 เขตทั่วประเทศ (ดำเนินการด้วยโครงการของ สจรส.มอ.) ได้ใช้โปรแกรมในการพัฒนาโครงการและติดตามโครงการ - เฉพาะเขต 12 ที่มีการใช้โปรแกรมฯ เต็มระบบ คือ ใช้ในการพัฒนาโครงการ ติดตามโครงการ และการเบิกจ่ายการเงิน รายงานการเงิน

รายละเอียดโปรแกรม พัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตอนนี้โปรแกรมได้พัฒนาแผนงานกองทุน 5 แผน ได้แก่ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร และกิจกรรมทางกาย เป็นหลัก รวมทั้งมีแผนงานอื่นๆ  โปรแกรมได้ออกแบบมาให้ทุกภาคส่วน สามารถเขียนโครงการขอทุนสนับสนุนได้ /แต่การขอทุนสนับสนุนนั้นมีกิจกรรมบางอย่างที่ใช้เงินกองทุนไม่ได้ เช่น โครงการปลูกผักปลอดสารพิษ ขอสนับสนุนในเรื่องกระบวนการกับกองทุนฯ ได้ แต่ถ้าใช้สิ่งก่อสร้างทำแปลงปลูกผักจะใช้เงินกองทุนไม่ได้ ระบบจึงได้ออกแบบเปิดโปรแกรมที่สามารถใช้เงินท้องถิ่นที่สามารถของบด้านการก่อสร้าง

เรื่องการซิงค์ข้อมูลด้วยกัน ระหว่าง 1) เว็บพัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (http://localfund.happynetwork.org/) กับ 2) โปรแกรมส่วนกลาง ซึ่งทางส่วนกลาง สปสช.ตอนนี้ยังไม่มีนโยบายจะซิงค์ข้อมูลก่อน ถ้าจะซิงค์ข้อมูลเข้าส่วนกลางต้องประชุมกันอีกครั้งว่าจะเลือกซิงค์ข้อมูลใดได้บ้าง โปรแกรมเมอร์ต้องคุยในเชิงเทคนิค และส่วนกลางต้องประชุมในเชิงนโยบายอีกครั้ง

เรื่องวางแผนกระบวนการการทำงาน 1. โจทย์คือ การพัฒนาศักยภาพ รพสต.  การพัฒนาการรวมกลุ่มของ รพสต.ในพื้นที่ให้มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การทำงานจะอยู่ในรูปแบบการออกแบบโครงการ และจะมีกระบวนการอย่างไรให้ช่วยคิดออกแบบโครงการถึงระดับพื้นที่ รวมไปถึงการสร้างพื้นที่เรียนรู้ หรือเซตระบบศูนย์การเรียนรู้ 2. มองว่าโปรแกรมฯ เป็นเครื่องมือ ไปใช้แก้ปัญหาสุขภาพให้ดีขึ้น ซึ่งท้องถิ่นมีกลไกกองทุนตำบลอยู่ ให้ดึงเอา รพ.สต.มาช่วยทำแผนกองทุน จะทำให้มีคุณภาพดีขึ้น 3. กลไกการทำงาน ให้ใช้กลไกพี่เลี้ยง สปสช. พี่เลี้ยงสาธารสุข (พัฒนาพี่เลี้ยงจาก รพ.สต.) และทีมวิชาการ สสส. โดยรวมทีมกันทำงาน 4. การเลือกพื้นที่ค่อยๆ ชวนโดยความสมัครใจของพื้นที่ เป็นพื้นที่เข้มแข็งพอและเห็นโอกาสในการพัฒนา และประกอบกับให้กระทรวงออกนโยบายและเลือก พชอ.ต้นแบบ ควบคู่กัน / บางพื้นที่มีกลไกของ สช.ที่น่าสนใจ มี กขป.เขตสุขภาพ / มี สปสช.เขต ดังนั้นการทำงานจะเป็นความร่วมมือระหว่าง สสส. สปสช. สช. สธ. แต่การทำงานในพื้นที่จะใช้เงินของกองทุนตำบลฯ

สรุปประเด็นขับเคลื่อนงานต่อ 1. การเลือกพื้นที่เป้าหมาย ให้กระทรวงสาธารสุขเลือกพื้นที่ พชอ.ที่เข็มแข็ง ไม่บังคับ มีความพร้อมนำร่อง 2. จำนวนพื้นที่ 77 จังหวัด (เลือก พชอ. 77 อำเภอ (หรืออาจมากกว่า 1-2 อำเภอ) อำเภอละ 10 กองทุน รวมทั้งหมด 770 กองทุน) 3. กลไกการทำงาน ให้ใช้กลไกพี่เลี้ยง สปสช. พี่เลี้ยงสาธารสุข (พัฒนาพี่เลี้ยงจาก รพ.สต.) และทีมวิชาการ สสส. 4. การพัฒนา proposal โครงการที่จะขับเคลื่อน ให้ทาง สจรส.มอ. เขียนโครงการ วางแผน กระบวนการ (ร่างตุ๊กตาการทำงาน) 5. พื้นที่นำร่อง 77 พชอ. ให้ใช้โปรแกรมพัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (http://localfund.happynetwork.org/) ในการพัฒนาโครงการ และติดตามโครงการ ใช้กับพื้นที่นำร่อง 77 จังหวัด 77 พชอ. ก่อน ยังไม่ได้ใช้เชิงนโยบายทั้งประเทศ 6. นัดประชุมครั้งต่อไป วันที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 13.30-16.00 น. รายงานความก้าวหน้า proposal โครงการกองทุนตำบลฯ

สรุปประชุมการวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนทั้งหมด.....8....คน ประกอบด้วยองค์กร สสส. และ สจรส.มอ.

การขับเคลื่อนมติสมัชชา PA การขับเคลื่อนมติสมัชชา PA องค์กรที่ขับเคลื่อนร่วมกัน แนวทางการทำงาน มติ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง PA สร้างแนวทางวิธีการเพิ่ม PA และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ PA เครือข่ายสมัชชา กขป. (อีสาน เหนือ ใต้ กลาง) ดำเนินการสร้างความเข้าใจ PA ในงานสร้างสุขฯ แต่ละภาค มติ 2 Health literacy เรื่อง PA กรมอนามัย กรมอนามัยดำเนินการเอง มติ 3 - วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบออกแบบฯ ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย - การจัดให้มีและจัดการพื้นที่ในการครอบครองเอื้อต่อ PA เครือข่ายสถาปนิก - เครือข่ายสถาปนิก ขับเคลื่อนมติของสถาปนิก (SP) จะจัดทำคู่มือหลักเกณฑ์การออกแบบพื้นที่ฯ จะเสร็จประมาณปลาเดือน มกราคม ถึง กพ. 62 นี้ นัดคุยอีกครั้ง เพื่อเอาองค์ความรู้เครือข่ายสถาปนิก สสส.แลกเปลี่ยนเข้าไปในคู่มือด้วย - วางแผนการทำงานมติด้านสถาปนิกอีกครั้ง มติ 4 สร้างครอบครัว PA พัฒนามนุษย์และสังคม นัดวงคุย มติ 5 การพัฒนาหลักสูตร PA ฯ กระทรวงศึกษาธิการ นัดวงคุย มติ 6 พัฒนาสถานประกอบการมี PA ฯ กระทรวงแรงงาน นัดวงคุย มติ 7 กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผน โครงการ PA ฯ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สจรส.มอ.ดำเนินการอยู่ / รอดำเนินการพร้อมกันกับโครงการพัฒนาศักยภาพ รพสต. ในพื้นที่ พชอ. 77 จังหวัด (770 กองทุน) มติ 8 มาตรการทางภาษี สวรส. และสจรส.มอ. นำร่างโครงการมาตรการทางภาษีมานำเสนอกับ สน.5 สสส. อีกครั้ง มติ 9 สื่อสารเรื่อง PA สื่อสารมวลชน สสส.ดำเนินการอยู่

พัฒนาโครงการคลินิก สสส. 1) ได้โจทย์การพัฒนาศักยภาพทีมวิชาการ  โดยจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง Active play และทีมวิชาการ สสส. สามารถทำแผน โครงการของกองทุนตำบลฯ ได้ 2) เว็บไซต์ PA thailand สสส. (https://www.pathailand.com/) นำโครงการ Active play และ โครงการวิ่งฯ มาเรียนรู้ระบบพัฒนาโครงการ และการกรอกข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ในเรื่องการกรอกข้อมูลการติดตามประเมินผล ทางโปรแกรมจะออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของโครงการอีกครั้ง

 

0 0

19. ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA (สจรส.มอ.)

วันที่ 14 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนการประเมินโครงการเศรษฐศาสตร์ PA  และออกแบบการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ
รวมทั้งพูดคุยถึงการศึกษามาตราการทางการเงินและภาษีด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

0 0

20. ประชุมวางแผนเว็บ PAthailand

วันที่ 15 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนเว็บ PAthailand

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ออกแบบการใช้เว็บไซต์ PA ที่เหมาะสมกับภาคีเครือข่าย สสส.
ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการอำนวยประโยชน์สำหรับการพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการ

 

0 0

21. พัฒนาโครงการ PA ประเภทนวัตกรรมฯ PA สสส. (ม.จุฬาฯ กรุงเทพฯ)

วันที่ 22 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการเพื่อพัฒนาศักยภาพ โครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (เปิดรับทั่วไป) วันอังคารที่ 22 มกราคม 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ อาคารจุฬาพัฒน์ 7 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ม.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผอ.สน 5 สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ บรรยาย ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561-2573 และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัยเด็ก (active play) สรุปประเด็น 1. PA เจอปัญหาท้าทายเรื่องฝุ่นและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องใหม่ เนื่องจากปัญหานี้มีผลต่อการมี PA 2. PA เข้ามาในไทย 6-7 ปี ประเด็นในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ ดังนั้นการสื่อสารเรื่อง PA ควรสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น 3. เรื่องการออกกำลังกาย PA เป็นไดนามิก คนที่ออกกำลังกายไปสักระยะจะหยุดออกกำลังกาย แล้วหันมาออกใหม่ หรือหยุดออกไปเลยมันเป็นไดนามิกมาก 4. เรื่อง Policy PA ตอนนี้พร้อมแล้ว เช่น 1. แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2561-2573) 2. สมัชชาสุขภาพเรื่อง PA /เรื่องการพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา 3. นโยบายโลก The Bangkok Declaration โจทย์คือ จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไรบ้างต่อ
5. เรื่อง Active Play  ตอนนี้ 1. เรามีองค์ความรู้  2. ได้ทำความร่วมมือกับพัฒนาหลักสูตรกับ ศธ. 3. โมเดลต้นแบบองค์กรปกครองท้องถิ่น 4. งานวิ่งทั่วประเทศ สสส.มีประมาณ 200 งานต่อปี

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (active play) ในโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนฉลาดเล่นและอื่นๆ สถานการณ์ - การเรียนเฉพาะวิชาพลศึกษา ไม่เพียงพอต่อการมีกิจกรรมทางกายของเด็ก
- เด็กไทยยังมีอัตราเด็กจมน้ำตายอยู่
- เด็กมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง 13.08 ชั่วโมงต่อวัน  (ติดหน้าจอ 3.09 ชั่วโมง / วิ่งแค่ประมาณเล่น 0.42 ชั่วโมง) - เรื่องสภาพแวดล้อม (นโยบาย กิจกรรม สนามเด็กเล่น/กีฬา  ชุมชน ผู้ปกครอง) อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ว่าพฤติกรรมของเด็กยังไม่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องการเล่น กีฬาออกกำลังกาย และเนือยนิ่ง

แนวทาง
- ช่วงเวลามีผลต่อการจัดการ ให้หาโอกาสอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน จากที่ชั่วโมงพลศึกษาไม่เพียงพอ
- แนวคิด 4 P ได้แก่ 1. Active policy ทำความเข้าใจโรงเรียน, สมัครพร้อมใจโรงเรียน, โรงเรียนส่งเสริม PA 60 นาที/วัน 2. Active program วิเคราะห์ผู้บริหาร/ครู/ผู้เรียน 3. Active people การมีส่วนร่วม        4. Active place อปท., พื้นที่ต้นแบบ 5. Active classroom

ปัจจัยที่มีผลต่อ Active Play
1. หลักสูตร
- เกม นันทนาการ
- กิจกรรมในห้องเรียน
- การเดินระหว่างห้องเรียน
- เวลา - ครูออกกำลังกายเป็นตัวอย่างให้เด็ก - การสร้างความเช้าใจในกลุ่มครู - สร้างจุดเด่น/สร้างความแปลกใหม่

  1. สภาพแวดล้อม

- โรงอาหาร
- พื้นที่เล่น

  1. ระบบ/กลไก

- กฎระเบียบ

เว็บไซต์ PAthailand
วัตถุประสงค์เว็บ 1. พัฒนาโครงการ 2. มีโครงการดีๆ อยู่แล้ว ทำการติดตามรายงาน ติดตามประเมินผล

เน้นคุณภาพ 4 ด้าน 1. หลักการและเหตุผล - ระบุสถานการณ์ PA
- แก้อย่างไรที่เพียงพอต่างๆ เท่าไร 2. วัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด 3. วิธีการ/ดำเนินงาน 4. ติดตามประเมินผล

ประเด็นที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชน
- ชุมชนต้องวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาชุมชน PA - การวางเป้าหมายให้บรรลุเป้าหมาย
- บรรลุเป้าหมายทำอะไรอย่างไร
- การใช้เงิน

 

0 0

22. รายงานความก้าวหน้าโครงการกองทุนตำบลฯ พชอ.77จังหวัด (สนง.สสส.กรุงเทพฯ)

วันที่ 30 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมความร่วมมือแนวทางการทำงานกองทุนตำบล
ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 13.30 -16.30 น.
ณ ห้องประชุม 321 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. การเลือกพื้นที่เป้าหมาย ได้แนะนำรายชื่อ พชอ.ต้นแบบ จำนวน 60 พื้นที่ และ รพ.สต.จำนวน 52 พื้นที่ (รพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อปท.) เป็นพื้นที่นำร่อง
  2. แนวทางการดำเนินงานบูรณาการกลไก พชอ. กองทุนตำบล รพ.สต. ตำบลสุขภาวะ 1) มีแผนการจัดการระบบสุขภาพและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของชุมชน 2) มีโครงการที่มีคุณภาพดี และการดำเนินโครงการสามารถลดปัญหาสุขภาพได้ชัดเจน / กระบวนการทำอย่างไรให้โครงการมีคุณภาพ 3) มีระบบติดตามประเมินผลเพื่อการปรับปรุง ทบทวน การดำเนินงาน         4) กลไกพี่เลี้ยง (รพสต. + Coaching team สปสช. + สสส.) ให้กับกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบโครงการ/ กระบวนการควรจัดพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง สร้างพี่เลี้ยงในพื้นที่เป็นกลไกการสนับสนุน ซึ่งพี่เลี้ยงจะไปช่วยทำให้เกิดแผน โครงการ ระบบติดตามที่ดี         5) ระบบการจัดการข้อมูลผ่าน website Smartphone / ทั้งนี้พื้นที่ใดมีความพร้อมที่จะใช้โปรแกรมสามารถใช้ได้ระบบ website ในการจัดการข้อมูลได้เลย
  3. แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

