PA Thailand (Physical Activity Thailand)

[center][/center] การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ (อบต.จิกดู่) อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 1) วัตถุประสงค์ 1.1. เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ 1.2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน 2.1) คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ 8 แห่งๆ ละ 2-3 คน จำนวน 30 คน 3) ภาคีเครือข่าย 3.1) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 5 คน 3.2) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 5 คน [center]448804478_122138682338253964_8508554995748298426_n.jpg[/center]

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ

- กล่าวต้อนรับ และมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นของกิจกรรมทางกาย (PA) โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ - ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวันนี้ และ สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานระดับเขต 10 - นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แต่ละตำบลๆ ละ 7 นาที องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เทศบาลตำบลหัวตะพาน เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลคำพระ เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลโพนเมืองน้อย โดย คณะทำงานเขียนแผนและโครงการ - ร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางให้เกิดแผนและโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์/นายรพินทร์ ยืนยาว/คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต - สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในพื้นที่อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง หรือ NCD ของประชาชน ในวันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีนายสุธรรม ยืนสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ [center] 448805806_122138682872253964_4850670786030426897_n.jpg[/center] พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนั้นโดยแยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เด็กวัยเรียน-วัยรุ่น กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปโรงเรียน ถ้าเป็นการทำงานหรือการเรียน ควรมีการส่งเสริมกิจกรรม Active Play Active leaning เช่น กิจกรรมการทำเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการท่องเที่ยวเยี่ยมชุมชน เป็นต้น อีกส่วนการสันทนาการ การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา ควรมีกิจกรรมเล่นฟุตบอล ฟุตซอล เต้นแอร์โรบิก รำมวยไทย และการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน กลุ่มที่ 2 วัยทำงาน กิจกรรมททางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปทำงาน ถ้าเป็นการทำงานควรมีกิจกรรมระหว่างการทำงานคือ การเดินขึ้นบันไดหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายหรือกีฬา ควรเป็นการเล่น Fitness และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุ กิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรมีการเดิน การปั่นจักรยานไปวัด ไปทำประโยชน์สาธารณะ ส่วนการทำงาน ควรมีการทำงานเกษตร การประกอบอาชีพเสริม การทำไม้ดอกไม้ประดับ การจัดการขยะ ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ควรมีการเล่นโยคะ การรำวง การฟ้อนรำมากขึ้น นี้ก็เป็นรูปแบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ ที่ต้องเน้นกิจกรรมที่เพียงพอในทุกกลุ่มวัย เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างเน้นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยของวัยตนเองด้วย
ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต ระดับจังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จากจำนวน 8 พื้นที่เป้าหมายเข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลตำบลหัวตะพาน เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ อบต.สร้างถ่อน้อย อบต.จิกดู่และเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ ประมาณกว่า 40 คน [center]S__12238967_0.jpg[/center] นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 6 หัวข้อ ดังนี้ 1. สถานกาณณ์สุขภาพ/บริบทพื้นที่ 2. การกำหนดเป้าหมายในการจัดการปัญหา 3. วิธีการหรือกระบวนการจัดการปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 4. กลุ่มเป้าหมายที่เราจะไปจัดการ 5. พื้นที่การดำเนินการ จัดการที่ไหนบ้าง 6. ความคาดหวัง กระบวนการนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพโดยการพัฒนาในเว็ปไซต์ของกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org จนได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ เช่น โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตาราง 9 ช่อง โครงการวัยใส Happy and Happy โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนผู้สูงอายุ โครงการเต้นแอร์โรบิก โครงการลดพุงขยับกาย ใส่ใจสุขภาพ และโครงการส่งเสริมสุขภาพหนูน้อยวัยใส เป็นต้น 1. อบต.จิกดู่ โครงการวัยใส Happy&Happy - พื้นที่: โรงเรียน + ศพด.+อบต.