PA Thailand (Physical Activity Thailand)

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

ประชุมการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บ PA26 พฤษภาคม 2563
26
พฤษภาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บ PA

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลังจากทางโรงเรียนได้ทำกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมเสร็จสิ้นโครงการแล้ว และมีการกรอกข้อมูลเข้ามาในระบบออนไลน์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปวิเคราะห์ภาพรวมการดำเนินโครงการได้ ทางโปรแกรมเมอร์ได้ประชุมกับทีมงาน พบว่าสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ เช่น
1.ประเภทโครงการ ใหม่กับต่อเนื่องสัดส่วนเท่าไร
2. สัดส่วนประเภทองค์กร
3. ร้อยละของสถานการณ์ปัญหา และเป้าหมายในการแก้ปัญหา ได้แก่
1) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ทุกวันใน 1 สัปดาห์) 2) ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 3) ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4) ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 5) ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 6) ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 7) ร้อยละของเวลาเรียน ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning) 8) ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน 9) ร้อยละของเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทุกวันใน 1 สัปดาห์) 10) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่น (อายุ 5-17 ปี) ในชุมชนที่สัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยาน 11) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่น (อายุ 5-17 ปี) ในชุมชนที่มีการออกกำลังกาย 4. สัดส่วนกลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
5. พื้นที่ดำเนินการ/ลักษณะโครงการ/พื้นที่ดำเนินงาน
6. การใช้จ่ายงบประมาณ
7, จำนวนโครงการแยกรายจังหวัด
เป็นต้น