- เรื่องประเด็นพัฒนาโครงการ เดิมที่เคยพัฒนาโครงการไว้มี 5 ประเด็น ได้แก่ กิจกรรมทางกาย อาหาร ปัจจัยเสี่ยง (เหล้า, บุหรี่, สารเสพติด) ทั้งนี้จะเพิ่มเติมประเด็นเด่นๆในพื้นที่เพิ่มเติมด้วย เช่น ผู้สูงอายุ, โรคติดเชื้อ, การจัดการขยะ. อาจจะมีแรงงานนอกระบบเข้ามาด้วย - พื้นที่ดำเนินการประมาณ 100 กว่าพื้นที่ คัดเลือกพื้นที่โดยการเจรจากับพื้นที่ด้วยความยินยอม ถ้าไม่สมัครใจก็สามารถเปลี่ยนพื้นที่ได้
- พัฒนาพี่เลี้ยง ใช้ตัวหลักสูตรเป็นหลักสูตรพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง ดึงส่วนกลางมาช่วยเสริม บวกกับกลไกของกระทรวงที่มีโครงสร้างปกติมาช่วยเสริมในการทำงาน
- คัดเลือกทีมงานแกนกลาง และทำ Mapping เชิงประเด็นว่าจะดำเนินการประเด็นอะไรบ้าง - ระบบข้อมูลจะเชื่อมโยงกับเว็บ สปสช.
- ประชุมครั้งต่อไป ให้มีคณะทำงานจากกระทรวงสาธารสุข สสส. และสปสช.เข้าร่วมประชุมเพื่อดำเนินการต่อ

 

0 0

23. ประชุมเตรียมประเด็นโครงร่างเศรษฐศาสตร์ PA

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเตรียมประเด็นโครงร่างเศรษฐศาสตร์ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แลกเปลี่ยน - มองคุณค่าที่เกิดขึ้นความสัมพันธ์ในชุมชน /ลงตามกระบวนการ - โจทย์คือ มองความคุ้มค่า/ ดูทั้ง output/outcome/impact

 

0 0

24. ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA ที่ สสส. กรุงเทพ

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือแลกเปลี่ยนแนวทางการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ของโครงการกิจกรรมทางกาย วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้อง 310 ณ สสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแลกเปลี่ยนแนวทางการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการกิจกรรมทางกาย ประเด็นแลกเปลี่ยน 1. PA เป็นปัจจัย 1 ใน 4 ของปัจจัยหลักในการลดโรค NCDs ไม่อยากให้มอง PA เฉพาะการลด NCDs
มองว่า PA เป็นปัจจัยหนึ่งที่ตอบ NCDs และ PA มีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกเยอะ เช่น การสร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น

  1. ตอนนี้โจทย์ PA มีดังนี้
    A: PA เพิ่มขึ้น สามารถศึกษาแนวทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร และสามารถนำไปลดภาษีได้อย่างไร
    B: ถ้าจะสนับสนุนให้ทุนเครือข่าย กลุ่มองค์กรต่างๆ การให้ทุนจะพิจารณาโครงการคุณภาพ การปรับคุณภาพโครงการ มีความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่

  2. ตัวชี้วัดแผนกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1) สุขภาพดี / PA เพิ่ม / โรคอ้วนลดลง 2) กลุ่มคนมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
    3) มีพื้นที่สร้างสรรค์ 4) นโยบายขับเคลื่อน

  3. สสส.เป็นงานสาธารณะสุขภาพ เช่น PA พื้นที่สุขภาวะลงงบไปปรับปรุง เป็นงานการประเมินความคุ้มค่าทางสังคม งานที่จับต้องวัดผลไม่ได้ เราพยายามวัดผลในเชิงมูลค่า เชิงคุณค่า ความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์

  4. อยากให้ทางอาจารย์ออกแบบโมเดลการประเมินความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์กลางๆ สังเคราะห์ออกมาแล้วตอบโจทย์เป้าหมายโลก เป้าหมายแผนชาติ แผนกิจกรรทางกาย สสส.
  5. การประเมินผล วิธีการจะพัฒนาข้อเสนอโครงการจะประเมินผลระดับโครงการ

นัดประชุมครั้งต่อไป ชื่อประชุม PA ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพ
วันพุธ 27 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 13:00 - 17:00 น. สถานที่ สสส. ห้อง 413

 

0 0

25. ประชุมทีม สธ. สปสช. สสส. คุย proposal โครงการบูรณาการกลไก 77 พชอ.

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหาแนวทางความร่วมมือระดับนโยบาย ระหว่างหน่วยงาน และแลกเปลี่ยนข้อเสนอโครงการบูรณาการ ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 ชั้น M โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้
1. แนวทางความร่วมมือระดับนโยบาย ระหว่างหน่วยงาน
2. แลกเปลี่ยนข้อเสนอโครงการบูรณาการ
สรุปประเด็น
สสส. สปสช. สธ. ร่วมมือกันทำโครงการนี้ 1. เพิ่มภาคประชาชนเข้ามาร่วมขอโครงการ มีบาง  รพสต. ที่ถ่ายโอนไปท้องถิ่นอยู่แล้ว เลือก รพสต.ที่มีคุณภาพ มีความพร้อมขึ้นมา/ Output outcome ที่จะส่งให้ภาคประชาชนคืออะไร  / บางส่วนใน พชอ.มี ngo เป็นส่วนประกอบ 2. ประเด็นการดำเนินงานตอนนี้มี 8 ประเด็น ชวนโฟกัส หารือ ประเด็น
1) ปัจจัยเสี่ยง  เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด
2) โรคเรื้อรัง  PA  อาหาร ฯลฯ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ทีมวิชาการ พัฒนาคู่มือ เครื่องมือ - การทำแผน - การพัฒนาโครงการ - การติดตามประเมินผล ตามประเด็นสุขภาพ
2. พัฒนาการเชื่อมต่อระบบข้อมูล – กระทรวง- สปสช.
3. การพัฒนากลไกพี่เลี้ยง
1) พี่เลี้ยงระดับเขต
2) พี่เลี้ยงระดับพื้นที่
4. การทำแผนสุขภาพกองทุน 5. การพัฒนาโครงการตามแผน
6. การติดตามประเมินผลหลังจากโครงการ โครงการที่มีคุณภาพ
- เราต้องการโมเดลให้ชุมชนมีการขยับกาย
- มีโครงการตัวอย่างที่ออกจากแผนจากโครงการเดิมๆ
- แผนสุขภาพ
- พื้นที่ส่วนใหญ่มองที่กิจกรรมมากกว่าผลลัพธ์ที่จะได้ (แก้ปัญหา NCD สุขภาพดี แข็งแรง) ทำอย่าไงให้พื้นที่เล็งเห็นประเด็นนี้ - พชอ. เชื่อมโยง กองทุนตำบล ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต แผนท้องถิ่น - ดึงภาคี ครู ข ของอสม.4.0 มีอำเภอละ 5 คน ทำงานคุณภาพชีวิต และขอรายชื่อคุณชัยณรงค์
- สรุปโครงการที่ดีไม่ใช่กิจกรรม Event PA เน้นโครงการตัวอย่างคุณภาพ ที่ตอบยุทธศาสตร์ได้จริง
- ลงรายละเอียดการพัฒนาโครงการ ทีมวิชาการช่วยทำข้อมูลงบที่จะใช้ - การสนับสนุนการติดตามที่หลากหลายรูปแบบ กระบวนการอื่นในการติดตาม นอกจากออนไลน์
- ปรับมามองที่ผลลัพธ์โครงการ outcome บันไดผลลัพธ์ พยายามมองผลลัพธ์มากขึ้น
- ปัญหา: มองกิจกรรมเป็นหลัก โจทย์: ในพื้นที่มองผลลัพธ์ในพื้นที่

 

0 0

26. ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA ที่ สสส. กรุงเทพ

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

สถานที่ สสส. ห้อง 413 กรุงเทพมหานคร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเสนอ: ECO
Physical activity and NCDs PA  > NCD
: PA เพิ่มขึ้นเพียงพอ เกิด NCD ลดลง
: สัดส่วนคนช่วย NCD น้อยลง เงินจะจ่ายน้อยลง

ประชากร 20-60 ปี
วิธี 1. Economic Evaluations 2. M... ดี > ป่วย > ตาย > ผ่าน 1 ปี
ในที่สุดจะประเมินได้ว่ามี Cost ประมาณเท่าไหร่  > 1. Direct medical costs 2. Direct
To be Cost-Effective
How could we measure PA ?
Other
โปรแกรม One / Who มี Introvention
1. การให้ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก
2. โมเดล การปรับพฤติกรรม 7-8 โรค แบบจำลองต่างๆ
การเพิ่มพื้นที่สุขภาพ
3. การให้ สร้างการปรับเปลียนพฤติกรรม พื้นที่ รพสต.

ปลายทาง
1. ตาย 2. เจ็บป่วย

One helth two ตอนนี้ งานที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์

SROI 2 กรณี
1. จอมบึงมาราทอน เงิน > 6 เท่า
2. แผน PA โยงเชื่อมกับประเด็นต่างๆ 1 บาท > 9 บาท
3. ไฮแทป กลุ่มเด็ก, ผู้ใหญ่ 20,000 ล้าน ดู long team outcome
4. ข้อมูล Base by good คิดเงินทองแล้วว่าอันไหนคุ้มค่าต่อการวิเคราะห์ > ไม่ได้โชว์การคิด

งานนี้จะสร้าง Value / Tax / มาตรการต่างๆ
• ข้อมูลที่ได้เข้าไปโมเดลเป็นโครงการ

สรุป
1. ศึกษาความคุ้มทุนอยู่ตรงไหน เชิงเศรษฐศาสตร์ มี โมเดล / อยู่ใน TOR พอแล้ว
2.  Intervention ที่ใส่ไป ผลของ Intervention ใน 1 ปี  เกิดอะไร / ว่าได้ประโยชน์กับแผนงานใหญ่ เก็บแบบปัจเจกเดิม
3. คุณภาพโครงการ ที่นำไปสู่การประเมินผล ทำเฉพาะโครงการที่พัฒนา
เช่น ที่อาจารย์ตอบตัวชี้วัดร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจ มีพฤติกรรม PA ***รูปแบบของเกณฑ์ดูตามยุทธศาสตร์ เกณฑ์ใช้อยู่ตามกรอบแผนอยู่ ปฏิบัติอยู่แล้ว ***กองทุนตำบล ประเมินเศรษฐศาสตร์เอาเฉพาะกองตำบลก่อน

 

0 0

27. ประชุมติดตามความก้าวหน้ามติสมัชชา PA

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”
เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมสานใจ ½ ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ผลการประชุมได้รับความร่วมมือจากองค์กรสำคัญของประเทศ ในการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมติ PA เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นแกนกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพ PA องค์กรที่สำคัญร่วมขับเคลื่อนประเด็นกิจกรรมทางกาย เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)สำนักคณะกรรมการสุภาพแห่งชาติ (สช.) กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย สมาพันธ์ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพ สมาคมวิชาชีพ/เครือข่ายผังเมืองฯ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น  นอกจากนี้ได้ขับเคลื่อนผ่านความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยในลักษณะเป็นกลุ่มมติที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

0 0

28. ประชุมคู่มือพัฒนาโครงการฯ / วางแผนเวทีมหกรรมสุขภาพ (สจรส.มอ.)

วันที่ 24 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ปรับปรุงคู่มือพัฒนาโครงการฯ / วางแผนเวทีมหกรรมสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คู่มือพัฒนาโครงการ ตัวตน/ปัจเจกบุคคล

- ความรู้/ความเข้าใจ - ตระหนัก - พฤติกรรม - กรรมพันธุ์ - ความเชื่อ/ความศรัทธา

  1. สภาพแวดล้อม

- สิ่งแวดล้อม (กายภาพ/ชีวภาพ/เคมี) - ดิน/น้ำ/ลม/ไฟ (อากาศ/น้ำ) - สังคม วัฒนธรรม : ประเพณี สภาพแวดล้อม - นโยบาย/การเมือง : รัฐ/ท้องถิ่น - เศรษฐกิจ - การศึกษา - ระบบการศึกษา

  1. ระบบและกลไก

- กลไก “กองทุน สปสช.” / ท้องถิ่น/รัฐ/เอกชน/สถาบันการศึกษา/กลไกพี่เลี้ยง - ระบบสนับสนุน ระบบการจัดการข้อมูล - กระบวนการเรียนรู้ / กระบวนการมีส่วนร่วม

  1. วางแผนเวทีมหกรรมสุขภาพ - ภาคเหนือ 2-3 พ.ย.2561

- ภาคอีสาน 28-29 พ.ย.2561

รูปแบบห้องวิชาการ 1.ทำความเช้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย 2.แลกเปลี่ยนเครือข่ายสุขภาพ 3.โจทย์ให้เขาคิดต่อ 4.สสส.ขอเคสตัวอย่าง

 

0 0

29. ประชุมวางแผน PA เตรียมงานมหกรรสุขภาพ (สจรส.มอ.)

วันที่ 24 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผน PA เตรียมงานมหกรรสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เตรียมมหกรรมสุขภาพ ภาคเหนือ จ.นครสวรรค์ วันที่ 2-3 พ.ย.61 เรื่องบูทออกแบบบูทแบบพับได้ และเตรียมกระบวนการห้องย่อย
  2. เว็บ PA เช็ค ลองกรอก / และ comment ที่ปรับแก้
  3. คู่มือพัฒนาโครงการ เช็ค ดูตัวอย่างเพิ่มเติม ให้น้องกิ๊ฟอ่าน
  4. นัดพี่โอ๋และพี่นิ

- คลินิกพัฒนาโครงการ - โปรแกรมกองทุน คุยกับ ผจก.และ สน.3 5. แผนนัดพี่เลี้ยงแต่ละภาค ตามคุณภาพงานเก่า และขยายพื้นที่กองทุนใหม่ 1. ใต้ล่าง: ปัจจัยเสี่ยงนัด 30 ต.ค.61 2. ใต้บน: นัดวันอีกที ให้ พี่เปิ้ล สปสช.ไปช่วย /ทีมพี่เผือก พี่ชยานิน 3. เหนือ: คุยแผนกับ อ.สุวิทย์วันที่ 2 พย.นี้ / อาจมีทีมพี่แดงมาช่วยเสริม 4. กลาง: วางแผนอีกที / พี่โต ดูเฉพาะนครสวรรค์ 5. อีสาน: วางแผนอีกที ปีนี้ทีมพี่ตุ๊กตากับพี่เต่า = ประมาณวันที่ 20 พย.61 6. นัด อ.ภารนี - สมัชชาปีนี้ อ.ภารนีจะมีเรื่อง พื้นที่สาธารณะเข้ามา - คุยกับพี่จันว่ามีประชุมกลุ่มเมื่อไหร่ / เราขอแทรกเข้าไปคุยด้วย

 

5 0

30. ประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

วันที่ 3 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ เป็นกลุ่มมติร่วมกันผ่านกลไกหลักที่เกี่ยวข้อง : กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในวันพุธที่ 3 กรกฏาคม 2562 เวลา 9.30-13.00 น. ณ ห้องประชุม สานใจ 2 ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธาณสุข
กระบวนการ - นำเสนอวิเคราะห์ความสอดคล้องเชื่อมโยงระหว่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและภารกิจตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- แลกเปลี่ยนแนวทางฯ และสรุป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เครือข่ายมติสมัชขาสุขภาพ ที่เข้าร่วมประชุม
- มติ 5.1 การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานใน ชีวิตประจำวัน - มติ 9.1 น้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน - มติ 9.2 การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชนและเมืองเพื่อสุขภาวะ - มติ 10.1 การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น - มติ 10.2 การพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัย ประถมศึกษา - มติ 11.1 การร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อสุขภาวะ สู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน

แนวทางเสนอต่อ อปท. 1. เสนอต่อปรับปรุงมาตราการ/ข้อบัญญัติฯ เช่น แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นต้น 2. เสนอต่อการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ เช่น การสร้างทางเดิน/ปั่นจักรยานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น จัดทำโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมและปลอดภัย / การเปิดให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ประโยชน์พื้นที่ในการครอบคลุมขององค์กร เป็นต้น

แนวทางการทำงานต่อไป 1. สร้างกลไกการทำงานรวมมติที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนมติโดยรวมกับองค์กร และตรงจุดการเชื่อมประสานกับ โครงการสร้างของ อปท. 2. การจัดทำชุดความรู้ที่จะเสนอต่อ อปท.
3. ขยายกระบวนการพูดคุยในครั้งนี้ สู่การรวมมติที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่นๆ ต่อไป เช่น มติรวมที่เสนอตอ สวรส. , มติรวมที่เสนอต่อกระทรวงสาธารสุข เป็นต้น

 

30 0

31. ประชุมพี่เลี้ยงกองทุน 12 เขต ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี

วันที่ 10 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมพี่เลี้ยงกองทุนพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน 12 เขต)
ณ โรงแรมริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเด็นการประชุม 1. ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และเป้าหมายการทำงานบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที 2. หารือบทบาทและวางแผนการทำงานของคณะทำงานวิชาการ 3. แนวทางการพัฒนาเครื่องมือ เพื่อการพัฒนาโครงการ และการติดตามผลโครงการ

สรุปผลดังนี้
โจทย์: กลไกพี่เลี้ยงวางแผนอย่างไร และจะมีแนวทางต่อไปนี้อย่างไร
1. ทำความเข้าใจกับ CEO ของ สปสช./สธ./สสส. 2. ทำความเข้าใจกับ พชอ.  >  ส่วนกลาง           > พื้นที่
3. พัฒนาศักยภาพการทำแผน > กรรมการกองทุน / ผู้รับผิดชอบกองทุน
4. พัฒนาโครงการ > ผู้รับผิดชอบกองทุน     ผู้เสนอโครงการ
5. ติดตามประเมินผล > โดยผู้รับผิดชอบกองทุน

กลุ่มเป้าหมาย
1. จังหวัดละ 1 พชอ. เกณฑ์การคัดเลือก
1) พชอ.เข้มแข็ง
2)  ท้องถิ่น/กองทุนเข้มแข็ง (กรรมการกองทุน / ผู้รับผิดชอบกองทุน) 3)  พี่เลี้ยงเข้มแข็ง : เครือข่ายปฐมภูมิ (Coaching team) 2. ตำบลที่ถ่ายโอนภารกิจ 51 แห่ง

เป้าหมาย : 76 พชอ. + 51 กองทุน
- มีแผน - มีโครงการ - มีการติดตามประเมินผล
แลกเปลี่ยนจากโจทย์ การวางแผนกลไกพี่เลี้ยงวางแผนอย่างไร และจะมีแนวทางต่อไปนี้อย่างไร

ภาคเหนือ เขต 1, 2, 3
กลไกระดับเขต
ประกอบด้วย สช. / สปสช. / กขป. / ภาคประชาชน
บทบาท 1. คัดเลือกพื้นที่ 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ/งบประมาณ 3. ประสานงานจังหวัด / อำเภอ
4. พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง จังหวัด/อำเภอ - การพัฒนาแผน/โครงการกองทุน - การจัดทำแผน/โครงการ/การติดตามประเมินผล โดยใช้โปรแกรมกองทุนฯ 5. การหนุนเสริม ติดตาม และเสริมศักยภาพ ทีมพี่เลี้ยงจังหวัด
6. การสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดับเขต
กลไกระดับจังหวัด/พชอ.
ประกอบด้วย สสจ./ สสอ./ รพช./ นักวิชาการ / coaching
กองทุนฯ / ภาคประชาสังคม ฯลฯ
เป็นไปตามบริบทของจังหวัด / อำเภอเป้าหมาย
- ให้บทบาทจังหวัดสามารถเคลื่อนงานได้ ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ - ดึงนักวิชาการมาเป็นวิทยากรสื่อสาร
- ใช้ IT บทบาทพี่เลี้ยงจังหวัด 1. คัดเลือกทีม/พื้นที่กองทุน
2. จัดทำแผนปฏิบัติการ / งบประมาณ 3. พัฒนาศักยภาพทีมกองทุนฯ   - ประธานกองทุนฯ   - กรรมการ / ผู้รับผิดชอบกองทุน / ผู้จัดทำข้อมูลกองทุน
  - รพสต.   - ภาคประชาสังคม
4. หนุนเสริม ติดตามและประเมินผลระดับกองทุนฯ การ Coaching ทีมกองทุนฯ -  การจัดทำแผนกองทุนฯ - การจัดทำโครงการกองทุน/การติดตาม ประเมินผล - การใช้เครื่องมือ online
ภาคกลาง เขต 4, 5, 6

โครงสร้างกลไกการทำงาน
1) ตั้งทีมระดับเขต: ตัวแทนแต่ละจังหวัด 16 คน จังหวัดละ 2 คน 2) ขับเคลื่อนระดับพื้นที่ : ตั้งคณะกรรมการจังหวัดอำเภอ
3) จุดเน้น พชอ.กำหนดไว้

ภาคอีสาน เขต 7, 8, 9, 10

กลไกพี่เลี้ยงภาคอีสาน
ระดับเขต
1. การกำกับงาน สสจ.รับรู้ เขตรับทราบ
2. มีหนังสือสั่งการ CSO รับเรื่องไปเสอต่อ
3. พชอ. + กองทุนตำบล ส่งตัวแทนมาเป็นพี่เลี้ยงร่วม การสร้างจุดเชื่อมโยงในการทำงาน (สสอ.)

พื้นที่เป็นตัวตั้ง เป็นคนในพื้นที่
- สปสช. - สาธารณสุข - ตัวแทน พชอ. - ฝ่ายสาธารณสุข (ผอ.กอง)+ ท้องถิ่น
ภารกิจ 3 ส่วน
1. พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงไปทำต่อ
2. พชอ. 3 กองทุน

แนวทาง 1. ผู้รับผิดชอบหลัก / ทีม
2. ช่องทางการเชื่อมประสานในพื้นที่
3. การบริหารงบประมาณโครงการ 4. ประสิทธิภาพของเครื่องมือในการพัฒนาแผนและโครงการ (เว็บไซต์/โปรแกรม) > ลดภาระงานประจำ
5. การออกแบบกระบวนการ การดำเนินงานร่วมกัน
6. การเตรียมข้อมูลสถานการณ์ปัญหา
7. Authority ของ พชอ. และ กองทุนในการดำเนินงานตามบทบาทของตัวเอง
8. เจ้าภาพ/ผู้รับผิดชอบโครงการตามประเด็นปัญหาตามแผนงาน รูปแบบ การ workshop หาพื้นที่ร่วม/แผนที่ดีโครงการที่ดี ระบบการติดตาม 9. นิยามการมีแผนที่ดี / โครงการที่ดี

ภาคใต้ เขต 11, 12

ทบทวนผลงาน 61
เขต 11 สฎ = นาสาร+ สวี + 6 อำเภอ + ตำบลจัดการตนเอง เขต 12 สงขลา = ละงู (หลากหลาย) > สตูล = ยะลา > หลากหลาย = สงขลา > จะนะ
= นราธิวาส > เมือง (หลากหลาย) = ปัตตานี

วิธีการทำงาน
1) พัฒนาศักยภาพ (ปรับ Mindset) - วิธีการทำงาน การใช้ระบบ online
- ความเข้าใจโครงการ
- การส่งเสริมสุขภาพ
2) ลงทำแผนกองทุนตำบล การทำงานให้พี่เลี้ยงนำร่อง รพสต. – สสอ.-ท้องถิ่น-ภาคประชาชน - online (Zoom)
- เวทีทำแผน (ใช้งบ 10(7) กองทุน) / 5 ประเด็น + ประเด็น พชอ.
3) ออกแบบ/ติดตามโครงการ การออกแบบโครงการ 2 ครั้ง / อนุมัติเงินให้กองทุนไปทำ 4) ติดตามประเมินผล (2 ครั้ง) สปสช.อนุมัติเงิน /โครงการทำกิจกรรม 6-8 เดือน
เสริมการฝึกการติดตามประเมินผล
- ฝึกการประเมินโครงการ - ผู้รับทุนเขียนอย่างไรให้เกิดคุณค่าโครงการ

 

0 0

32. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ณ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ 16 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00 – 15.30 น. ณ  ห้องประชุมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัตถุประสงค์ 1. สร้างความเข้าใจกับผู้รับทุนในเรื่องการรายงานผลการดำเนินงานและการจัดเก็บเอกสารทางการเงิน 2. ผู้รับทุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ และวางแผนการทำงานโครงการ 3. ผู้รับทุนสามารใช้ระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ได้
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2562 เวลา กิจกรรม 08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน 9.00 น. – 10.00 น. ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และแนะนำขั้นตอนหลังจากได้รับทุนการสนับสนุน /    การรายงานผลการดำเนินงาน และการเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนา  ดาราศักดิ์ และ อาจารย์อินทร์ตรอง  นิตยโรจน์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น 10.00 – 11.00 น. โรงเรียนผู้รับทุนแนะนำโครงการ และวางแผนปฏิทินการทำกิจกรรม ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการกิจกรรมทางกาย
11.00 – 12.00 น. แนะนำระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com)
โดย คุณสุทธิพงษ์  อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน สจรส.ม.อ. 12.00 น. - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และแนะนำขั้นตอนหลังจากได้รับทุนการสนับสนุน /  การรายงานผลการดำเนินงาน และการเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน
    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนา ดาราศักดิ์ และ อาจารย์อินทร์ตรอง นิตยโรจน์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • แนะนำโครงการกิจกรรมทางกายของโรงเรียน ควรประกอบด้วย กิจกรรม 5 กิจกรรมหลัก คือ
  1. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนโครงการ
  2. กิจกรรมทางกายในชั้นเรียน
  3. กิจกรรมทางกายนอกห้องเรียน
  4. สร้างสภาพแวดล้อมกิจกรร มทางกาย
  5. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย หลังโครงการ

รายละเอียด
1. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนโครงการ เป็นการประเมินเบื้องต้น 2. กิจกรรมทางกายในชั้นเรียน นำเรื่องกิจกรรมทางกายง่ายๆเข้าไปใส่ในกลุ่มสาระการเรียน / คุยกับ ผอ.โรงเรียนขอให้ใส่แผนเรื่องนี้/ ถ้าได้ครบทุกแผนในโรงเรียนจะมี 8 แผนการเรียนรู้ / ผลสุดท้ายให้แต่ละโรงเรียนนำมาแลกเปลี่ยนว่ามีกิจกรรมทางกายอย่างไรบ้างในกลุ่มสาระต่างๆ
3. กิจกรรมทางกายนอกห้องเรียน
เช่น เดินไปโรงเรียน/นักเรียนช่วยทำงานบ้าน/การจัดเกมส์ กีฬาไทย จัดกิจกรรม PA เช้า 10 นาที/ เที่ยง 20 นาที /เย็น 30 นาที
4. สร้างสภาพแวดล้อมกิจกรรมทางกาย เช่น การทำพื้นที่ตาราง 9 ช่อง/ทางเดิน/สร้างพื้นที่เล่นต่างๆในโรงเรียน / การทำแปลงเกษตร 5. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย หลังโครงการ / เมื่อจบกิจกรรมแล้วทางโรงเรียนจะทำการประเมินผลกิจกรรมทางกายหลังการดำเนินโครงการ
- ระยะเวลาการดำเนินโครงการ สิงหาคม 2562 – ตุลาคม 2562 เป็นระยะเวลา 2 เดือน

  • แนะนำระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com) โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน สจรส.ม.อ. โรงเรียนผู้รับทุนได้เรียนรู้ระบบการติดตามประเมินผลออนไลน์ โดยสามารถกรอกหน้ารายละเอียด การแบ่งงวดเงิน การวางแผนกิจกรรม การบันทึกกิจกรรมโดยการใส่ภาพประกอบและผลการดำเนินงานผ่านเว็บไซต์ได้

 

0 0

33. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ณ มหาลัยกีฬาแห่งชาติ จ.อ่างทอง

วันที่ 30 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2562 เวลา 10.00 – 16.30 น. ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง
(สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตอ่างทอง) อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

วัตถุประสงค์ 1. สร้างความเข้าใจกับผู้รับทุนในเรื่องการรายงานผลการดำเนินงานและการจัดเก็บเอกสารทางการเงิน 2. ผู้รับทุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ และวางแผนการทำงานโครงการ 3. ผู้รับทุนสามารใช้ระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ได้
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2562 เวลา กิจกรรม 09.30 น. – 10.00 น. ลงทะเบียน 10.00 น. – 11.00 น. - ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และแนะนำขั้นตอนหลังจากได้รับทุนการสนับสนุน/  การรายงานผลการดำเนินงาน และการเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน
- โรงเรียนผู้รับทุนแนะนำโครงการ และวางแผนปฏิทินการทำกิจกรรม ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการกิจกรรมทางกาย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ เกิดสวัสดิ์ และทีมงาน มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง

11.00 – 12.00 น. แนะนำระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com)
โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน ม.สงขลานครินทร์
12.00 น. - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.30 น. ปฏิบัติการคีย์รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com)
โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน ม.สงขลานครินทร์


:พักรับประทานอาหารว่างและยืดเหยียดร่างกายเวลา 10.00 น และ 15.00 น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ประธาน อ.สมยศ วนิชาชีวะ กล่าวต้อนรับ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ยินดีจะเป็นแกนนำในการทำเรื่องกิจกรรมทางกายในประเทศ เป็นตัวอย่างการทำงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  • เลขาภาค ผศ. ดร.วรวิทย์ เกิดสวัสดิ์ และทีมงาน มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง กล่าวต้อนรับ แนะนำโครงการที่ผ่านอนุมัติจำนวน 10 โครงการ / การให้เด็กนักศึกษาจะช่วยป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน ช่วยทางภาคกลางส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ทั้งนี้นักศึกษายังได้ใช้ความรู้ ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน นักศึกษาเป็นวิทยากรนำกิจกรรมกับชุมชน
  • วิทยากรพิเศษ อาจารย์ครรชิต มุละสิวะ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง แนะนำการฝึกการยึดเหยียด (Flexibility Training)
  • คูณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน แนะนำการบันทึกข้อมูลในระบบติดตามประเมินผล การกรอกหน้ารายละเอียดโครงการ การจำแนกงวดเงิน วัตถุประสงค์ตัวชี้วัดโครงการ และการออกแบบกิจกรรม กำหนดปฏิทินโครงการ
  • โครงการที่ผ่านการสนับสนุนโครงการจำนวน 10 โครงการ ได้แก่ ชัยนาท 2 โครงการ / พระครศรีอยุธยา 2 โครงการ / ลพบุรี 1 โครงการ / สิงห์บุรี 3 โครงการ / อ่างทอง 1 โครงการ และสระบุรี 1 โครงการ

 

30 0

34. ประชุมแกนนำพี่เลี้ยงกองทุนฯ 12 เขต ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน กรุงเทพ

วันที่ 31 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน พี่เลี้ยงกองทุน 12 เขต ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรีจังหวัดนนทบุรี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แบ่งกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม
กลุ่มย่อยที่ 1 ผู้ประสานงานเขต 12 เขต - ทบทวนการทำงาน - การพัฒนาศักยภาพและออกแบบแนวทางการดำเนินโครงการในพื้นที่ กิจกรรมทางกาย
- การสรุปพื้นที่ดำเนินการ และโครงสร้างการบริหารจัดการแต่ละเขต รวม 12 เขต โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

กลุ่มย่อยที่ 2 เจ้าหน้าที่ไอทีเขต 12 เขต - ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือ Zoom  และเครื่องมือ Online ในการพัฒนาโครงการ และการติดตามผลโครงการ โดย  คุณภาณุมาศ  นนทพันธ์  และคุณสุทธิพงษ์  อุสาหะพงษ์สิน

กลุ่มย่อยที่ 3 เจ้าหน้าที่การเงินเขต 12 เขต - การบริหารจัดการการเงินโครงการ โดยน.ส.สิริมนต์  ชีวะอิสระกุล และนายญัตติพงศ์  แก้วทอง
ผู้ประสานงานโครงการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

 

0 0

35. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก

วันที่ 2 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 09.00 – 15.30 น. ณ ห้องสัมมนา 2 คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร

เวลา กิจกรรม
08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 09.30 น. -ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และแนะนําขั้นตอนหลังจากได้รับทุนการสนับสนุน โดย ผศ.ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุลประธานโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม กิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) -ชี้แจงการรายงานผลการดําเนินงาน และการเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน
โดย ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ ประธานภาคเหนือโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม กิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ 09.30 – 10.30 น. โรงเรียนผู้รับทุนแนะนําโครงการ และวางแผนปฏิทินการทํากิจกรรม ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดําเนินโครงการกิจกรรมทางกาย
10.30 – 11.00 น. รับประทานอาหารว่าง 11.00 – 12.00 น. แนะนําระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการดวยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com) โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน สจรส.ม.อ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00– 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00– 14.30 น. ปฏิบัติการทดลองคีย์ข้อมูลรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบ
ออนไลน์ (www.pathailand.com) โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สินและทีมงาน สจรส.ม.อ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14.30– 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง 15.00– 16.30 น. ปฏิบัติการทดลองคีย์ข้อมูลรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการดวยระบบ
ออนไลน (www.pathailand.com) โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สินและทีมงาน สจรส.ม.อ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ต่อ) 16.30– 17.00 น. สรุปผลการอบรมและซักถาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และแนะนําขั้นตอนหลังจากได้รับทุนการสนับสนุน โดย ผศ.ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุลประธานโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม กิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้แนะนำที่มาของ สสส. ให้ความหมายของคำว่ากิจกรรมทางกายมากกว่าการออกกำลังกาย, การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนหลัง , การใช้ระบบติดตามที่เอื้อต่อการเก็บข้อมูล. แนะนำการทำกิจกรรมทางกายภายในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อบริบทของโรงเรียน เช่น การวิ่ง 400 เมตร ถ้าไม่มีสนามวิ่ง ก็สามารถวิ่งรอบสนามบาสหรือพื้นที่อื่นๆก็ได้, การฟิสอัปห้ามจับที่คอ เพราะเมื่ออายุากจะทำให้บริเวณคอได้รับอันตรายได้
    การปลุกฝังเยาวชนให้ถูกต้องในการมีกิจกรรมทางกาย, แนะนำการขยายกิจกรรมต่อไปยังโรงเรียนอื่นๆด้วย
    • ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ ประธานภาคเหนือโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม กิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ พูดถึงการสอนพลศึกษาในโรงเรียน / การปฎิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของโครงการ
  • โรงเรียนได้รับการสนุบสนุนจำนวนทั้งหมด 14 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนบ้านบางม่วง จ.ตาก, บ้านไม้งาม จ.ตาก, บ้านสันติธรรม จ.เพชรบูรณ์ , บ้านสุขสำราญ จ.พิจิตร , บ้านใหม่สุขเกษม จ.สุโขทัย, วัดดอกไม้ จ.อุตรดิตถ์, ไชยะวิทยา จ.สุโขทัย , บ้านใหม่ จ.แพร่, บ้านหนองกุลา จ.พิษณุโลก, บ้านใหม่คลองเจริญ จ.พิษณุโลก, บ้านร้องลึก จ.อุตรดิตถ์ , บ้านขุนน้ำคับ จ.พิษณุโลก, นิคมยบางระกำ 6 จ.พิษณุโลก, บ้านปางวุ้น จ.อุตรดิตถ์
  • โครงการที่ได้รับสนับสนุน สามารถแบ่งตามกิจกรรมสำคัญ เช่น การส่งเสริมพัฒนาการทางกายสำหรับเด็ก การเหยียบกะลาและหินมน ลีลาบาสโลบิก การใช้ท่ารำตบมะผาบและท่ารำฟ้อนดาบ, การพัฒนาด้านร่างกายของนักเรียน, ห่วงเชือกเพื่อสุขภาพ, ส่งเสริมกิจกรรมทางกายวัยเรียนวัยใสไร้พุง เป็นต้น
  • โรงเรียนแนะนำกิจกรรมเด่น
  1. โรงบ้านวังม่วง จ.ตาก จัดกิจกรรมหลัก สนามเด็กเล่น /แอโรบิกแด็นซ์/ กระโดดเชือก / ผอ.นำกิจกรรมเอง
  2. โรงเรียน BBL / แค่ขยับก็สะอาดกวาดใบไม้รอบโรงเรียน / แอโรบิกมวยไทย
  3. โรงเรียนปางวุ้น จ.อุตรดิตถ์ให้ความรู้เรื่องอาหารกิจกรรมทางกาย / แอโรบ็อกซิ่ง / ฐาน BBL / ทักษะกีฬาพื้นฐานของฟุตบอล
  4. โรงเรียนวัดดอกไม้ จ.อุตรดิตถ์ สนามเด็กเล่น เล่นตามฐาน
  5. ฟุตบอล วอลเลย์บอล แอโณบิก มวยไทย ขยายโอกาศตั้งแต่อนุบาล
  6. โรงเรียน นิคมบางระกำ ให้ความรู้เรื่อง PA / สวนเกษตรปลอดภัยไร้พุง แปลงเกษตรตั้งแต่ขึ้นแปลง ผลผลิตทำอาารกลางวัน / เล่นสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  7. บ้านใหม่คลองเจริญ กิจกรรมหนูน้อยส่งเสริมการเล่นกีฬา กิจกรรมช่วงกลางวัน ส่งเสริมให้เด็กเล่นกีฬาช่วงเย็น / นันทนากรและโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ การเต้นร้องให้แก่เด็ก
  8. อบรมห้ความรู้คณะครุ กรรมการสถานศึกษา นักเรียนแกนนำ การปฏิบัติสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่งเสริมสมาธิให้นักเรียน
  9. โรงเรียนบ้านไม้งาม จังหวัดตาก เหยีบกะลาด้วยหินมน ให้เด็กและชุมชนมีส่นร่วมในกะลา ครั้งแรกสังเกตเด็กจะเจ็บ 10 เคลื่อนไหวยามเช้าและเคลื่อนไหวยามเย็น เต้นตอนเช้า/เย็น การประกวดให้รางวัลเด็ก เน้นเต้นรำนวัตกรรมบาสโล
  10. การอบรมเชิงปฏิบัติการ 5 หมู่ เพิ่มความรู้ทักษาะการออกกำลังกาย / การเล่นฮูลาหุกให้กับเด็ก / ชาวเขาสนับสนับสนุนการเดินทางมาโรงเรียน / active 12 . จิงโจ้เลื่อนตัว เก้าอี้ แอโรบิกตาราง 9 ช่อง
  11. บ้านใหม่ การออกกำลังกายท่าฟ้อนรำ

- อ.สุชาติ แนะนำ การรายงานผลให้ระบุปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยที่ควรระวัง การทำกิจกรรม - คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน แนะนำระบบติดตามประเมินผลโครงการ

 

0 0

36. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ จ.นครศรีธรรมราช

วันที่ 7 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562 เวลา 09.00 – 15.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัตถุประสงค์ 1. สร้างความเข้าใจกับผู้รับทุนในเรื่องการรายงานผลการดำเนินงานและการจัดเก็บเอกสารทางการเงิน 2. ผู้รับทุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ และวางแผนการทำงานโครงการ 3. ผู้รับทุนสามารใช้ระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ได้
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562 เวลา กิจกรรม 08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน

9.00 น. – 10.00 น. ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และแนะนำขั้นตอนหลังจากได้รับทุนการสนับสนุน /  การรายงานผลการดำเนินงาน และการเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลียว จูพันธะ และนางสาวลดาวัลย์ ศรีวิสัย
  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

10.00 – 11.00 น. โรงเรียนผู้รับทุนแนะนำโครงการ และวางแผนปฏิทินการทำกิจกรรม ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการกิจกรรมทางกาย

11.00 – 12.00 น. แนะนำระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com)
โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน สจรส.ม.อ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

12.00 น. - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. – 15.30 น.ปฏิบัติการทดลองคีย์ข้อมูลรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com)
โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน สจรส.ม.อ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลียว จูพันธะ กล่าวเปิดต้อนรับโรงเรียนผู้รับทุนสนับสนุนกิจกรรมทางกาย แนะนำความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย แนะนำประโยชน์การมีกิจกรรมทางกาย
  • นางสาวลดาวัลย์ ศรีวิสัย แนะนำกระบวนการขั้นตอนการทำโครงการ ทั้งในเรื่องเอกสารการเงิน / หมวดการใช้เงิน งบประมาณ

  • มีโรงเรียนเข้าร่วมจำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่

  1. โรงเรียนบ้านแหลมยางนา อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร โครงการบ้านแหลมยางนาร้องเล่นเต้นรำ มีกิจกรรมการให้ความรู้กิจกรรมทางกายให้กับเด็กๆ โดยเชิญครูมาให้ความรู้ออกกำลังกายที่ถูกต้องถูกวิธี ปรึกษาหารือกันก่อน / การทดสอบสมรรถภาพ แจ้งรายละเอียดโครงการ งบประมาณ / เยาวชนเคลื่อน 1 ชั่วโมงต่อวัน (10 20 30) / กิจกรรมเข้าจังหวะตามเสียงเพลง เสียงเพลงแอโรบิค บาสโลบกลองยาวพาเพลินตีกลองยาวประกอบท่าทาง / วิ่งเปี้ยวมหาสนุก ได้ทั้งประเพณีท้องถิ่น วิ่งแบบ active leaning มีบัตรคำ วิ่งหยิบบัตรคำ /
    ผลที่เด็กได้รับ ต้องการให้เด็กลดละเลิกการติดจอโทรศัพท์ / มีทักษาะความรู้การออกกำลังกาย มีสุขภาพเด็กกายผลการเรียนดีขึ้น
    แนะนำเพิ่มกิจกรรมเข้ากับกลุ่มสาระวิชา เช่น หยิบบัตรคำ เล่นทายคำ คำที่อ่านผิดบ่อย  / ฝากคุณครูวัดผลการเรียนก่อนหลังด้วย

  2. โรงเรียนวัดวิหารเบิก อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โรงเรียนให้มีเรื่องกีฬาและออกกำลังกายเป็นหลัก กิจกรรมได้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านประสานชุมชน / ให้นักเรียนได้ออกกำลังกายในช่วงเช้าทุกวัน 7.30 น.วิ่งก่อน มีเปลี่ยนชุดที่โรงเรียน / แบ่งนักเรียนเป็นสีๆ มีผู้ปกครองแต่ละสีมาร่วมเล่นกีฬา / กิจกรรมการละเล่นทางกายตามความสนใจโดยมีมุมต่างๆ ในการเล่นออกกำลังกาย / อุปกรณ์เชือกกระโดดเป็นทีม / คุณครูสอนลีลาส ขยายผลต่อ / มีกิจกรรมโยคะ มาสอนให้นักเรียน มาสอนด้วยจิตอาสา โยคะเพื่อสุขภาพ / ออกแบบกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เกมบัตรคำ เล่นเกมวิ่งเก็บคำ สนามวิ่ง วิ่งเปี้ยวคำให้เด็กออกแบบเกมเอง / ลมเพลมพัดคำ ใช้ในภาษาอังกฤษ ไทย พลศึกษา คณิตศาสตร์ / แรลลี่ท่องเที่ยวชุมชน ปั่นจักรยานเป็นแหล่งท่องเที่ยว

  3. โรงเรียนบ้านหนองเจ็ดบาท อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง การให้เด็กปรับ 3 อ.และให้เด็กมีการเคลื่อนไหว / ขยับกายสไตล์ น.บ. เช่น การกระโดดยาง / การเรียนรู้ปรับทักษะพิสัย ให้เด็กมีความคิดว่าจะทำยางเป็นลักษณะไหน เพื่อให้เด็กรอยยางอย่างไร / การเคารพกฎระเบียบกติกาการกระโดดยาง / การกระโดดยางคู่ 4 จัตุรัส / ชุมชนให้ความร่วมมือดีมาก / เป็นการใช้ยางยืดประกอบการออกกำลังกาย พร้อมกับเต้นพร้อมเพลงประกอบด้วย / ชุมชนมาให้ความรู้เรื่องการกระโดดยาง เด็กจะมีส่วนร่วมในการคิด คิดการกระโดดยาง เด็กจะรู้กติกามากขึ้น / เด็กจะรู้จักแก้ปัญหา

