โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
การประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล การวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00-16.30 น. ณ เวลา 13.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุม 321 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพ
สรุปประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนทั้งหมด.....15.....คน ประกอบด้วย องค์กร สสส. , สปสช., สำนักงานระบบปฐมภูมิและครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข, สจรส.มอ.
เรื่องโปรแกรมพัฒนาและติดตามโครงการ 1. โปรแกรมฯ ปัจจุบันมี 4 โปรแกรม ชื่อโปรแกรม ชื่อเว็บไซต์ ผู้พัฒนาโปรแกรม รูปแบบการใช้งาน 1) โปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ http://obt.nhso.go.th/obt/home สปสช. ส่วนกลาง กองทุนฯ ใช้คีย์ข้อมูลชื่อโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมทำอะไรและการเงินโครงการ 2) โปรแกรมระบบรายงานการโอนเงิน (NHSO Budget ) http://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/ สปสช. ส่วนกลาง การเงินโครงการ 3) โปรแกรม LongTermCare http://ltc.nhso.go.th/ltc/#/login สปสช. ส่วนกลาง LongTermCare 4) โปรแกรม พัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ http://localfund.happynetwork.org/ สปสช.เขต 12 พัฒนาร่วมกับ สจรส.มอ. - กองทุนนำร่อง 270 กองทุน/12 เขตทั่วประเทศ (ดำเนินการด้วยโครงการของ สจรส.มอ.) ได้ใช้โปรแกรมในการพัฒนาโครงการและติดตามโครงการ - เฉพาะเขต 12 ที่มีการใช้โปรแกรมฯ เต็มระบบ คือ ใช้ในการพัฒนาโครงการ ติดตามโครงการ และการเบิกจ่ายการเงิน รายงานการเงิน
รายละเอียดโปรแกรม พัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตอนนี้โปรแกรมได้พัฒนาแผนงานกองทุน 5 แผน ได้แก่ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร และกิจกรรมทางกาย เป็นหลัก รวมทั้งมีแผนงานอื่นๆ โปรแกรมได้ออกแบบมาให้ทุกภาคส่วน สามารถเขียนโครงการขอทุนสนับสนุนได้ /แต่การขอทุนสนับสนุนนั้นมีกิจกรรมบางอย่างที่ใช้เงินกองทุนไม่ได้ เช่น โครงการปลูกผักปลอดสารพิษ ขอสนับสนุนในเรื่องกระบวนการกับกองทุนฯ ได้ แต่ถ้าใช้สิ่งก่อสร้างทำแปลงปลูกผักจะใช้เงินกองทุนไม่ได้ ระบบจึงได้ออกแบบเปิดโปรแกรมที่สามารถใช้เงินท้องถิ่นที่สามารถของบด้านการก่อสร้าง
เรื่องการซิงค์ข้อมูลด้วยกัน ระหว่าง 1) เว็บพัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (http://localfund.happynetwork.org/) กับ 2) โปรแกรมส่วนกลาง ซึ่งทางส่วนกลาง สปสช.ตอนนี้ยังไม่มีนโยบายจะซิงค์ข้อมูลก่อน ถ้าจะซิงค์ข้อมูลเข้าส่วนกลางต้องประชุมกันอีกครั้งว่าจะเลือกซิงค์ข้อมูลใดได้บ้าง โปรแกรมเมอร์ต้องคุยในเชิงเทคนิค และส่วนกลางต้องประชุมในเชิงนโยบายอีกครั้ง
เรื่องวางแผนกระบวนการการทำงาน 1. โจทย์คือ การพัฒนาศักยภาพ รพสต. การพัฒนาการรวมกลุ่มของ รพสต.ในพื้นที่ให้มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การทำงานจะอยู่ในรูปแบบการออกแบบโครงการ และจะมีกระบวนการอย่างไรให้ช่วยคิดออกแบบโครงการถึงระดับพื้นที่ รวมไปถึงการสร้างพื้นที่เรียนรู้ หรือเซตระบบศูนย์การเรียนรู้ 2. มองว่าโปรแกรมฯ เป็นเครื่องมือ ไปใช้แก้ปัญหาสุขภาพให้ดีขึ้น ซึ่งท้องถิ่นมีกลไกกองทุนตำบลอยู่ ให้ดึงเอา รพ.สต.มาช่วยทำแผนกองทุน จะทำให้มีคุณภาพดีขึ้น 3. กลไกการทำงาน ให้ใช้กลไกพี่เลี้ยง สปสช. พี่เลี้ยงสาธารสุข (พัฒนาพี่เลี้ยงจาก รพ.สต.) และทีมวิชาการ สสส. โดยรวมทีมกันทำงาน 4. การเลือกพื้นที่ค่อยๆ ชวนโดยความสมัครใจของพื้นที่ เป็นพื้นที่เข้มแข็งพอและเห็นโอกาสในการพัฒนา และประกอบกับให้กระทรวงออกนโยบายและเลือก พชอ.ต้นแบบ ควบคู่กัน / บางพื้นที่มีกลไกของ สช.ที่น่าสนใจ มี กขป.เขตสุขภาพ / มี สปสช.เขต ดังนั้นการทำงานจะเป็นความร่วมมือระหว่าง สสส. สปสช. สช. สธ. แต่การทำงานในพื้นที่จะใช้เงินของกองทุนตำบลฯ