+ชุมชน+โรงเรียนผู้สูงอายุ - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียน ครู กรรมการ 114 คน - กระบวนการ 1) สร้างความเข้าใจ Pa และการออกแบบพื้นที่สาธารณะ 2) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการปั่นจักรยาน 3) สร้างแกนนำนักเรียน และขยายผลโรงเรียนในพื้นที่ 4) ส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกับชุมชน (ทำความสะอาดหมู่บ้าน ตรวจสอบลูกน้ำยุงลาย) 5) การออกแบบ สร้างงานกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ : การใช้ภูมิปัญญาทำพานจากใบตอง 6) สรุปแลกเปลี่ยน การขยายผลโรงเรียนใกล้เคียง - กิจกรรมทางกายมีความหลากหลาย - ควรมีการส่งเสริมทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟ้อนรำพื้นบ้าน เกม์กีฬาการศึกษา กิจกรรมสันทนาการ - การกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกลุ่มเป้าหมาย ปรับทัศนคติให้มี PA เป็นนิสัยวิถีชีวิตประจำวัน - ใช้พื้นที่ดำเนินการให้รอบๆหมู่บ้าน, ชุมชน - ปรับปรุงข้อมูลสถานการณ์ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโรงเรียนผู้สูงอายุ - เป้าหมาย: การออกกำลังอย่างเหมาะสม - กระบวนการ 1) การออกกำลังตาราง 9 ช่อง 2) การเดินสำรวจชุมชน 3) พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม 2. เทศบาลตำบลหัวตะพาน โครงการเต้นแอโรบิด - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียนและวัยทำงาน รวม 40 คน - ระยะเวลา 6 เดือน - เป้า ลดความเสี่ยงโรค เพิ่ม PA - กระบวนการ 1) ประชาสัมพันธ์ 2) การออกแบบพื้นที่ 3) การเต้นแอโรบิก 4) การสอนการเต้นที่เหมาะสม 5) มีกิจกรรมทางกายที่ต่อเนื่อง มีการเต้นทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น 3. อบต.สร้างถ่อน้อย โครงการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ "ตาราง 9 ช่อง" - กลุ่มเป้าหมาย: ผู้สูงอายุ นักเรียน วัยทำงาน - กระบวนการ 1) ประชุมคณะผู้บริหาร พนักงาน แต่งตั้งคณะทำงาน ประชุมคณะทำงาน 2) ออกแบบกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง และส่งเสริมประชาชนในชุมชนดำเนินกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง 3) สรุปผลการจัดกิจกรรม/ประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ตาราง 9 ช่อง - ควรส่งเสริมภูมิปัญญา - เน้นความเข้าในเรื่อง PA เพียงพอ (สัญจร การทำงาน) 4. เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ โครงการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มการเคลื่อนไหวของหนูน้อยวัยใส - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียน ศพด. - กระบวนการ: จัดกิจกรรมแข่งขันรถขาไถ 1.ประชุมคณะทำงาน 2.แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงาน 3.ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยมีกิจกรรมดังนี้ 3.1 จัดกิจกรรมแข่งขันรถขาไถในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.2 มีการใช้รถขาไถในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4.ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน - เชื่อมโยงกับพ่อแม่ผู้ปกครอง - คำนึงถึงความปลอดภัย - ผลักดันเป็นหลักสูตรท้องถิ่น 5. เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ โครงการลดพุงขยับกายใส่ใจสุขภาพ - กลุ่มเป้าหมาย: พนักงานออฟฟิศ อบต. และนักกีฬา ผู้สนใจ - กระบวนการ 1) ประชุมชี้แจงโครงการ วางแผนร่วมกัน 2) ทำบันทึกข้อความประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรแต่ละกองเข้าร่วมโครงการ 3) จัดหา ทดสอบเครื่องเสียง ทำหนังสือเชิญวิทยากร 4) ดำเนินการตามโครงการโดยจัดให้มีการออกกำลังกายประกองเพลงในรูปแบบแอโรบิคเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนเสร็จสิ้นโครงการ 5) รายงานผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย เสนอคณะผู้บริหาร - จัดทำฐานข้อมูล PA พนักงาน - การขยายหน่วยงานใกล้เคียง ทั้งนี้ทางอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลหัวตะพาน และ อบต.จิกดู่ ซึ่งเทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้ น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำปิดท้ายฝากให้คณะทำงานท้องถิ่นเรื่องการจัดทำแผนและโครงการ ด้วย 4 คำถาม คือ 1. อยู่ไหน ชุมชนรู้สถานการณ์สุขภาพตนเอง 2. จะไปไหน คือ การตั้งเป้าหมายที่จัดการปัญหาสุขภาพนั่นๆ 3. ไปอย่างไร เป็นวิธีการจัดการปัญหา 4. ไปถึงแล้วหรือยัง คือ การติดตามประเมินวัดผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อไป นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขตได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนี้ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่องโดยการออกแบบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน การใช้พื้นที่สาธารณะของทุกกลุ่มวัย การเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลโครงการต่อไป การนัดหมายคงถัดไปจะเป็น วันที่ 4 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี
today 2024-06-21 10:49:47 จำนวนการดู:360
บันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ จัดทำบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรม ทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอหัวตะพาน นายประหยัด คุณมี นายอำเภอหัวตะพาน เป็นประธานกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสรมิกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย และมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อำเภอเขื่องในนำร่อง 8 แห่ง ในการจัดทำบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.), ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหัวตะพาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 8 แห่ง ของอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นองค์กรสนับสนุน ในการจัดทำข้อตกลงครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาข้องตกลงร่วมกัน ดังนี้ 1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง
today 2024-04-26 16:17:40 จำนวนการดู:370
บันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จัดทำบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน นายเกียรติศักดิ์ บารมี ปลัดอาวุโสอำเภอเขื่องใน เป็นประธานกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสรมิกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย และมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อำเภอเขื่องในนำร่อง 12 แห่ง ในการจัดทำบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) , ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 12 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นองค์กรสนับสนุน ในการจัดทำข้อตกลงครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาข้องตกลงร่วมกันดังนี้ 1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง #สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือสสส. #สถานบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #กิจกรรมทางกาย #PA: Physical Activity #หัวตะพานมีแฮงเดย์ #เขื่องในมีแฮงเดย์ #มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี
today 2024-04-26 15:43:57 จำนวนการดู:362
ตรัง//สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง การพบปะแลกเปลี่ยนกันวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาท้องถิ่นทั้ง 10 แห่ง ได้ร่วมเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน 10 ประเด็น เป็นที่เรียบร้อย ครั้งนี้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนมาร่วมวิเคราะห์จัดทำแผนและโครงการที่จะดำเนินการ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรคุณสมนึก นุ่นด้วง คุณวาลัยพร ด้วงคง และคณะพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้เรื่องการจัดทำแผนกิจกรรมทางกายและสุขภาพอื่นๆ ในท้องถิ่น 1. กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง (เดิน/ปั่นจักรยานไปที่ต่างๆ ในชุมชน ) 3) การมีกิจกรรมนันทนาการ การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย “กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย” 2. วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ร่วมกับท้องถิ่น 10 แห่งในจังหวัดตรัง 3. ท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลย่านตาขาว 2) องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ 3) ทต.นาโยงเหนือ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ 5) องค์การบริหารส่วนตำบลปากคม 6) เทศบาลตำบลโคกหล่อ 7) องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด 8 ) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ 9) องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 10) องค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ 4. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ โดยเน้นแผนงานกิจกรรมทางกายเป็นหลักในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีประเด็นอื่นๆ ร่วม 10 ประเด็น เพื่อการออกแบบโครงการสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ไปสู่การแก้ปัญหาอื่นๆ แบบบูรณาการได้ โดย 10 ประเด็นมี คือ 1) แผนงานกิจกรรมทางกาย 2) แผนงานขยะ 3) แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม 4) แผนงานยาสูบ 5) แผนงานสุรา 6) แผนงานสิ่งเสพติด 7) แผนงานอาหารและโภชนการ 8 ) แผนงานสุขภาพจิต 9) แผนงานความปลอดภัยทางถนน 10) แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ 5. หลักการทำแผน มี 4 คำ (อยู่ไหน, จะไปไหน,ไปอย่างไร, ไปถึงแล้วยัง) คือ 1) อยู่ไหน : สถานการณ์ 2) จะไปไหน : เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ 4) ไปถึงแล้วยัง : ประเมินผลลัพธ์ (คู่มือการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย: https://localfund.happynetwork.org/upload/forum/plandoc_pa.pdf) 6. กระบวนการการจัดประชุม: 1) สร้างความเข้าใจกระบวนการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน 2) ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับแผนงาน โดยใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้เว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org 3) แลกเปลี่ยนนำเสนอโครงการเพื่อสร้างการเรียนรู่ร่วมกัน 7. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ได้แผนสุขภาพตำบล 10 ประเด็น จำนวน 10 ท้องถิ่นนำร่องในจังหวัดตรัง และได้โครงการที่จะดำเนินการในพื้นที่ ในครั้งถัดไป คือ “ขั้นตอนที่ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ” เป็นการเขียนโครงการที่ดีเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเพิ่มกิจกรรมทางกายในท้องถิ่น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสร้างกลไกความร่วมมือสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในท้องถิ่นต่อไป
today 2024-03-27 08:43:21 จำนวนการดู:351
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่ายท้องถิ่นอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ รวม 20 แห่ง ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 โดยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ https://zoom.us/j/9019029104 วัตถุประสงค์การประชุมวันนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชน ผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ได้แก่ ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภ.ก.สมชาย ละอองพันธ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา (สปสช.) คุณจงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี คุณธนพนธ์ จรสุวรรณ คณะทำงานพี่เลี้ยง และคณะทำงานเก็บข้อมูลจากท้องถิ่น 20 แห่ง
today 2024-03-25 14:57:18 จำนวนการดู:324
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย สถาบันนโยบายสาธารณะ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) และเทศบาลเมืองป่าตอง เปิดพื้นที่ทดลอง CityLab Patong “แล เล่น รักษ์ เล” ณ ลานโลมา หาดป่าตอง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผ่านแนวคิด “CityLab” การทดลองปรับปรุงพื้นที่สาธารณะชั่วคราวในรูปแบบที่ทำง่าย รวดเร็ว และใช้ต้นทุนต่ำ พร้อมติดตามผลตอบรับจากผู้ใช้งาน และสรุปผลเป็นแนวทางการออกแบบพื้นที่ เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองในระยะยาว ในการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สุขภาวะใกล้บ้านที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ให้มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในชีวิตประจำวัน ผศ. ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่ แล เล่น รักษ์ เล เป็นหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างสร้างสรรค์ผ่านพื้นที่เล่น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัว โดยมีการจัดสรรพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ “แล” ในภาษาใต้ คือ การมองดู โดยในงานจะมีพื้นที่นิทรรศการจัดแสดงถ่ายทอดความรู้ด้านพื้นที่สาธารณะ กิจกรรมทางกาย และการมีส่วนร่วม พื้นที่ “เล่น” คือ การเชิญชวนให้มาร่วมกิจกรรมนันทนาการและขยับร่างกายผ่านเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเล่น รวมถึงในบริเวณพื้นที่นิทรรศการที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นสนามเด็กเล่นได้ในภายหลังจบงาน พื้นที่ “รักษ์ เล” คือ การออกแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมโดยสอดแทรกไปกับกิจกรรมทางกาย การจัดการขยะ ประกอบกับภายในงานยังมีของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้อีกด้วย ด้าน รศ. ดร. พนิต ภู่จินดา ผู้อำนวยการศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง กล่าวว่า พื้นที่แล เล่น รักษ์ เล มีแนวคิดในการออกแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยเปิดกว้างให้ทุกคนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างอิสระ ซึ่งทำให้มีโอกาสในการพบเจอผู้คนใหม่ๆ เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในเมือง ตลอดจนการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น และทำให้เมืองเกิดบรรยากาศที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการคำนึงถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมก็นับเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ผ่านการสร้างสรรค์อุปกรณ์ต่างๆ จากวัสดุเหลือใช้ การออกแบบพื้นที่ส่งเสริมการแยกขยะเพื่อรวบรวมขยะพลาสติกส่งต่อสู่กระบวนการ Upcycling เป็น Street Furniture ในพื้นที่ชายหาดป่าตองต่อไป ขณะที่ นายเฉลิมศักดิ์ มณีศรี นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายระดับท้องถิ่น ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสังคมให้กับประชาชนทุกระดับ มีโอกาสเข้าถึงการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมกับวัย สอดรับกับการพัฒนาให้ภูเก็ตเป็นเมืองสุขภาพดี เทศบาลเมืองป่าตองให้การสนับสนุนโครงการ CityLab Patong เพื่อร่วมส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สาธารณะซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายและการมีสุขภาวะที่ดีเพิ่มมากขึ้น
today 2022-12-26 17:06:31 จำนวนการดู:1602
การประชุมสรุปถอดบทเรียน โครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2563 ณ บ้านทิพย์สวนทอง (อัมพวา) อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม
today 2020-02-24 11:16:24 จำนวนการดู:2827
ทีมงานผู้ประสานงานภาค ได้จัดอบรมการรายงาน/ติดตาม โครงการ สำหรับผู้รับทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562 ณ.ห้องประชุม โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
today 2019-08-30 10:12:15 จำนวนการดู:2872
ประชุมกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ว่าด้วยเรื่อง การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖2 เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสานใจ ๒ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี วัตถุประสงค์เพื่อ แสวงหาความร่วมมือในการขับเคลื่อนมติสมัชชาฯ ของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การแลกเปลี่ยนสถานการณ์การ ดำเนินงานและระดมความคิดกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนมติฯ ร่วมกัน นำไปสู่การ นำเสนอรูปธรรมการขับเคลื่อนในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๖๒ รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ - เปิดการประชุม โดย ดร.วณี ปิ่นประทีป ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้านสังคมและสุขภาวะ - ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ - ความคืบหน้าและจังหวะก้าวการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมว่าด้วย เรื่องการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นที่ผ่านมา โดย นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ - แลกเปลี่ยนสถานการณ์ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯของหน่วยงานองค์กรและภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมถึงและวางแนวทางการขับเคลื่อนแบบมี ส่วนร่วมในระยะต่อไป โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ / อนุกรรมการขับเคลื่อนและ ติดตามการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้านสังคมและสุขภาวะ
today 2019-03-01 13:38:34 จำนวนการดู:4236