  4. โรงเรียนบ้านควนอวดพัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นปีแรกที่ได้รับการสนับสนุน / ลดพุงลดโรค แก้ปัญหาสมาทโฟน 1. กิจกรรมประจำวันทุกวัน เช้ากายบริหาร 8.15-8.30 น. /เที่ยง อวดพันเล่นแบบวิถีไทย ให้ชุมชนมาถ่ายทอด เช่น วิ่งเปี้ยว /เย็นกิจกรรมเลือกเล่นตามถนัดเป็นชุมชนตระกร้อแบตมินตัน ให้เด็กเล่นเล่นตามกลุ่มวามชอบ / ที่ดำเนินการแล้วเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุลากรชาวบ้านจะเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย ทีมงานจะเข้ามาแอโรบิคในโรงเรียนด้วย 2. ป้ายนิเทศออกกำลังกายและอาหาร แนะนำสุขภาพดีด้วยสีสัน ชั่วโมงซ่อมเสริม 15.00-16.00 น.ใช้ในส่วนนนี้ทำกิจกรรมนี้ เช่น ทำน้ำสุขภาพ ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น / ท่าน ผอ.ให้ความสำคัญกิจกรรม / จะจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาขึ้นมาใช้ชื่อโครงการ เช่น เล่นแบบวิถีไทย แข่งขันเพื่อการวัดผลกิจกรรมการแข็งแรงหรือมีผลต่อนักเรียนอย่างไรบ้าง
    ผลลัพธ์ ให้เด็กมีสุขภาพที่ดี และแก้ปัญหาการใช้สมาทร์โฟน

  5. โรงเรียนบ้านน้ำตก อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ฮูล่าฮูบขยับวันละนิดที่มาของปัญหาจากโรคอ้วนลงพุง เห็นว่าเล่นฮูล่าฮูบสามารถลดพุง และเล่นประกอบกับเสียงเพลง / การดำเนินงานกับชี้แจงให้ครูรับทราบโครงการ / จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อชี้แจ้งเชิญชวนประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับนักเรียนผู้ปกครอง ทดสอบสมรรถภาพ ช่วงเวลาการทำกิจกรรมจะเชิญวิทยากรฝึกสอนจัดกิจกรรมวันอังคารและพฤหัสบดีสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ นักเรียนจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง พุงลดลง กลุ่มเป้าหมาย 100 คน
    แนะนำกิจกรรมเพิ่มเติม

  6. โรงเรียนเพาะปัญญาในพระอุปถัมภ์ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โยกย้ายส่ายกายาด้วยผ้าขาวม้าพาเพลิน บริเวณชุมชนได้ทำผ้าขาวม้า / เด็กค่อนข้างอ้วนเยอะ เลยจัดกิจกรรมนี้ขึ้น / ตอนเช้าก่อนเข้าห้องเต้นด้วยผ้าขาวม้าประกอบ 10 นาที / เที่ยงเสริมเต้นฮุลาฮูบ / เย็นคัดเลือกเด็กอ้วนมาเต้นฮุล่าฮุบอีกรอบ / ประกอบกับอาหาร ที่โรงเรียนมีปลูกผักสวนครัว เห็ด / เด็กได้ดูแลแปลงผักเอง / บางวันจะมีกิจกรรมตลาดนัดนักเรียน เด็กจะเอาผักมาขายที่โรงเรียนด้วย / เด็กสามารถทำกิจกรรมที่บ้านได้ด้วย / ตาราง 9 ช่อง โดยน้องพลศึกษาสอนสเตปเท้าพัฒนาสมองให้มีระบบสัมพันธ์กับระประสาท ครูสอนแนะขั้นตอนก่อน และนำเพลงมาประกอบเด็กจะสนุกมาก

  7. โรงเรียนชุมชนบ้านปากเสียว อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นปีแรกที่ได้ทำโครงการ
    ทำโครงการการละเล่นไทย กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน / ให้นักเรียนรู้จักการละเล่นไทย เช่น การเดินกะลา ธงโย่ง ใช้ไม้ไผ่สองอันยาว 2 อัน ม้าก้านกล้วย วงล้อ / ได้ประชุมชี้แจงให้คุณครูได้รับรู้จาก สสส. / นักเรียนเรียนรู้ทักษะ รู้การละเล่น / จัดหาอุปกรณ์ได้เรียนรู้เป็นกลุ่ม / สาธิตกิจกรรม / และสรุปผล ความคาดหวัง: นักเรียนจะได้สุขภาพและความรู้เกี่ยวกับการละเล่น จากที่เห็นในภาพอินเตอร์เน็ตตรงนี้ได้เรียนรู้ของจริง / ร่างกายได้บริหารการเดินวิ่ง เพิ่มความแข็งแรงของตัวนักเรียน
    แนะนำ สามารถทำเป็นสื่อให้เผยแพร่

  8. โรงเรียนไตรภูมิวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มเป้าหมายระดับประถม กิจกรรมที่ทำจะบูรณาการ/ วัตถุประสงค์การทำโครงการ เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ลดน้ำหนักโรคอ้วนลงพุงกลุ่มเป้าหมาย 752 คน ในการทำกิจกรรม การออกกำลังกาย / การทดสอบสมรรถภาพทางกาย / การออกกำลังกายบริหารด้วยมวยไทย ได้คัดเลือกตัวแทนนักเรียน 36 คนมาอบรมกายบริหารแบบมวยไทยและไปขยายผลต่อเป็นผู้นำการออกกำลังกายในตอนเช้า จันทร์ พุธ ศุกร์ / การเต้นไลน์แดนซ์ คัดเลือกตัวแทนนักเรียนครูไปขยายผลไปคัดเลือกต่ออบรมในห้องเรียนได้ฝึกเต้นไลน์แดนซ์ มีการประกวดว่าห้องไหนพร้อมที่สุด / เพิ่มกิจกรรมการอบรม 3 อ. การจัดทำตาราง 9 ช่อง / ตาราง 9 ช่องเมื่อนักเรียนมีเวลาว่างจะทำกิจกรรมได้

  9. โรงเรียนบ้านหนองปลา อำเภอสวี จังหวัดชุมพร การออกกำลังกายด้วยเสียงเพลง ได้ไปค้นกหาข้อมูลไปเจอการเต้นซุทบ้า และได้คิดกับคุณครูในโรงเรียน ได้ไปประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านเฟสบุ๊ค ไลน์ / ให้เด็กมาสมัคร และทดสอบสมรรถภาพทางกาย / กิจกรรมเหมาะสมกับเด็กเห็นจากงานวันเด็ก/ปีใหม่ / รับสมัครกับเด็กแกนนำ นำมาอบรมวิทยการให้ความรู้การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น แกนนำออกกำลังกายทุกวันจันทร์ถึงศุกร์
    จัดกลุ่มแกนนำเชิญชวนน้องเข้ามาในกลุ่มตัวเอง ออกแบบท่าเต้น จัดเป็นกลุ่มๆในกลุ่มของตนเองคละ ป. 1- ป. 6 ให้มีการซ้อม และจัดประกวดแช่งขันให้เด็ก และสานสัมพันธ์กีฬาพื้นบ้าน ทั้งคุณพ่อคุณแม่ และทดสอบสมรรถภาพ แนะนำให้นักเรียนเข้าร่วมโครงการ / ให้เด็กคิดเองและสอดคล้องกับสาระวิชา คิดวิธีการเล่น

แนะนำให้ทุกโรงเรียน ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มสาระวิชาด้วย  / สามารถใช้ออกกำลังกายได้ทุกคาบเรียน / ปรับกิขกรรมให้มี Active learning

  • คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน แนะนำการกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์ / แนะนำคู่มือการใช้เว็บไซต์ / แนะนำคุ่มือการจัดทำแผนและโครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายในวัยเด็ก / แหล่งคู่มือ ในเว็บไซต์ / การบันทึกข้อมูล การกรอกสถาน์การ การวางแผนปฏิทินกิจกรรม

 

0 0

37. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ สมุทรสาคร

วันที่ 11 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ณ มหาลัยการกีฬาแห่งชาติ จ.สมุทรสาคร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงาน 1. สร้างความเข้าใจกับผู้รับทุนในเรื่องการรายงานผลการดำเนินงานและการจัดเก็บเอกสารทางการเงิน 2. ผู้รับทุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ และวางแผนการทำงานโครงการ 3. ผู้รับทุนสามารถใช้ระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ได้

ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และแนะนำขั้นตอนหลังจากได้รับทุนการสนับสนุน/ การรายงานผลการดำเนินงาน และการเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน โดย ผศ.ดร.นพรัตน์ พบลาภ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ สมุทรสาคร (สถาบันพลศึกษาสมุทรสาคร) โรงเรียนผู้รับทุนแนะนำโครงการ และวางแผนปฏิทินการทำกิจกรรม ร่วมทั้งแลกเปลี่ยน ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการกิจกรรมทางกาย ปฏิบัติการทดลองคีย์ข้อมูลรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com) โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน สจรส.ม.อ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

0 0

38. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ กทม.กับภาคตะวันออก ณ ศูนย์กีฬาจุฬาฯ

วันที่ 14 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ กทม.กับภาคตะวันออก ณ  ห้องกิจกรรม  ชั้น 2  อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงาน 1. สร้างความเข้าใจกับผู้รับทุนในเรื่องการรายงานผลการดำเนินงานและการจัดเก็บเอกสารทางการเงิน 2. ผู้รับทุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ และวางแผนการทำงานโครงการ 3. ผู้รับทุนสามารถใช้ระบบรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ได้
- ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ และแนะนำขั้นตอนหลังจากได้รับทุนการสนับสนุน / การรายงานผลการดำเนินงาน และการเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน
โดย รองศาสตราจารย์ วิสนศักดิ์  อ่วมเพ็ง
ประธานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมฯ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โรงเรียนผู้รับทุนแนะนำโครงการ และวางแผนปฏิทินการทำกิจกรรม ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการกิจกรรมทางกาย
ปฏิบัติการทดลองคีย์ข้อมูลรายงานการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ (www.pathailand.com)
โดย คุณสุทธิพงษ์  อุสาหะพงษ์สิน และทีมงาน สจรส.ม.อ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

0 0

39. การประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการภาคเหนือ กลาง และอีสาน ณ เซ็นทราศูนย์ราชการ กรุงเทพ

วันที่ 17 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 17 ก.ย. 62 - 19 ก.ย. 2562 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
ณ โรงแรมเซนทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 17 กันยายน 2562 - สรุปการประชุมที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานโครงการการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ - แนวทางการจัดทำแผน โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ - ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนในระบบออนไลน์ โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร ดร.เพ็ญ สุขมาก และ ดร.ซอฟียะห์ นิมะ อาจารย์สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

วันที่ 18 กันยายน 2562 - แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ - การพัฒนาศักยภาพและออกแบบแนวทางการดำเนินโครงการในพื้นที่ประเด็นกิจกรรมทางกาย และฝึกปฏิบัติการในระบบออนไลน์
โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร อาจารย์สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

วันที่ 19 กันยายน 2562 พี่เลี้ยงนำเสนอแผนและโครงการที่ฝึกปฏิบัติการคีย์ข้อมูลในระบบออนไลน์ และให้ข้อเสนอแนะแนวทางปฏิบัติงานครั้งต่อไป
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ ภารกิจ
1. ทำแผนกองทุนแต่ละด้าน 2. พัฒนาโครงการเพื่อการสนับสนุน จากกรรมการตำบล . ผู้รับผิดชอบ > กรรมการ

เรื่องกิจกรรมทางกาย
อ.กุลทัต : พูดถึงความหมาย กิจกรรมทางกาย : แนะนำกิจกรรมทางกายของโรงเรียน เช่น ที่โรงเรียน
- การเดินทาง - นันทนาการ และการออกกำลังกาย

กิจกรรมที่เพียงพอ
1. ความหนักเบา
2. ระยะเวลา
ออกแรงมาก 75 นาที /
ความเข้าใจผิด เรื่องกิจกรรมทางกาย
สิ่งที่ต้องเติมในวัยเด็ก/ ผู้สูงอายุ ระวังเรื่องของการทรงตัว ไทเกก การย่อ ป้องกันการกล้มลงไปที่แผนโครงการ :
อ.พงค์เทพแนะนำเว็บกองทุนตำบล แนะนำสรุปสถานการ์ตามแผน - แนะนำแผนอาหาร กิจกรรมทางกาย
สถานการณ์ ร้อยละ 20 > 80 คน
กลุ่มเป้าหมายเด็กวัยเรียน

อ.พงค์เทพ แนะนำแผน
การทำแผน > พัฒนาโครงการ
หน้าพัฒนาโครงการ
1. ใส่ชื่อโครงการ องค์กร กลุ่มคน สถานที่ ความสอดคล้องของแผน > คลิกตรงไหนขึ้นสถานการณ์นั้นทันที เช่น คลิก PA ก็จะขึ้นสถานการณ์ PA ถ้าไม่คลิกเลยต้องกรอกเอง สถานการณ์ ขนาดจะไม่เหมือนกัน / แผนทั้งตำบล กับ ขนาดของโครงการไม่เหมือนกัน ขนาดคนละพื้นที่กัน ตัววัตถุประสงค์ก็จะล้อมาจากสถานการณ์
การทำแผนโครงการ
Outsoure + SDH : ถ้าโครงการจะบรรลุสำเร็จ “สร้างเสริมสุขภาวะ” คน > เก่งขึ้น>>>>>>>>>>>>>>> รู้ สภาพแวดล้อม > เอื้อต่อการแก้ปัญหา >>>>> กติกา
กลไก/ระบบ > คน/กลุ่ม เกาะติด >>>>>> คนคุมกฎ

ยกตัวอย่าง บ้านเหล่า ปั่นจักรยานทุกวันพระ เริ่มจากเจ้าอาวาสมาเทศน์ออกกำลังกายปิ่นโต ปั่นจักรยานเพื่อเพิ่ม PA / เอาปิ่นโตมา / กลุ่มเครือข่าย
ทำ 3 เรื่อง คน สภาพแวดล้อมกลไก
ถ้าทำแผน > 1. อยู่ไหน 2. จะไปไหน 3. ไปอย่างไร ไปถึงแล้วยัง ทำโครงการ > คน สภาพแวดล้อม กลไก
หลักคิด 1. ภาพใหญ่มอง 3 กรอบ
กรอบ 1 ทำให้คนในกระบวนการกองทุนคิดได้ทำเป็น
กระบวนการทำแผนเติมให้กองทุน / กรอบแรกเน้นกระบวนการตั้งแต่เลือกประเด็นตัวโจทย์ กระบวนการทำแผนนี้ให้ชัด
เช่น วิธีการเลือกประเด็นทั้งนโยบาย พชอ.จังหวัดกระทรวง ภาพอนาคตต่างๆ
ภาพรวมให้กระบวนการสำคัญในการทำแผน / คิดอะไรไม่ออกเปิดโปรแกรม
เติมกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ให้ประชาชนมีส่วนร่วม กรอบที่ 2 พัฒนาแผนและดึงมาคีย์ข้อมูลมีการประชุม

 

0 0

40. การประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการภาคใต้ ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

วันที่ 20 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 20 ก.ย. 2562 - 22 ก.ย. 2562 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ สจรส.ม.อ.ชั้น 14 ตึก LRC มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ อ.หาดใหญ๋ จ.สงขลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 20 กันยายน 2562 - สรุปการประชุมที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานโครงการการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ - แนวทางการจัดทำแผน
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ - ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนในระบบออนไลน์ โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร ดร.เพ็ญ สุขมาก อาจารย์สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

วันที่ 21 กันยายน 2562 - แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ - การพัฒนาศักยภาพและออกแบบแนวทางการดำเนินโครงการในพื้นที่ประเด็นกิจกรรมทางกาย และฝึกปฏิบัติการในระบบออนไลน์
โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร อาจารย์สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

วันที่ 22 กันยายน 2562 พี่เลี้ยงนำเสนอแผนและโครงการที่ฝึกปฏิบัติการคีย์ข้อมูลในระบบออนไลน์ และให้ข้อเสนอแนะแนวทางปฏิบัติงานครั้งต่อไป
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

 

0 0

41. ประชุมเตรียมประเด็นการนำเสนอ PA ในงานความก้าวหน้ามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12

วันที่ 23 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมการนำเสนอรูปธรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่ระบุให้รายงาน ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12
วันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา 09.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุมสานใจ ½ ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • การเตรียมประเด็นที่นำเสนอ ควรมีรายละเอียด ได้แก่ 1. สถานการณ์ปัญหาดำเนินงาน
  1. ความท้าทาย และ3. ภาระหน้าที่ / แนวโน้มจัดการปัญหาต่อไป

- การนำเสนอจะนำเสนอในรูปแบบวีดีทัศน์ และนำเสนอโดยบุคคลบนเวที
- ประเด็น PA ได้นำเสนอในประเด็นการใช้เว็บไซต์กองทุนตำบลฯ และการบูรณาการกลไก 76 จังหวัด โดยความร่วมมือของ สสส. สธ. สปสช. สจรส.ม.อ. และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2561 – 2573) ของกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ

 

0 0

42. ประชุมปฐมนิเทศ พี่เลี้ยงวางแผนกับพื้นที่ทำงาน

วันที่ 25 ตุลาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปฐมนิเทศ พี่เลี้ยงวางแผนกับพื้นที่ทำงาน วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562 เวลา 11.00 – 16.00 น. ณ โรงแรมริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์สุขภาพที่สำคัญของชุมชน ที่ใช้เป็นตัวตั้งต้นของการทาแผน และโครงการของกองทุน จากข้อมูลสาเหตุการตายและข้อมูลการสูญเสียปีสุขภาวะ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ของชุมชนมีสาเหตุหลักต่อไปนี้
1.ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ทาให้เกิดโรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือด สุขภาพจิต ปัญหาทางสังคม ครอบครัว อาชญากรรม อุบัติเหตุ ซึ่งได้แก่
1) เหล้า
2) บุหรี่
3) สารเสพติด
2. โรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดัน หลอดเลือด มะเร็ง ทุพโภชนาการ ความเฉลียวฉลาด ซึ่งเกิดจาก
4) ระบบอาหาร : การมีและเข้าถึงอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการ
5) การมีกิจกรรมทางกาย : การทางาน การสัญจร นันทนาการ กีฬา

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ทีมวิชาการ พัฒนาคู่มือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการทำแผน การพัฒนาโครงการ การติดตามประเมินผล ตามแต่ละประเด็นสุขภาพ
2. การประชุมร่วมกับแต่ละ พชอ. เพื่อบูรณาการทางานร่วมกัน
3. การพัฒนากลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ เพื่อไปพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบกองทุน กรรมการกองทุน ผู้เสนอ/รับทุนโครงการ
4. การพัฒนาแผนสุขภาพแต่ละประเด็นสุขภาพในแต่ละกองทุน โดยการช่วยเหลือของพี่เลี้ยง
5. การพัฒนาโครงการตามแผน โดยการช่วยเหลือของพี่เลี้ยง
6. การติดตาม ประเมินผล หลังโครงการได้รับการสนับสนุน เพื่อการทำรายงานผลโครงการ รายงานการเงิน การสังเคราะห์ผล

ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1. จากกระบวนการทำแผน จะได้รับรู้ข้อมูลสถานการณ์แต่ละปัญหาสุขภาพ และ เป้าหมายของการแก้ปัญหา ทั้งระดับชาติ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล 2.เกิดแผนสุขภาพในภาพรวมของอำเภอ โดยเป็นแผนที่จำแนกตามประเด็นปัญหา ที่เกิดจากแผนของกองทุนต่างๆ ในอำเภอ
3.โครงการที่กองทุนสนับสนุนมีคุณภาพมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
4.สามารถสังเคราะห์ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากแผนและการดำเนินโครงการ
5.สามารถติดตามการดำเนินโครงการอย่าง Real time
6.สามารถทำรายงานผลการดำเนินงานและ รายงานการเงินได้แบบ Real time
7.มีระบบคลังข้อมูล ที่สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว

 

0 0

43. ประชุมเชิงปฏิบัติการคลินิคพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย

วันที่ 7 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการคลินิกพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประชุมเชิงปฏิบัติการคลินิกพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2562 เวลา 08.30 – 18.00 น. ณ ห้องประชุมอโนดาต โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร

สรุปกระบวนการประชุมที่ผ่านมา

1) การเตรียมข้อมูลไปประชุมกับพื้นที่ที่ดำเนินการ ไปคุยเรื่องการทำแผน และพัฒนา

2) การประสานงานทำความเข้าใจกับผู้บริหาร และพื้นที่ดำเนินการ - ทางทีมได้ประสานไปคุยกับ สปสช. เขต และ พชอ.ในพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องโครงการฯ กับพื้นที่
- ได้พูดคุยทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยประเด็นการพุดคุย ได้แก่ การจัดการ เวทีชี้แจ้งกับกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือออนไลน์กับผู้ปฏิบัติงาน

3) การประชุมกับทีมพี่เลี้ยงของเขต - การประชุมคณะทำงานทีมพี่เลี้ยง จะชวน สปสช. สสอ. วางแผนงานร่วมกัน - ระบบติดตามของพี่เลี้ยง 1 คน จะดูแล 1 จังหวัด ทางกองทุนจะปรึกษา / พี่เลี้ยงดูแลรับผิดชอบกองทุน /ทางกองทุนจะมอบหมายให้พี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา - เรื่องบริหารจัดการมอบหมายให้พี่เลี้ยงไปจัดการ / เป้าหมายทำให้กองทุนสามารถเขียนแผนและโครงการ - มีการเน้นพัฒนาทีมตัวเอง มีศักยภาพติดตามประเมินผลอย่างไร

4) การเตรียมพื้นที่ - เรื่องข้อมูลสำคัญที่สุดคือข้อมูลในพื้นที ต้องประสานแหล่งข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ ในส่วนข้อมูล พชอ.ในพื้นที่
การคืนข้อมูลในพื้นที่สำคัญมาก เช่น ผู้สูงอายุ มีสถานการณ์อย่างไร ต้องนำมาสะท้อนเวที ร่วมวางแผนงาน แก้ปัญหาในพื้นที่

5) การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน
- เวทีระดับพื้นที่ กองทุนเป้าหมาย มาพูดคุยเข้าใจการทำแผน / พี่เลี้ยงเขตไปกระตุ้น เวทีพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ บวกคนทำงาน จัดเวทีพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่คนติดตามแต่ละกองทุนเป้าหมาย
- การกำกับทิศทางประเมินผลแก้ปัญหา และสรุปถอดบทเรียน

7) เทคนิคจัดกระบวนการ
- การคีย์ข้อมูลในโปรแกรมต้องเขียนในกระดาษก่อน และเรียนรู้การคีย์ข้อมูล ในโปรแกรมให้เข้าใจ ถึงแนววางการคีย์ข้อมูล (เขียนในกระดาษก่อน แล้วคีย์ข้อมูลในโปรแกรม)
- การใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือให้กองทุนทำความเข้าใจ กองทุนมีโปรแกรมสำเร็จรูปในกรณีที่ไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไร ในเว็บไซต์ได้กำหนดตัวชี้วัดที่บรรจุไว้แล้ว มีตัวชี้วัดแนวทาง แต่ก็สามารถเติมนอกเหนือจากนี้ได้ แบบฟอร์มที่เขียน สามารถปริ้นเอกสารส่งขอทุนในกองทุนต่อไปได้

8 ) การลงพื้นที่ติดตามเสริมพลัง - การติดตามเสริมพลัง พื้นที่หลักได้ดำเนินการ ทำแผนและโครงการแล้ว หลังจากนั้นทีมงานจะลงเยี่ยมติดตามแบบเสริมพลัง ดูว่ามีปัญหาการลงข้อมูลโปรแกรมอย่างไร ความคืบหน้า แผน โครงการ นำไปเสนอกับกองทุนมีจำนวนเท่าไร มีเสียงสะท้อนจากกองทุนตำบลอย่างไรบ้าง

9) หารือการรายงานความก้าวหน้าของงาน ลักษณะการกำกับติดตามกำกับทิศ ติดตามแผนและโครงการ กองทุน มีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง มีเรื่องนวัตกรรมในเชิงพัฒนา มีปัญหาอะไรบ้าง และแก้ไขอย่างไรบ้าง

 

0 0

44. ประชุมสรุปรายงานความก้าวหน้ามติ PA ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

วันที่ 18 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมสรุปรายงานความก้าวหน้ามติ PA ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางคณะทำงาน ได้แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าของ มติ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 พ.ศ.2562 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ รายละเอียดความก้าวหน้ามติฯ แนบตามไฟล์เอกสาร

 

0 0

45. ประชุมพัฒนาโครงการ จัดทำแผนกองทุนตำบล จ.สระแก้ว

วันที่ 8 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ฝึกปฏิบัติการใช้เว็บไซต์ในการ ทำแผนกองทุน ประเด็นกิจกรรมทางกาย พัฒนาโครงการ และติดตามโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุม 8 มกราคม 63
ผู้เข้าร่วมประชุม 40 คน เป็นพี่เลี้ยงระดับพื้นที่
กระบวนการ
1. ฝึกปฏิบัติการใช้เว็บไซต์ในการ ทำแผนกองทุน ประเด็นกิจกรรมทางกาย พัฒนาโครงการ และติดตามโครงการ
2. แนะนำระบบ ZOOM 3. ถอดบทเรียนสัมภาษณ์พี่เลี้ยง และพื้นที่ตัวอย่าง อ.พนมสารคราม จ.ฉะเชิงเทรา
4. แนะนำกิจกรรมทางกาย ผ่านสื่อวีดีโอ และแนะนำกรอบแนวคิดการพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกาย

การพัฒนาศักยภาพในการ Coaching
+ เขต 6 อยากเอาทั้ง 8 จังหวัดมาร่วมกันมีกิจกรรมทางกาย โปรเจ๊กนี้จะสอดคล้องกับที่เราทำ

Coaching
1. กองทุนมีทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำได้ 2. พี่เลี้ยงอยู่กับบริบทในพื้นที่เป็นหลัก เพราะคนในพื้นที่รู้ปัญหาในพื้นที่
3. การติดตามประเมินผลจากโปรแกรม

การกำหนดพื้นที่นำร่อง 3 พื้นที่นี้จะเป็นพื้นที่นำร่องกองทุนขนาดใหญ่ ได้แก สมุทรปราการ ชลบุรี สระแก้ว

การสรุป 1. ทีมงานสุดท้ายมาเจอด้วยกันสรุปถอดบทเรียน
2. ใช้จากการประชุมคณะกรรมการกองทุน

การดำเนินงาน
1. ใช้คู่มือการดำเนินงานระบบสร้างเสริมสุขภาพ บอกที่มาที่ไป หน้าที่บาทบาทการตั้งอนุกรรมการทั้งหมด
มี เรื่อง 1. กองทุนตำบลฯ 2. มีตัวอย่างโครงการ หลักเกณฑ์สนับสนุน / การเก็บรักษาเงิน / การจัดทำบัญชี

ช่วงบ่าย แบ่งกลุ่มเรียนรู้การใช้เว็บไซต์ในการทำแผนกิจกรรมทางกาย พัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการบันทึกข้อมูลในพื้นที่

 

0 0

46. ประชุมทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ จ.มุกดาหาร

วันที่ 17 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมจัดทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ณ สาธารณสุขอำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมวันที่ 17 มกราคม 2563 ณ สาธารณสุขอำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร ผู้เข้าร่วมได้ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมจัดทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการ แนะนำการทำแผนกองทุน 1) รู้ข้อมูลของเรื่องนั้นๆก่อน เป็นข้อมูลสถานการณ์นั้น 2) ขั้นตอนกำหนดเป้าหมาย 1 ปี คือ ใน 1 ปีจะคาดการณ์จะเพิ่มหรือลดสถานการณ์เป้าหมายนั้นได้อย่างไร 3) โครงการที่ควรดำเนินการ 4) พัฒนาโครงการ โดยให้บรรลุผลลัพธ์ ผลผลิตของโครงการ
ได้ยกตัวอย่าง กิจกรรมทางกาย เรื่องป้องกันเด็กจมน้ำ กระบวนการเป็นการฝึกอบรมปฏิบัติการให้ครูฝึกช่วยสอนการป้องกันเด็กจมน้ำ เป็นต้น ผลที่ตั้งเป้าไว้ คือ 1) พื้นที่มีโครงการดีๆ เป็นตัวอย่าง 2) ให้คนในชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนกองทุนตำบล เช่น รพสต. โรงเรียน ชุมชนได้ลุกขึ้นมาจัดการสุขภาพตนเองมีสุขภาวะที่ดีต่อไป

 

0 0

47. ประชุมหารือเตรียมworkshopงานพื้นที่สุขภาวะ และหารือเรื่องตัวชี้วัดแผน PA

วันที่ 21 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมหารือเตรียม workshop งานพื้นที่สุขภาวะ และหารือเรื่องตัวชี้วัด ณ รร.เอทัส ลุมพินิ ชั้น 26 ห้อง one80

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเด็นประชุม ดังนี้ 1. เตรียมเวที workshop งานพื้นที่สุขภาวะที่จะจัดขึ้นวันที่ 6-7 ก.พ. พ.ศ.2563
- ตาราง ผลงานทีผ่านมาของพื้นที่สุขภาวะ และผลงานตัวชี้วัดของแผน Pa 2. เตรียมสถานการณ์ของแผนเพื่อจัดทำแผนปี 2564 และตัวชี้วัดของแผน pa - เตรียม time line แผน pa ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อถอดบทเรียน
- ชุดความรู้/นวัตกรรม
- ศักยภาพ / เครือข่าย
- จุดเด่นของพื้นที่ต้นแบบ
- การยกระดับ ผลเชิงพื้นที่/นโยบาย
2) การวางแผนปี 2564
- การผลักดันขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด สสส. - การผลักดันขับเคลื่อนไปสู่ภาพอนาคตของพื้นที่สุขภาวะของประชาชนไทย

