โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปบทเรียนในการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ https://www.pathailand.com วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
กล่าวต้อนรับ และสรุปภาพรวมการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ
โดย ผศ.ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล ผู้จัดการโครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (เปิดรับทั่วไป) คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นำเสนอข้อมูลในระบบติดตามประเมินผล https://www.pathailand.com และแนะนำเครื่องมือในการประเมินผลโครงการ
โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย คณะทำงานทั้งหมดในที่ประชุม
- สรุปบทเรียนในการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ https://www.pathailand.com และแนวทางการใช้งานระบบในอนาคต
- วัตถุประสงค์ ในการใช้ระบบเว็บไซต์ PA ของเครือข่าย
- เพื่อพัฒนาศักยภาพคนและเครือข่าย
- เพื่อพัฒนาคุณภาพโครงการ
- เพื่อสามารถติดตามประเมินผลได้ : สสส.หัวหน้าโครงการ ผู้ทำโครงการ ทั้งนี้ เพื่อทำให้คนไทยมี PA เพิ่มขึ้น
- Website ช่วยอะไรบ้าง
- พัฒนาโครงการ
- ติดตามโครงการ
- ประเมินผลโครงการ
- ทำรายงาน
- รายงานงวด รายงานฉบับสมบูรณ์
- รายงานการเงิน
5. จัดการข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล: สถานการณ์ / งาน / ผลการดำเนินงาน เพื่อการบริหารแผนงานโครงการ
แลกเปลี่ยนเรื่องการจัดการระบบเว็บไซต์ PA
- การพัฒนาโครงการ เมื่อทางโรงเรียนเขียนข้อเสนอโครงการเป็นที่เรียบร้อย ให้กด “ส่งพิจารณา” แล้วโครงการนั้นจะเข้ามาอยู่ในช่องพิจารณาเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการต่อไปได้
- การแบ่งจำนวนโครงการแต่ละจังหวัด ให้แบ่งตามภูมิภาค 7 ภูมิภาค
ประเด็นโครงการย่อย ไม่ทราบผลการอนุมัติเมื่อไหร่ อยากให้โปรแกรมแจ้งเตือน
- สถานะโครงการ การใช้ระบบสีในช่องทางแจ้งความก้าวหน้าของโครงการ เช่น ช่องสีแดง พัฒนาโครงการ > ช่องสีเหลือง พิจารณาโครงการ > ช่องสีเขียว โครงการผ่านได้รับการอนุมัติ เป็นต้น
- สถานะโครงการ ให้ใช้ระบบ pop up ในการแจ้งสถานะโครงการ
- การทดสอบระบบพัฒนาโครงการ ให้ใช้ตัว DEMO ในการพัฒนาโครงการ
- Username แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ 1.Admin แก้ไขได้หมด 2. ผู้รับผิดชอบแก้ไขได้ทุกอย่าง 3. ระดับเขต แก้ได้เฉพาะระบบดับเขต
- ในปีถัดไปให้พี่เลี้ยงแต่ละภาค ลงบันทึกกิจกรรมที่ดำเนินการในระบบ เช่น การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม
- การใช้แบบประเมินโครงการจะพิจารณาอีกครั้ง
- ประเด็นโครงการย่อย ไม่ทราบผลการอนุมัติเมื่อไหร่ ให้โปรแกรมมีระบบแจ้งเตือน
- ระบบแจ้งเตือน Comment ของผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการ > เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการได้แสดงความคิดเห็นแล้ว ให้มีระบบแจ้งเตือนไปยังโครงการย่อยได้รับทราบ > จากนั้นโครงการย่อยจะเข้ามาแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการ