PA Thailand (Physical Activity Thailand)

stars
1. สถานการณ์/ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แนวทาง/วิธีการสำคัญในการเพิ่มกิจกรรมทางกาย

1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจจัดเก็บความรู้ วิธีการใหม่ และสื่อสารความรู้

การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดเก็บความรู้ หาวิธีการใหม่ และการสื่อสารความรู้นำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องว่ากิจกรรมทางกายเป็นเรื่องที่ครอบคลุมมากกว่าการออกกำลังกาย ตามที่คนทั่วไปเข้าใจ การสร้างความรู้ความเข้าใจ ทำได้โดยสื่อสาร รณรงค์ ประกวด อบรมจัดนิทรรศการ เรื่องการเพิ่มกิจกรรมทางกายให้เพียงพอที่สามารถทำได้โดยการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเดินทางไปโรงเรียน ไปทำงาน การเพิ่มการเคลื่อนไหวในระหว่างการเรียน การทำงาน และการออกกำลังกายหรือเดินเล่น ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกันของครอบครัว กลุ่มเพื่อนเพื่อพักผ่อนหลังเลิกงาน

การสร้างการรับรู้ ความเข้าใจของสังคมยังทำได้โดยการจัดกิจกรรมเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายด้วยวิธีการใหม่ ๆ โดยใช้ศิลปะ วัฒนธรรม การละเล่นไทย กีฬาไทยที่มีอยู่ในชุมชนหรือจัดกิจกรรมเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัย และพื้นที่ต่าง ๆ เช่น เด็กปฐมวัย นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ ในพื้นที่สถานศึกษา สถานที่ทำงาน ศาสนสถานพร้อม ๆ ไปกับการสอดแทรกความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องกิจกรรมทางกาย

แนวทางสำคัญ : การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดเก็บความรู้ วิธีการใหม่ และสื่อสารความรู้

วิธีการ

  1. จัดการมีกิจกรรมทางกายให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การเซิ้ง ร็องแง็งรำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง
  2. ประกวดการออกแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เหมาะกับวัย เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในศูนย์เด็กเล็ก ในโรงเรียน
  3. จัดการละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร วิ่งเปี้ยว ม้าก้านกล้วย เดินกะลา; และกีฬาไทย เช่นตะกร้อลอดห่วง รำมวยไทย ในศูนย์เด็กเล็ก ในโรงเรียน เพื่อเพิ่ม (Active play–Active learning)
  4. รณรงค์การมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
  5. จัดนิทรรศการกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะกับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรมที่ทำนา ทำสวนทำไร่ พนักงานโรงงาน
  6. เสียงตามสายในโรงเรียน ในชุมชน ในโบสถ์ มัสยิดเพื่อรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพิ่มกิจกรรมทางกาย
  7. ประชุมร่วมกัน เพื่อออกแบบพื้นที่สาธารณะให้มีการใช้กิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
  8. จัดกิจกรรมบูรณาการการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการจัดการเศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการจัดการขยะ การลงแขกทำเกษตรแปลงรวม การปั่นจักรยานสำรวจพืชสมุนไพรในชุมชน
  9. จัดทำสื่อเอกสาร หนังสั้น คลิปสั้น เพื่อเชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกายลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

2. การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่าย

การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ความรอบรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพทำได้โดยการอบรมสร้างแกนนำ ทั้งระดับบุคคลกลุ่มคน องค์กรและเครือข่าย เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ การส่งเสริมและพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายที่ครอบคลุมเรื่องสุขภาวะทั้งกาย จิต สังคม และปัญญารวมทั้งคุณค่าที่เกิดขึ้นกับตนเอง สังคม และชุมชน

แนวทางสำคัญ : การพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายให้มีความเข้าใจมีความสามารถเรื่องการมีกิจกรรมทางกายว่าเป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกาย ทั้งในการทำงานการเดินทางการมีกิจกรรมนันทนาการและการออกกำลังกาย กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา

วิธีการ

  1. ครูร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ โดยปรับวิธีการสอนวิชาพละและสุขศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ปรับเนื้อหาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม
  2. อบรมครูสุขศึกษา/พละ/อนามัย เรื่องกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้เน้นการออกกำลังกาย
  3. เปิดคลินิกให้คำปรึกษาเรื่องการเพิ่มกิจกรรมทางกายในโรงเรียนเพื่อควบคุมน้ำหนัก
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำนักเรียน แกนนำในสถานประกอบการ แกนนำใน ศาสนสถานเพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
  5. อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้สูงอายุเป็นวิทยากร สอนเด็กในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน ให้รู้จักการละเล่นไทย/ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำว่าว เล่านิทาน
  6. อบรมให้ความรู้แก่ชมรมผู้สูงอายุเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย
  7. ฝึกทักษะกิจกรรมทางกายกลุ่มเฉพาะอาชีพที่อยู่กับที่ เช่น ทอผ้า พนักงานสำนักงาน

3. การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงานศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน

การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะโดยการทำให้สภาพแวดล้อมทั้งในสถานที่ที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานที่ทำงาน สถานประกอบการทั้งรัฐและเอกชน สถานบริการสุขภาพ ศาสนสถาน และพื้นที่สาธารณะเอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายซึ่งจะช่วยให้ทุกคน ทุกภาคส่วน ทุกระดับ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องกิจกรรมทางกาย

การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทำได้โดยส่งเสริมการทางด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน จัดการเรียนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ในวิชาสุขศึกษาและพละศึกษาให้เน้นการมีกิจกรรมทางกายเป็นหลักแทนการบรรยาย ให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวยืดเหยียด รวมทั้งลดเวลาในการนั่งนิ่ง ๆ ติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมงในชั่วโมงเรียน ระหว่างทำงานหรือประชุม จัดการละเล่นไทย กีฬาไทยในช่วงเวลาว่าง การสร้างแรงจูงใจในการใช้บันได


แนวทางสำคัญ : การสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน

วิธีการ

  1. ประกวด/ ถอดบทเรียนบ้านกระฉับกระเฉง ที่มีการส่งเสริมให้ครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน รวมทั้งการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
  2. ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้มีการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ได้แก่ การเดินหรือปั่นจักรยานมาเรียน การจัดการละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย ในช่วงว่าง การรณรงค์การใช้บันได
  3. ครูร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในพื้นที่ โดยปรับวิธีการสอนวิชาพละและสุขศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ปรับเนื้อหาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม
  4. โครงการเกษตรในโรงเรียน การปลูกพืชผักส่วนครัว หรือการทำแปลงรวม ช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนลงมือทำเกษตรด้วยตนเอง
  5. โครงการร่วมกันพัฒนาสถานที่ทำงานให้บุคลากรเพิ่มการเคลื่อนไหวระหว่างทำงานจัดอาหารสำหรับประชุมที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น เพิ่ม ผัก–ผลไม้เปลี่ยนอาหารว่างเป็นผลไม้/ น้ำสมุนไพรไม่หวานหรือหวานน้อย
  6. ชุมชนร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัยกับการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำความสะอาดเส้นทางสัญจรในชุมชนให้สะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับการเดินปั่นจักรยาน;การลงแรงร่วมกันทำความสะอาด เก็บกิ่งไม้ สิ่งกีดขวางในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการพักผ่อน วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายอื่น ๆ
  7. โครงการดนตรีในสวน เพื่อให้คนมาร่วมทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน

4. การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรม ทางกาย

การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เป็นการการผลักดันให้ชุมชนมีนโยบาย ข้อตกลงร่วมกันของชุมชน ที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย อาจเป็นข้อตกลงในเรื่องการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อ เช่น ข้อตกลงไม่วางของบนทางเท้าเพื่อให้สะดวก ปลอดภัยของคนในชุมชนในการเดินสัญจร; ข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะที่มีอยู่ในชุมชน

แนวทางสำคัญ : การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย

วิธีการ

  1. โครงการร่วมสร้างข้อตกลงชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางสัญจร(เดิน/จักรยาน) ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
  2. โครงการร่วมสร้างนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการ ในการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของพนักงาน

5. การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายทั้งภาครัฐเอกชน รัฐวิสาหกิจเครือข่ายศาสนาและภาคประชาชน

แนวทางสำคัญ : การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

วิธีการ

  1. สร้างแกนนำครูนักเรียน ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และการบริโภคผักผลไม้ รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  2. สร้างแกนนำพนักงาน คนในอาชีพต่าง ๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และการบริโภคผักผลไม้ รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ทำงาน
  3. สร้างแกนนำผู้นำศาสนา ทั้งในวัด มัสยิด ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน วัตร 10 ของสงฆ์ และการบริโภคผักผลไม้เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย การลดปัจจัยเสี่ยง และการบริโภคที่เหมาะสมในศาสนสถาน
  4. โครงการความร่วมมือในการใช้สนามในสถานที่ราชการ หรือเอกชนหลังเลิกงานเพื่อนันทนาการและออกกำลังกายสำหรับประชาชน
  5. โครงการพัฒนาอาสาสมัครในชุมชนระบบเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้พื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกาย
stars
2. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
3. แนวทาง/วิธีการสำคัญ
paid
4. งบประมาณที่ตั้งไว้ตามแผนงาน
0.00 บาท
stars
5. โครงการที่ควรดำเนินการ
ชื่อโครงการย่อยผู้รับผิดชอบงบประมาณที่ตั้งไว้ (บาท)
stars
6. รายชื่อข้อเสนอโครงการ
ไม่มี
stars
7. รายชื่อติดตามโครงการ
ปีงบประมาณชื่อติดตามโครงการองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
1 2561 แผนงานบริหาร 0.00
2 2561 นวัตกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0.00
3 2561 แผนพื้นที่สุขภาวะ 0.00
4 2561 แผนทุนอุปถัมภ์กีฬา 0.00
รวม 0.00
stars
8. เอกสารประกอบ
Little Bear
Little Bearแผนงานเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2567 น.