 

0 0

48. ประชุมทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ จ.ระยอง

วันที่ 22 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ จ.ระยอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประชุมวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 9.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง การประชุมพัฒนาทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ ให้สามารถทำแผน โครงการและใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการพร้อมปฏิบัติงานในพื้นที่ จ.ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ตราด พนมสารคาม และฉะเชิงเทรา
ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติบันทึกโปรแกรมการประชุมออนไลน์และการฝึกปฏิบัติปฏิบัติการจัดทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ
ผลที่ได้ คือ 1. เกิดกระบวนการทำแผนที่มีข้อมูลสถานการณ์ การตั้งเป้าหมาย 2. เกิดแผนสุขภาพที่เกิดจากกองทุนต่างๆในตำบล 3. โครงการกองทุนมีคุณภาพมากขึ้น เกิดรูปธรรมในการแก้ปัญหาสุขภาพได้ 4. เกิดคุณค่าโครงการ การสังเคราะห์ที่เกิดจากแผน 5. สามารถติดตามประเมินผลโครงการได้ Real time 6. มีระบบรายงานออนไลน์

 

0 0

49. การประชุมความก้าวหน้าประเมินความคุ้มทุนเศรษฐศาสตร์ PA

วันที่ 29 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 29 มกราคม 2563 ณ สจรส.ม.อ.ชั้น 10 ได้จัดประชุมรายงานความก้าวหน้าการประเมินความคุ้มทุนเศรษฐศาสตร์ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประเมินเกณฑ์โครงการกิจกรรมทางกาย โดยใช้ ชุดความรู้ ศักยภาพคน ศักยภาพเครือข่าย พื้นที่ต้นแบบ Model กระบวนการนโยบาย และข้อตกลงร่วมกัน > การประเมินจะวัดในเรื่อง ความรู้ ทักษะ เครือข่าย โมเดลต้นแบบ และกระบวนการนโยบาย

 

0 0

50. การอบรมเสริมทักษะการบริหารจัดการ แผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุ ปี 2563

วันที่ 30 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมเสริมทักษะการบริหารจัดการ แผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุ  ปี 2563  วันที่ 30-31 ม.ค. 2563 นี้ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 อาคารศูนย์เรียบนรู้สุขภาวะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้เรียนรู้หลักการบริหารจัดการ แผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุ ปี 2563
  2. ได้เรียนรูการบันทึกการเงินในระบบออนไลน์ สสส.

 

0 0

51. ประชุมวางแผนตัวชี้วัด PA สสส.

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนตัวชี้วัด PA สสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ประชุมวางแผนตัวชี้วัดกิจกรรมทางกาย ณ สสส.
วัตถุประสงค์เพิ่ม PA โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริม PA ได้แก่ มีความรู้เข้าเรื่อง PA คนมีศักยภาพ เครือข่ายมีประสิทธิภาพ มีพื้นที่ต้นแบบ และมีการขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ โดยครอบคลุม setting บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน ชุมชน ทั้งนี้ตอบโจทย์เรื่องสุขภาวะ 1) มิติทางกาย 2) มิติทางจิต 3) มิติทางสังคม 4) มิติทางปัญญา

 

0 0

52. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมสรุปผลงานการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมสรุปผลงานการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ
วันศุกร์ที 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.30–16.30 น. ณ ห้องประชุม 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ
- 09.30-09.45 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม
โดย สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - 09.45-10.00 น. กระบวนการถอดบทเรียน “พื้นที่สุขภาวะ” โดยใช้ Timeline โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รอง ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพม.สงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) - 10.00–12.00 น. เสนอ Timeline งานที่ทำไป ผลที่ได้มา(ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานของโครงการ) เสนอโดย 8 เครือข่าย / นำกระบวนการพูดคุยโดย สจรส.ม.อ. - 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน - 13.00–15.30 น. ภาพอนาคต “พื้นที่สุขภาวะ” ของประเทศไทย และแนวทางการขับเคลื่อน เสนอโดย 8 เครือข่าย / นำกระบวนการพูดคุยโดย สจรส.ม.อ. - 15.30 – 16.30 น. สรุปผลการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ
โดย สสส. และ เครือข่าย /นำกระบวนการพูดคุยโดย สจรส.ม.อ.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อถอดบทเรียน ชุดความรู้ นวัตกรรม ศักยภาพของคนและเครือข่าย จุดเด่นของพื้นที่ต้นแบบ
และการยกระดับผลในพื้นที่และนโยบาย
2. เพื่อร่วมกันกำหนดภาพอนาคตและแนวทางการดำเนินงาน “พื้นที่สุขภาวะ” ของประเทศไทย

สรุป ข้อมูล Workshop พื้นที่สุขภาวะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้

  1. ชุดความรู้
    1.1 ชุดความรู้ Data base/Plat form
    1.2 ชุดความรู้กระบวนการมีส่วนร่วม 1.3 ชุดความรู้พัฒนาคน 1.4 ชุดความรู้การออกแบบสภาพแวดล้อม
    1.5 ชุดความรู้เชิงประเด็น “การเดิน-จักรยาน”

  2. ศักยภาพคนและเครือข่าย
    2.1 คน 2.2 คณะทำงาน 2.3 ชุมชน 2.4 เครือข่าย 2.5 ถอดบทเรียน/บริหารยกระดับ

  3. พื้นที่ต้นแบบ
    3.1 พื้นที่ต้นแบบทางกาย 3.2 พื้นที่ต้นแบบทางจิต 3.3 พื้นที่ต้นแบบทางสังคม 3.4 พื้นที่ผสมผสาน (กาย จิต สังคม ปัญญา)

  4. นโยบายสาธารณะ
    4.1 นโยบายชุมชน/ท้องถิ่น 4.2 นโยบายเอกชน 4.3 นโยบายระดับชาติ 4.4 การบูรณาการ ระหว่างชุมชน/ท้องถิ่น/เอกชน/ระดับชาติ

  5. สุขภาวะ
    5.1 กาย 5.2 จิต 5.3 สังคม
    5.4 ปัญญา

 

0 0

53. เข้าร่วมประชุมสรุปถอดบทเรียน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมฯ ณ จ.สมุทรสงคราม

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมสรุปถอดบทเรียน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมฯ ณ จ.สมุทรสงคราม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สจรส.มอ.เข้าร่วมประชุม ถอดบทเรียน กับโครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ  วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2563 ณ บ้านทิพย์สวนทอง (อัมพวา) อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ทางโครงการได้คัดเลือกโรงเรียนตัวอย่างภูมิภาคละ 1 โรงเรียน เพื่อนำไปเป็นต้นแบบกับโรงเรียนอื่นๆต่อไป และทีมทำงานได้วางแผนการขับเคลื่อนงานในอนาคต

 

0 0

54. ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 12

วันที่ 5 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 12 วันที่ 5-6 มีนาคม พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุม 1402 ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ฯ (อาคาร LRC) สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
1. ทบทวนปรับปรุงสถานการณ์ แผนปี 61/ปี 62 และปรับปรุงปี 63 ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ได้
2. ได้ปรับปรุงแผนกิจกรรมทางกาย และโครงการกิจกรรมทางกายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น แต่ละแผน มีโครงการที่ควรทำตามแผนประมาณ 10 โครงการ และมีโครงการที่มีการพัฒนา ประมาณ 2-3 โครงการ
3. ระบบติดตามประเมินผลโครงการติดตามประเมินผล ถ้าผ่านอนุมัติจะเข้ามาสู่ระบบติดตามประเมินผล และกรอกข้อมูลในโครงการที่ดำเนินการเป็นระยะๆ

 

0 0

55. ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 7,8,9,10

วันที่ 11 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 11-12 มีนาคม พ.ศ. 2563 ณ ห้องนภาลัย โรงแรมราชาวดี รีสอร์ทแอนด์โฮเทล อ.เมือง    จ.ขอนแก่น
ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทบทวนปรับปรุงสถานการณ์ แผนปี 61/ปี 62 และปรับปรุงปี 63
  2. ได้ปรับปรุงแผนกิจกรรมทางกาย และโครงการกิจกรรมทางกายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น แต่ละแผน มีโครงการที่ควรทำตามแผนประมาณ 10 โครงการ และมีโครงการที่มีการพัฒนา ประมาณ 2-3 โครงการ
  3. ระบบติดตามประเมินผลโครงการติดตามประเมินผล ถ้าผ่านอนุมัติจะเข้ามาสู่ระบบติดตามประเมินผล และกรอกข้อมูลในโครงการที่ดำเนินการเป็นระยะๆ

 

0 0

56. ประชุมจัดทำสื่อวีดีทัศน์เผยแพร่ แนะนำเรื่องการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามโครงการ ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล

วันที่ 2 เมษายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 2 เมษายน และวันที่ 9 เมษายน 2563 ประชุมจัดทำสื่อวีดีทัศน์เผยแพร่ แนะนำเรื่องการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามโครงการ ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดทำสื่อวีดิทัศน์เผยแพร่นี้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการใช้เว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล http://localfund.happynetwork.org/  ได้มีความเข้าใจมากขึ้น โดยพี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบกองทุนฯ และผู้เสนอโครงการกองทุนตำบลนั้น สามารถเข้ามาเรียนรู้ผ่านออนไลน์สื่อวีดิทัศน์นี้ต่อไปได้

เนื้อหาประกอบด้วย
1. ความสำคัญของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2. กองทุนจะมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร การแผนที่ดี โครงการที่ดี มีระบบติดตามประเมินผล 3. การทำแผนที่ดี หลักการการจัดทำแผนที่ดี วิธีการ/ขั้นตอน การทำแผนใน Website 4. การเขียนโครงการที่ดี หลักการการจัดทำโครงการที่ดี  วิธีการ/ขั้นตอน การทำโครงการใน Website 5. การติดตามประเมินผล หลักการในการติดตามประเมินผล วิธีการ/ขั้นตอน การติดตามประเมินใน Website

 

0 0

57. ประชุมออนไลน์ด้วยระบบ ZOOM กับพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล 4 ภาค เพื่อวางแผนและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ

วันที่ 16 เมษายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมออนไลน์ด้วยระบบ ZOOM กับพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล 4 ภาค เพื่อวางแผนและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สถานการณ์การดำเนินงานขณะนี้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด ทางทีมทำงาน ได้ปรับแผนโดยการประชุมออนไลน์ด้วยระบบ ZOOM กับพี่เลี้ยง 4 ภาค การประชุมได้เน้นการตรวจสอบข้อมูลให้มีคุณภาพ ในเรื่องข้อมูลการทำแผน ข้อมูลการพัฒนาโครงการ และข้อมูลติดตามโครงการ ผ่านเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบลฯ https://localfund.happynetwork.org/

 

0 0

58. ประชุมทีมติดตามเว็บกองทุนสุขภาพตำบล

วันที่ 12 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมทีมตรวจติดตามเว็บกองทุนฯ ผ่านระบบ ZOOM ออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเด็นการประชุม ดังนี้
1. ได้เล่าถึงกิจกรรมของแต่ละเขตที่ผ่านมา และแผนจะจัดกิจกรรมในอนาคต / ข้อค้นพบดีๆในการทำงานกับกองทุนตำบลฯ/ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
2. แลกเปลี่ยนการกรอกข้อมูลในแผนและพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกาย
3. การกำหนดนัดประชุมอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ผ่าน ZOOM ของทีมตรวจติดตามเว็บกองทุน 4. การนัดพี่เลี้ยงวันที่ 18 พค.63 ทั้ง 12 เขต ประชุมเรื่องการทำแผนและพัฒนาโครงการจัดการโควิด ผ่านทาง ZOOM
5. วางแผนการประชุมวันที่ 19 พค. 63 กับทีมกองทุนตำบลฯ ที่ ม.ขอนแก่น

 

0 0

59. ประชุมทีมกองทุนตำบลฯ เขต 5

วันที่ 14 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนการทำงานประชุมกับพี่เลี้ยงเขต 5 และทีมทำงาน สจรส.มอ. ประชุมโดยผ่านระบบ ZOOm

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้แผนการดำเนินงาน ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และวางระบบติดตามประเมินผล

 

0 0

60. ประชุมคณะทำงานวิชาการ สจรส.ม.อ.

วันที่ 14 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม พิจารณาคู่มือการจัดการโควิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดการ Covid 19 แบ่งเป็น 3 ระยะ
1. ก่อน : ป้องกัน 2. ขณะระบาด : รักษา /ข้อมูล/ประชาสัมพันธ์
3. หลัง : ฟื้นฟู / สุขภาวะทางจิต  / เศรษฐกิจ

วิธีการสำคัญ 1. ความรู้ ความเข้าใจ
2. พฤติกรรมสุขภาพ 3. สภาพแวดล้อม
4. กลไกอาสาสมัคร

 

0 0

61. ประชุม ZOOM กับพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ 4 ภาค

วันที่ 18 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมแลกเปลี่ยนการจัดทำแผนและพัฒนาโครงการจัดการวิดในเว็บกองทุนสุขภาพตำบลฯ
โดยประชุมผ่านระบบ ZOOM วันจันทร์ที่ 18 พ.ค.63 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางทีมวิชาการ สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลฯ ทั้ง 12 เขต ทั่วประเทศ ประชุมแลกเปลี่ยนการทำแผนและพัฒนาโครงการจัดการโควิด
โดยการทำแผนและพัฒนาโครงการ แบ่งเป็น 3 ระยะ
1. ระยะก่อนเกิดการระบาด
- เตรียมตัว - ป้องกัน 2. ระยะเกิดการระบาด
- แก้ปัญหา/ระบบอาหาร เศรษฐกิจ การรักษาพยาบาล
3. ระยะหลังการระบาด
- ฟื้นฟู - จัดการผลกระทบ

ปัจจัยกำหนดสุขภาพในการจัดการโควิด
1. คน (ปัจเจก) - ความรู้/ทักษะ/ปฏิบัติ - ความเชื่อ/ศรัทธา
2. สภาพแวดล้อม
- วัฒนธรรมการบริโภค/อาหาร - วัฒนธรรมศาสนา - เศรษฐกิจชุมชน/ครัวเรือน
- กายภาพ / สร้างกติกาชุมชน ข้อตกลง
3. กลไกระบบ
- ระบบอาสาสมัคร
- กลุ่ม ชมรม สมาคม
- ท้องถิ่น / รัฐ / ประชาชน

 