สรุปประเด็นขับเคลื่อนงานต่อ 1. การเลือกพื้นที่เป้าหมาย ให้กระทรวงสาธารสุขเลือกพื้นที่ พชอ.ที่เข็มแข็ง ไม่บังคับ มีความพร้อมนำร่อง 2. จำนวนพื้นที่ 77 จังหวัด (เลือก พชอ. 77 อำเภอ (หรืออาจมากกว่า 1-2 อำเภอ) อำเภอละ 10 กองทุน รวมทั้งหมด 770 กองทุน) 3. กลไกการทำงาน ให้ใช้กลไกพี่เลี้ยง สปสช. พี่เลี้ยงสาธารสุข (พัฒนาพี่เลี้ยงจาก รพ.สต.) และทีมวิชาการ สสส. 4. การพัฒนา proposal โครงการที่จะขับเคลื่อน ให้ทาง สจรส.มอ. เขียนโครงการ วางแผน กระบวนการ (ร่างตุ๊กตาการทำงาน) 5. พื้นที่นำร่อง 77 พชอ. ให้ใช้โปรแกรมพัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (http://localfund.happynetwork.org/) ในการพัฒนาโครงการ และติดตามโครงการ ใช้กับพื้นที่นำร่อง 77 จังหวัด 77 พชอ. ก่อน ยังไม่ได้ใช้เชิงนโยบายทั้งประเทศ 6. นัดประชุมครั้งต่อไป วันที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 13.30-16.00 น. รายงานความก้าวหน้า proposal โครงการกองทุนตำบลฯ
สรุปประชุมการวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนทั้งหมด.....8....คน ประกอบด้วยองค์กร สสส. และ สจรส.มอ.
การขับเคลื่อนมติสมัชชา PA การขับเคลื่อนมติสมัชชา PA องค์กรที่ขับเคลื่อนร่วมกัน แนวทางการทำงาน มติ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง PA สร้างแนวทางวิธีการเพิ่ม PA และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ PA เครือข่ายสมัชชา กขป. (อีสาน เหนือ ใต้ กลาง) ดำเนินการสร้างความเข้าใจ PA ในงานสร้างสุขฯ แต่ละภาค มติ 2 Health literacy เรื่อง PA กรมอนามัย กรมอนามัยดำเนินการเอง มติ 3 - วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบออกแบบฯ ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย - การจัดให้มีและจัดการพื้นที่ในการครอบครองเอื้อต่อ PA เครือข่ายสถาปนิก - เครือข่ายสถาปนิก ขับเคลื่อนมติของสถาปนิก (SP) จะจัดทำคู่มือหลักเกณฑ์การออกแบบพื้นที่ฯ จะเสร็จประมาณปลาเดือน มกราคม ถึง กพ. 62 นี้ นัดคุยอีกครั้ง เพื่อเอาองค์ความรู้เครือข่ายสถาปนิก สสส.แลกเปลี่ยนเข้าไปในคู่มือด้วย - วางแผนการทำงานมติด้านสถาปนิกอีกครั้ง มติ 4 สร้างครอบครัว PA พัฒนามนุษย์และสังคม นัดวงคุย มติ 5 การพัฒนาหลักสูตร PA ฯ กระทรวงศึกษาธิการ นัดวงคุย มติ 6 พัฒนาสถานประกอบการมี PA ฯ กระทรวงแรงงาน นัดวงคุย มติ 7 กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผน โครงการ PA ฯ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สจรส.มอ.ดำเนินการอยู่ / รอดำเนินการพร้อมกันกับโครงการพัฒนาศักยภาพ รพสต. ในพื้นที่ พชอ. 77 จังหวัด (770 กองทุน) มติ 8 มาตรการทางภาษี สวรส. และสจรส.มอ. นำร่างโครงการมาตรการทางภาษีมานำเสนอกับ สน.5 สสส. อีกครั้ง มติ 9 สื่อสารเรื่อง PA สื่อสารมวลชน สสส.ดำเนินการอยู่
พัฒนาโครงการคลินิก สสส. 1) ได้โจทย์การพัฒนาศักยภาพทีมวิชาการ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง Active play และทีมวิชาการ สสส. สามารถทำแผน โครงการของกองทุนตำบลฯ ได้ 2) เว็บไซต์ PA thailand สสส. (https://www.pathailand.com/) นำโครงการ Active play และ โครงการวิ่งฯ มาเรียนรู้ระบบพัฒนาโครงการ และการกรอกข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ในเรื่องการกรอกข้อมูลการติดตามประเมินผล ทางโปรแกรมจะออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของโครงการอีกครั้ง