PA Thailand (Physical Activity Thailand)

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

พัฒนาโครงการ PA ประเภทนวัตกรรมฯ PA สสส. (ม.จุฬาฯ กรุงเทพฯ)22 มกราคม 2562
22
มกราคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการเพื่อพัฒนาศักยภาพ โครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (เปิดรับทั่วไป) วันอังคารที่ 22 มกราคม 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ อาคารจุฬาพัฒน์ 7 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ม.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผอ.สน 5 สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ บรรยาย ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561-2573 และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัยเด็ก (active play) สรุปประเด็น 1. PA เจอปัญหาท้าทายเรื่องฝุ่นและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องใหม่ เนื่องจากปัญหานี้มีผลต่อการมี PA 2. PA เข้ามาในไทย 6-7 ปี ประเด็นในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ ดังนั้นการสื่อสารเรื่อง PA ควรสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น 3. เรื่องการออกกำลังกาย PA เป็นไดนามิก คนที่ออกกำลังกายไปสักระยะจะหยุดออกกำลังกาย แล้วหันมาออกใหม่ หรือหยุดออกไปเลยมันเป็นไดนามิกมาก 4. เรื่อง Policy PA ตอนนี้พร้อมแล้ว เช่น 1. แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2561-2573) 2. สมัชชาสุขภาพเรื่อง PA /เรื่องการพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา 3. นโยบายโลก The Bangkok Declaration โจทย์คือ จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไรบ้างต่อ
5. เรื่อง Active Play  ตอนนี้ 1. เรามีองค์ความรู้  2. ได้ทำความร่วมมือกับพัฒนาหลักสูตรกับ ศธ. 3. โมเดลต้นแบบองค์กรปกครองท้องถิ่น 4. งานวิ่งทั่วประเทศ สสส.มีประมาณ 200 งานต่อปี

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (active play) ในโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนฉลาดเล่นและอื่นๆ สถานการณ์ - การเรียนเฉพาะวิชาพลศึกษา ไม่เพียงพอต่อการมีกิจกรรมทางกายของเด็ก
- เด็กไทยยังมีอัตราเด็กจมน้ำตายอยู่
- เด็กมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง 13.08 ชั่วโมงต่อวัน  (ติดหน้าจอ 3.09 ชั่วโมง / วิ่งแค่ประมาณเล่น 0.42 ชั่วโมง) - เรื่องสภาพแวดล้อม (นโยบาย กิจกรรม สนามเด็กเล่น/กีฬา  ชุมชน ผู้ปกครอง) อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ว่าพฤติกรรมของเด็กยังไม่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องการเล่น กีฬาออกกำลังกาย และเนือยนิ่ง

แนวทาง
- ช่วงเวลามีผลต่อการจัดการ ให้หาโอกาสอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน จากที่ชั่วโมงพลศึกษาไม่เพียงพอ
- แนวคิด 4 P ได้แก่ 1. Active policy ทำความเข้าใจโรงเรียน, สมัครพร้อมใจโรงเรียน, โรงเรียนส่งเสริม PA 60 นาที/วัน 2. Active program วิเคราะห์ผู้บริหาร/ครู/ผู้เรียน 3. Active people การมีส่วนร่วม        4. Active place อปท., พื้นที่ต้นแบบ 5. Active classroom

ปัจจัยที่มีผลต่อ Active Play
1. หลักสูตร
- เกม นันทนาการ
- กิจกรรมในห้องเรียน
- การเดินระหว่างห้องเรียน
- เวลา - ครูออกกำลังกายเป็นตัวอย่างให้เด็ก - การสร้างความเช้าใจในกลุ่มครู - สร้างจุดเด่น/สร้างความแปลกใหม่

  1. สภาพแวดล้อม

- โรงอาหาร
- พื้นที่เล่น

  1. ระบบ/กลไก

- กฎระเบียบ

เว็บไซต์ PAthailand
วัตถุประสงค์เว็บ 1. พัฒนาโครงการ 2. มีโครงการดีๆ อยู่แล้ว ทำการติดตามรายงาน ติดตามประเมินผล

เน้นคุณภาพ 4 ด้าน 1. หลักการและเหตุผล - ระบุสถานการณ์ PA
- แก้อย่างไรที่เพียงพอต่างๆ เท่าไร 2. วัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด 3. วิธีการ/ดำเนินงาน 4. ติดตามประเมินผล

ประเด็นที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชน
- ชุมชนต้องวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาชุมชน PA - การวางเป้าหมายให้บรรลุเป้าหมาย
- บรรลุเป้าหมายทำอะไรอย่างไร
- การใช้เงิน