0 0

62. ประชุมทีมกองทุนตำบลฯ เขต 7,8,9 ที่ จ.ขอนแก่น

วันที่ 19 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนทีมกองทุนตำบลฯ เขต 7,8,9 และการติดตามประเมินผล และผ่านระบบ zoom วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ คลินิกนพ.วิทยาฯ ชั้น 5 จ.ขอนแก่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทีมพี่เลี้ยงได้วางแผนลงพื้นที่ หลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย โดยลงพื้นที่เป้าหมายสำคัญในการติดตามประเมินผลก่อน โดยปรับแผนถ้าพื้นที่ใดไม่สะดวกนัดประชุมในพื้นที่ได้ ให้ใช้ระบบ zoom เป็นการประชุมแทน โดยตั้งเป้าหมายในการทำแผน ปี 63 และ ปี 64 รวมทั้งการพัฒนาโครงการและติดตามให้ได้ตามเป้าหมายต่อไป

 

0 0

63. ประชุมออนไลน์ ZOOM วางแผนงานกองทุนสุขภาพตำบล 12 เขต

วันที่ 25 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนงานกองทุนสุขภาพตำบล 12 เขต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2563 ทำให้การดำเนินงานในพื้นที่ในการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลโครงการมีอุปสรรคในเรื่องการเดินทางและไม่สามารถจัดประชุมกับกลุ่มคนหมู่มากได้ ทางสถาบันได้ปรับแผนประชุมออนไลน์วางแผนงานใหม่กับพี่เลี้ยงทั้ง 12 เขต โดยตั้งเป้าหมายดำเนินงานให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือนนี้ในเรื่องทำแผนงาน และพัฒนาโครงการ

 

0 0

64. ประชุมการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บ PA

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บ PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หลังจากทางโรงเรียนได้ทำกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมเสร็จสิ้นโครงการแล้ว และมีการกรอกข้อมูลเข้ามาในระบบออนไลน์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปวิเคราะห์ภาพรวมการดำเนินโครงการได้ ทางโปรแกรมเมอร์ได้ประชุมกับทีมงาน พบว่าสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ เช่น
1.ประเภทโครงการ ใหม่กับต่อเนื่องสัดส่วนเท่าไร
2. สัดส่วนประเภทองค์กร
3. ร้อยละของสถานการณ์ปัญหา และเป้าหมายในการแก้ปัญหา ได้แก่
1) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ทุกวันใน 1 สัปดาห์) 2) ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 3) ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4) ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 5) ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 6) ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 7) ร้อยละของเวลาเรียน ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning) 8) ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน 9) ร้อยละของเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทุกวันใน 1 สัปดาห์) 10) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่น (อายุ 5-17 ปี) ในชุมชนที่สัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยาน 11) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่น (อายุ 5-17 ปี) ในชุมชนที่มีการออกกำลังกาย 4. สัดส่วนกลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
5. พื้นที่ดำเนินการ/ลักษณะโครงการ/พื้นที่ดำเนินงาน
6. การใช้จ่ายงบประมาณ
7, จำนวนโครงการแยกรายจังหวัด
เป็นต้น

 

0 0

65. ประชุมรายงานความก้าวหน้าการประเมินความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย

วันที่ 27 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ประชุมรายงานความก้าวหน้าการประเมินความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย ณ สถาบันนโยบายสาธารณะ ชั้น 10 ตึก LRC มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ประเมินแนวทาง ดังนี้
- การสนับสนุนถ้าต้องการขยายวงกว้างควรเน้น Policy และ Network
- การเพิ่ม PA ที่พอเพียง ควรเน้น Skill และ Monitor
- การให้คนมี PA เพิ่มขึ้นและพอเพียง เน้น Skill, Monitor และ Knowledge - และการสนับสนุน Environment เป็นแนวทางที่เฉพาะจงเจาะขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่นั้นๆ

 

0 0

66. ประชุมเตรียมนำเสนอการสังเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางกาย เว็บ PA

วันที่ 2 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเตรียมนำเสนอเรื่องการสังเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางกาย วันที่ 2 มิถุนายน 2563 ณ สจรส.ม.อ.ชั้น 14 ห้อง 1405

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ ภาพรวมการติดตามโครงการ รายชื่อโครงการ ภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณ แสดงดังลิงค์ https://www.pathailand.com/project/report
  • แบบประเมินสามารถวิเคราะห์ได้ 6 แบบประเมินได้แก่
  1. แบบติดตามประเมินผลปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
  2. แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)
  3. แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)
  4. แบบการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของโครงการ
  5. แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
  6. แบบประเมิน HIA

 

0 0

67. การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปบทเรียนในการพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ https://www.pathailand.com

วันที่ 4 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปบทเรียนในการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ https://www.pathailand.com วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

กล่าวต้อนรับ และสรุปภาพรวมการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ
โดย ผศ.ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล ผู้จัดการโครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (เปิดรับทั่วไป) คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - นำเสนอข้อมูลในระบบติดตามประเมินผล https://www.pathailand.com และแนะนำเครื่องมือในการประเมินผลโครงการ
โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย คณะทำงานทั้งหมดในที่ประชุม
- สรุปบทเรียนในการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ https://www.pathailand.com และแนวทางการใช้งานระบบในอนาคต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • วัตถุประสงค์ ในการใช้ระบบเว็บไซต์ PA ของเครือข่าย
  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคนและเครือข่าย
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพโครงการ
  3. เพื่อสามารถติดตามประเมินผลได้ : สสส.หัวหน้าโครงการ ผู้ทำโครงการ ทั้งนี้ เพื่อทำให้คนไทยมี PA เพิ่มขึ้น

- Website ช่วยอะไรบ้าง

  1. พัฒนาโครงการ
  2. ติดตามโครงการ
  3. ประเมินผลโครงการ
  4. ทำรายงาน

- รายงานงวด รายงานฉบับสมบูรณ์
- รายงานการเงิน
5. จัดการข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล: สถานการณ์ / งาน / ผลการดำเนินงาน เพื่อการบริหารแผนงานโครงการ

แลกเปลี่ยนเรื่องการจัดการระบบเว็บไซต์ PA - การพัฒนาโครงการ เมื่อทางโรงเรียนเขียนข้อเสนอโครงการเป็นที่เรียบร้อย ให้กด “ส่งพิจารณา” แล้วโครงการนั้นจะเข้ามาอยู่ในช่องพิจารณาเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการต่อไปได้
- การแบ่งจำนวนโครงการแต่ละจังหวัด ให้แบ่งตามภูมิภาค 7 ภูมิภาค ประเด็นโครงการย่อย ไม่ทราบผลการอนุมัติเมื่อไหร่ อยากให้โปรแกรมแจ้งเตือน - สถานะโครงการ การใช้ระบบสีในช่องทางแจ้งความก้าวหน้าของโครงการ เช่น ช่องสีแดง พัฒนาโครงการ > ช่องสีเหลือง พิจารณาโครงการ > ช่องสีเขียว โครงการผ่านได้รับการอนุมัติ เป็นต้น
- สถานะโครงการ ให้ใช้ระบบ pop up ในการแจ้งสถานะโครงการ - การทดสอบระบบพัฒนาโครงการ ให้ใช้ตัว DEMO ในการพัฒนาโครงการ
- Username แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ 1.Admin แก้ไขได้หมด 2. ผู้รับผิดชอบแก้ไขได้ทุกอย่าง 3. ระดับเขต แก้ได้เฉพาะระบบดับเขต - ในปีถัดไปให้พี่เลี้ยงแต่ละภาค ลงบันทึกกิจกรรมที่ดำเนินการในระบบ เช่น การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม
- การใช้แบบประเมินโครงการจะพิจารณาอีกครั้ง - ประเด็นโครงการย่อย ไม่ทราบผลการอนุมัติเมื่อไหร่ ให้โปรแกรมมีระบบแจ้งเตือน - ระบบแจ้งเตือน Comment ของผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการ > เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการได้แสดงความคิดเห็นแล้ว ให้มีระบบแจ้งเตือนไปยังโครงการย่อยได้รับทราบ > จากนั้นโครงการย่อยจะเข้ามาแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 พัฒนาคุณภาพของโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการพัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการของเครือข่าย
ตัวชี้วัด : 1. ได้คู่มือการพัฒนา ติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อใช้สนับสนุนการพัฒนาโครงการของแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. ได้เอกสารชุดการสังเคราะห์ความรู้และประสบการณ์การขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. เกิดการสื่อสารเรื่องกิจกรรมทางกาย ขยายเผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างของสังคม นำไปสู่การรับรู้ เข้าใจ และมีความตระหนักต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในชีวิตประจำวัน 4. ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่สอดคล้องแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และเป็นโครงการที่มีคุณภาพ ร้อยละ 90 5. ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 6. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพที่มีความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาพประเด็นกิจกรรม ทางกาย (Health Literacy - PA) ได้แก่ เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล (ท้องถิ่น สปสช.) 270 กองทุน และภาคีเครือข่ายแผนกิจกรรมทางกาย สสส. 7. ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ร้อยละ 100 ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผล และนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8. เกิดข้อเสนอโครงการ 100 โครงการที่มีคุณภาพ ในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. 9. เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อย่างน้อย 4 พื้นที่ 10. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ครอบคลุมเรื่องกิจกรรม ทางกายและอาหารจำนวน 270 กองทุน
0.00

 

2 ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ โดยมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมติ
ตัวชี้วัด : 1. ได้ข้อมูลความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. เกิดต้นแบบการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 2 พื้นที่ 3. เกิดนโยบาย แผน และโครงการกิจกรรมทางกาย ในกลุ่มคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เครือข่ายสมัชชาจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาคุณภาพของโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการพัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการของเครือข่าย (2) ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ โดยมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมติ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 (2) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (3) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 (4) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 (5) ประชุม คู่มือพัฒนาโครงการฯ (สจรส.มอ.) (6) ประชุมคู่มือพัฒนาโครงการฯ / วางแผนเวทีมหกรรมสุขภาพ (สจรส.มอ.) (7) ประชุมคู่มือพัฒนาโครงการฯ และเว็บไซต์ PA (สจรส.มอ.) (8) ประชุมวางแผนเศรษฐศาสตร์ PA และวางแผนเว็บไซต์ (สจรส.มอ.) (9) ประชุมเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) กับคณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ. (สจรส.มอ.) (10) สรุปประชุมแกนประสานพี่เลี้ยง (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) (กรุงเทพ) (11) ประชุม เศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) (สจรส.มอ.) (12) ประชุมวางแผน PA เตรียมงานมหกรรสุขภาพ (สจรส.มอ.) (13) ประชุมความก้าวหน้าเศรษฐศาสตร์ PA (สจรส.มอ.) (14) การประชุมวางแผนและติดตาม มติสมัชชาข้อ 3 สถาปนิค (สช.กรุงเทพฯ) (15) ประชุมติดตามความก้าวหน้าหน้าพี่เลี้ยง 4 ภาค (กรุงเทพฯ) (16) มหกรรมสานพลังสร้างสุข"โฮมสุขอีสาน" (จ.ขอนแก่น) (17) วางแผนและคุยเว็บ PA สสส. (18) ประชุมคณะทำงาน สจรส.มอ. (สจรส.มอ.) (19) การประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล การวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ (สนง.สสส.กรุงเทพฯ) (20) ประชุมถอดบทเรียน PA (จ.เชียงใหม่) (21) ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA (สจรส.มอ.) (22) ประชุมวางแผนเว็บ PAthailand (23) พัฒนาโครงการ PA ประเภทนวัตกรรมฯ PA สสส. (ม.จุฬาฯ กรุงเทพฯ) (24) รายงานความก้าวหน้า proposal โครงการกองทุนตำบลฯ พชอ.77จังหวัด (สนง.สสส.กรุงเทพฯ) (25) ประชุมเตรียมประเด็นโครงร่างเศรษฐศาสตร์ PA (26) ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA ที่ สสส. กรุงเทพ (27) ประชุมทีม สธ. สปสช. สสส. คุย proposal โครงการบูรณาการกลไก 77 พชอ. (28) ประชุมเศรษฐศาสตร์ PA ที่ สสส. กรุงเทพ (29) ประชุมติดตามความก้าวหน้ามติสมัชชา PA (30) ประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (31) ประชุมพี่เลี้ยงกองทุน 12 เขต ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี (32) ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ณ มหาลัยกีฬาแห่งชาติ จ.อ่างทอง (33) ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ณ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น (34) ประชุมแกนนำพี่เลี้ยงกองทุนฯ 12 เขต (35) ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก (36) ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ จ.นครศรีธรรมราช (37) ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ สมุทรสาคร (38) ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการด้วยระบบออนไลน์ กทม.กับภาคตะวันออก ณ ศูนย์กีฬาจุฬาฯ (39) การประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการ (40) การประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการภาคใต้ ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ (41) ประชุมเตรียมประเด็นการนำเสนอ PA ในงานความก้าวหน้ามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12 (42) ประชุมพี่เลี้ยง วางแผนกับพื้นที่ทำงาน (43) ประชุมเชิงปฏิบัติการคลินิคพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย (44) ประชุมสรุปรายงานความก้าวหน้ามติ PA ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (45) ประชุมพัฒนาโครงการ จัดทำแผนกองทุนตำบล จ.สระแก้ว (46) ประชุมทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ จ.มุกดาหาร (47) ประชุมหารือเตรียมworkshopงานพื้นที่สุขภาวะ และหารือเรื่องตัวชี้วัดแผน PA (48) ประชุมทำแผนกองทุน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ จ.ระยอง (49) การประชุมความก้าวหน้าประเมินความคุ้มทุนเศรษฐศาสตร์ PA (50) การอบรมเสริมทักษะการบริหารจัดการ แผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุ  ปี 2563 (51) ประชุมวางแผนตัวชี้วัด PA สสส. (52) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมสรุปผลงานการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ (53) เข้าร่วมประชุมสรุปถอดบทเรียน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมฯ ณ จ.สมุทรสงคราม (54) ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 12 (55) ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 7,8,9,10 (56) ประชุมจัดทำสื่อวีดีทัศน์เผยแพร่ แนะนำเรื่องการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามโครงการ ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล (57) ประชุมออนไลน์ด้วยระบบ  ZOOM กับพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล 4 ภาค เพื่อวางแผนและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ (58) ประชุมทีมติดตามเว็บกองทุนสุขภาพตำบล (59) ประชุมคณะทำงานวิชาการ สจรส.ม.อ. (60) ประชุมทีมกองทุนตำบลฯ เขต 5 (61) ประชุม ZOOM กับพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ 4 ภาค (62) ประชุมทีมกองทุนตำบลฯ เขต 7,8,9 ที่ จ.ขอนแก่น (63) ประชุมออนไลน์ ZOOM วางแผนงานกองทุนสุขภาพตำบล 12 เขต (64) ประชุมการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บ PA (65) ประชุมรายงานความก้าวหน้าการประเมินความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (66) ประชุมเตรียมนำเสนอการสังเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางกาย เว็บ PA (67) การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปบทเรียนในการพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ https://www.pathailand.com (68) นำเสนอผลการศึกษา เศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (69) ประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น จังหวัด

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด