ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง
ตรัง//สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
การพบปะแลกเปลี่ยนกันวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาท้องถิ่นทั้ง 10 แห่ง ได้ร่วมเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน 10 ประเด็น เป็นที่เรียบร้อย ครั้งนี้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนมาร่วมวิเคราะห์จัดทำแผนและโครงการที่จะดำเนินการ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรคุณสมนึก นุ่นด้วง คุณวาลัยพร ด้วงคง และคณะพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้เรื่องการจัดทำแผนกิจกรรมทางกายและสุขภาพอื่นๆ ในท้องถิ่น
กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง (เดิน/ปั่นจักรยานไปที่ต่างๆ ในชุมชน ) 3) การมีกิจกรรมนันทนาการ การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย
“กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย”วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ร่วมกับท้องถิ่น 10 แห่งในจังหวัดตรัง
ท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลย่านตาขาว 2) องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ 3) ทต.นาโยงเหนือ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ 5) องค์การบริหารส่วนตำบลปากคม 6) เทศบาลตำบลโคกหล่อ 7) องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด 8 ) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ 9) องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 10) องค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ
ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ โดยเน้นแผนงานกิจกรรมทางกายเป็นหลักในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีประเด็นอื่นๆ ร่วม 10 ประเด็น เพื่อการออกแบบโครงการสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ไปสู่การแก้ปัญหาอื่นๆ แบบบูรณาการได้ โดย 10 ประเด็นมี คือ 1) แผนงานกิจกรรมทางกาย 2) แผนงานขยะ 3) แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม 4) แผนงานยาสูบ 5) แผนงานสุรา 6) แผนงานสิ่งเสพติด 7) แผนงานอาหารและโภชนการ 8 ) แผนงานสุขภาพจิต 9) แผนงานความปลอดภัยทางถนน 10) แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
หลักการทำแผน มี 4 คำ (อยู่ไหน, จะไปไหน,ไปอย่างไร, ไปถึงแล้วยัง) คือ 1) อยู่ไหน : สถานการณ์ 2) จะไปไหน : เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ 4) ไปถึงแล้วยัง : ประเมินผลลัพธ์ (คู่มือการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย: https://localfund.happynetwork.org/upload/forum/plandoc_pa.pdf)
กระบวนการการจัดประชุม: 1) สร้างความเข้าใจกระบวนการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน 2) ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับแผนงาน โดยใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้เว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org 3) แลกเปลี่ยนนำเสนอโครงการเพื่อสร้างการเรียนรู่ร่วมกัน
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ได้แผนสุขภาพตำบล 10 ประเด็น จำนวน 10 ท้องถิ่นนำร่องในจังหวัดตรัง และได้โครงการที่จะดำเนินการในพื้นที่ ในครั้งถัดไป คือ “ขั้นตอนที่ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ” เป็นการเขียนโครงการที่ดีเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเพิ่มกิจกรรมทางกายในท้องถิ่น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสร้างกลไกความร่วมมือสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในท้องถิ่นต่อไป
Relate topics
- การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี
- บันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
- บันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล
- สสส. ร่วมกับ ม.อ. ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะ และท้องถิ่น เปิดพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบ “แล เล่น รักษ์ เล” ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย
- การประชุมสรุปถอดบทเรียน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมฯ 22-23 กุมภาพันธ์ 2563 ณ จ.สมุทรสงคราม
- VTR แผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- อบรมการรายงาน/ติดตาม โครงการ สำหรับผู้รับทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ประชุมกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ว่าด้วยเรื่อง การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
- ประชุมกิจกรรมทางกาย (PA) ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพ